ความน่าเชื่อถือ ของข้อมูล จปฐ.


ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จ คือ “ข้อมูล”

      การพัฒนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแผนงาน/โครงการ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จ คือ “ข้อมูล”  ในงานของกรมการพัฒนาชุมชน มีภารกิจในการจัดเก็บและใช้ประโยชน์ข้อมูล คือ ข้อมูล จปฐ. หากเรามีข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริง เป็นปัจจุบัน รวมทั้งผ่านการวิเคราะห์ การยอมรับ การมีส่วนร่วม และที่สำคัญเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ดังนั้น  ในการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.(ระดับตำบล) ที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ ควรมีแนวทางดังนี้
        1. คัดเลือกอาสาสมัครในการสำรวจและจัดเก็บข้อมูล จปฐ.โดยต้องเลือกจากคนในพื้นที่ อ่านออกเขียนได้ มีจิตอาสา และสามารถเข้ากับทุกคนในพื้นที่ได้
       2. แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อระบุบุคคลที่จะทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน
       3. สร้างความเชื่อมั่น ศรัทธา ในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
       4. สร้างการมีส่วนร่วมกับคณะทำงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดเก็บข้อมูล
       5. จัดอบรม ทบทวนชี้แจงความรู้ตัวชี้วัดให้กับคณะทำงาน และอาสาสมัคร
       6. คณะทำงานระดับตำบล ควรประชุมวางแผนการจัดเก็บร่วมกัน เพื่อแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ กำหนดวันเริ่ม/เสร็จ/ส่ง การบันทึก/การตรวจสอบ/การรับรองข้อมูล
       7. ประชาสัมพันธ์การจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้ทราบถึงความสำคัญ เช่น หอกระจายข่าว ประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน/ประชุมหมู่บ้านประจำเดือน ป้ายประกาศในหมู่บ้าน/ตำบล
       8. จัดทำบัตรประจำตัวอาสาสมัคร เพื่อแสดงตัวขณะออกสำรวจ/จัดเก็บข้อมูล
       9. ให้อาสาสมัครแบ่งครัวเรือนที่รับผิดชอบในหมู่บ้าน(เฉลี่ย 1 คน/ 20 ครัวเรือน) เพื่อให้ครอบคลุมไม่ตกหล่น/ซ้ำซ้อน
       10. พัฒนากรควรประสานงาน ติดตามผลการดำเนินงานของอาสาสมัครอย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอ
       11.  หลังจากเก็บข้อมูลเสร็จแล้ว ควรตรวจทานความถูกต้อง ครบถ้วน ก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
     12.  การบันทึกข้อมูลควรให้ผู้ที่มีเวลาว่างและมีความเข้าใจในแบบจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมบันทึกข้อมูลพอสมควร ซึ่งอาจไม่ใช่เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้
     13.  เมื่อบันทึกข้อมูลเสร็จ ควรประมวลผลเบื้องต้น นำเข้าเวทีประชาคมหมู่บ้าน เพื่อรับรองข้อมูล หากมีข้อผิดพลาดก็แก้ไขเพิ่มเติม พร้อมบันทึกการประชุมไว้ที่หมู่บ้าน นำเข้าที่ประชุมสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับรองข้อมูล
     14.  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งข้อมูลให้อำเภอ เพื่อให้คณะทำงานระดับอำเภอรับรองข้อมูล
     15.  จัดทำสรุปประมวลผลเป็นรูปเล่มโดยเก็บไว้ที่หมู่บ้าน 1 เล่ม และให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
     16.  ประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูล จปฐ.ในโอกาสต่างๆ เช่น การประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ การประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
     เมื่อมีการนำข้อมูล จปฐ.ไปใช้และเกิดประโยชน์เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนแล้ว
จะนำไปสู่การเห็นความสำคัญ และความน่าเชื่อถือของข้อมูล สุดท้าย หน่วยงานต่างๆ    จะลงมาส่งเสริมให้มีการจัดเก็บข้อมูลในระดับตำบลได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ข้อแนะนำ/ข้อพึงระวัง
      1. บางพื้นที่ช่วงระยะ เวลาจัดเก็บข้อมูล เป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้าน/ผู้นำ/อาสาสมัคร ต้องทำไร่ ทำนา ทำให้ยากต่อการจัดเก็บข้อมูล
     2. บางพื้นที่ช่วงระยะ เวลาจัดเก็บข้อมูล เป็นช่วงเวลาการเลือกตั้งในพื้นที่  เกิดการแบ่งข้าง แบ่งฝ่าย ทำให้ยากต่อการจัดเก็บข้อมูล

ขัอเขียนโดยคุณกำพล  เชื้อแพ่ง  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี

หมายเลขบันทึก: 391401เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2010 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท