เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายข้าวกำจัดอย่างถูกวิธีก่อนที่จะสายเกินแก้


         

         จากการติดตามการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูข้าวของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรได้ใช้สารเคมีหลายชนิดผสมกัน เพื่อประหยัดค่าแรงงานในการฉีดพ้น ตามระยะการเจริญเติบโตของข้าวที่ได้วางแผนไว้  ซึ่งบางครั้งมิได้คำนึงถึงว้าจะมีแมลงศัตรูข้าวหรือไม่ ด้วยความกลัวจึง “ป้องกันไว้ก่อน”  ลักษณะการฉีดบนใบข้าว กอปรกับเกษตรกรปลูกข้าวหนาแน่นเกินไปและใส่ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณมากเกินไป ใบข้าวจะมากและโค้งงอ ละอองของสารเคมีไม่ถูกตัวของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหรือถูกในปริมาณที่น้อยไม่ทำให้ตายได้แต่ทำให้เกิดภูมิต้านทาน จากการปฏิบัติดังกล่าว สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้  การผสมสารเคมีหลายชนิดเข้าด้วยกันเช่น สารเคมีกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ฆ่าหนอน ป้องกันเชื้อรา กำจัดวัชพืช และฮอร์โมน ส่งผลให้สารเคมีบางชนิดด้อยคุณภาพ หรืออาจเป็นพิษต่อผู้ฉีดพ่นสารเคมี “สารเคมีไม่ใช่วัคซีน”  เมื่อใช้พร่ำเพรื่อเป็นอันตรายต่อแมลงศัตรูธรรมชาติ  รวมทั้งการใช้ฮอร์โมนทุกครั้งที่ฉีดพ่นด้วยเหตุผลที่ว่า “ให้เมล็ดข้าวเต่งผลผลิตดี”  อาจไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของแมลงศัตรูพืชให้มีการ เจริญเติบดีได้ดี  พี่นริศรา จำรูญวงศ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท กล่าวกับผู้เขียนว่า  “เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลคงจะงงนะที่เกษตรกรผสมฮอร์โมนในสารเคมีที่จะไปทำลาย เพราะจะฆ่า หรือจะไปกระตุ้นให้โตกันแน่ ตัวที่รอดมาได้เลยโตวันโตคืนลูกหลานเลยเก่งตามไปด้วย”  

     ดังนั้น ขอให้เฝ้าระวังตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาจจะอพยพมาตามลมมรสุม หมั่นสำรวจแปลงนาอย่างต่อเนื่องโดยให้สังเกตตัวอ่อนและ ตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ต้นข้าวบริเวณกาบใบเหนือระดับน้ำ ถ้ามีจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากข้าวจะแห้งตายเป็นหย่อม ๆ ควรป้องกันกำจัดดังนี้ 

  1. ถ้าควบคุมระดับน้ำในแปลงนาได้ให้ระบายน้ำออกให้แห้งประมาณ 7 - 10 วัน เพื่อปรับสภาพ ไม่ให้เหมาะสมกับตัวอ่อน
  2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตัวห้ำ:มวนดูดไข่ , มวนจิงโจ้น้ำ , ด้วงเต่า ,   ด้วงดิน, จิ้งหรีดหนวดยาว,ตั๊กแตนหนวดยาว , แมลงปอเข็ม,แมลงวันตาโต., (เป็นตัวห้ำและตัวเบียน), แมงมุมหมาป่า  , แมงมุมนักล่า,แมงมุมกระโดด, แมงมุมแคระ , แมงมุมใยกลม ,แมงมุมเขี้ยวใหญ่.,แมงมุมขายาว, แมงมุมสวน, ตัวเบียน : แตนเบียน

 

    4. พบการเข้าทำลายให้ใช้เชื้อราขาวบิวเวอเรีย อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตรต่อไร่ ผสมสารจับใบฉีดเวลาตอนเช้าหรือตอนเย็น และควรพ่นให้เชื้อราสัมผัสกับเพลี้ยกระโดดโดยตรง สามารถควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ประมาณ 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ หรือใช้เชื้อราเขียวเมตตาไรเซียม อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตรผสมกับสารจับใบ ฉีดพ่นในตอนเย็น (ถ้าภาชนะ อุปกรณ์ใช้ในการฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อราต้องล้างให้สะอาดมากที่สุด) ซึ่งถ้าเกษตรกรใช้อย่างถูกวิธีมีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากผู้เขียนได้ไปส่งเสริมให้เกษตรกรที่พบปัญหาจนอยากจะทิ้งข้าวให้เพลี้ยกระโดดกินแล้วไถกลบ ใช้เชื้อราบิวเวอเรียแล้วประสบผลสำเร็จ แต่มีข้อจำกัดว่าต้องไม่ใช่แปลงข้าวที่เพลี้ยกระโดดดูดกินน้ำเลี้ยงจนเสียหายมากแล้ว

การใช้สมุไพร

           4.1 บรเพ็ด นางสุพิทย์  ศรีทอง เกษตรกรผู้ทำนา ซึ่งเป็นประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสระไม้แดง วัย 53 ปี นำผงบอระเพ็ดแช่น้ำอัตราส่วน 1 ต่อ 4 คือผงบอระเพ็ด 1 กก. แช่น้ำสะอาด 4 ลิตร (ใช้ได้ในพื้นที่นา 20 ไร่)  ดังนั้นถ้าจะนำไปใช้ในพื้นที่นา 10 ไร่ จะใช้ผงบอระเพ็ดจำนวน ครึ่งกิโลกรัมแช่ในน้ำสะอาด 2 ลิตร แช่นาน 1 คืน เมื่อจะใช้ให้กรองด้วยผ้าขาวบางป้องกันเศษผงอุดตันหัวฉีด(กากนำไปหว่านในนา)  อัตราส่วนที่ใช้คือน้ำหมักบอระเพ็ด 200 ซีซี ต่อน้ำสะอาด 20  ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว โดยไม่ต้องควบคุมระดับน้ำ ผลการใช้  ที่ผ่านมาพบว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะไม่ตายให้เห็น แต่ไม่พบทำลายต้นข้าว

              4.2 พริกแกงเผ็ด นายบุญฤทธิ์  หอมจันทร์ ครูติดแผ่นดินข้าววัย 37 ปี บ้านเลขที่ 16 หมู่ 10 ต,แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท  วัสดุที่ใช้ พริกแกงเผ็ด  1 กก.(เผ็ดมากๆ) น้ำส้มควันไม้ 3 ลิตร(หรือน้ำส้มสายชู หรือน้ำมะกรูด) แอลกอฮอร์ 900 ซีซี(ขวดละ 450 ซีซี 2 ขวด) หมักรวมกัน 24 ชั่วโมง( 7 วันยิ่งดั) กรองให้สะอาด อัตราการใช้ 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร การใช้สมุนไพร แมลงจะปรับตัวเองได้ไวมากจึงขอให้หมุนเวียนสับเปลี่ยนในแต่ละครั้ง

                    ในการทำนาครั้งต่อไป ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น กข 9 กข 23  กข31 สุพรรณบุรี 1 พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 90

      5. อย่าปลูกข้าวหนาแน่นเกินไปโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ที่พอเหมาะ ประมาณ 15  กก./ไร่  การใช้ปุ๋ยเคมีถูกเวลา  ถูกอัตรา และถูกสูตร  ควบคู่กับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับปุ๋ยเคมี และการใช้สารสกัดสมุนไพรในการป้องกันกำจัด

       นายโสภณ  ทองโพธิ์งาม หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท   กล่าวเสริมว่า ในปัจจุบัน สารเคมีป้องกันกำจัดโรค-แมลงศัตรูพืช  ปุ๋ยเคมี  และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ มีราคาแพง จึงขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน  โดยมีหลักการสำคัญ  คือ การปลูกพืชให้แข็งแรง  มีการจัดการอย่างเหมาะสมในการเลือกใช้พันธุ์  การใช้ปุ๋ย  ใช้น้ำ  และ การจัดการดินที่เหมาะสม  การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ   เพื่อการใช้ศัตรูธรรมชาติได้แก่ตัวห้ำ   ตัวเบียน และสารชีวภัณฑ์ ควบคุมแมลงศัตรูพืช  และการลงแปลงสม่ำเสมอ เพื่อการติดตาม/ประเมินพัฒนาการในระบบนิเวศ  เพื่อการจัดการแปลงที่ถูกต้องสามารถจัดการสิ่งต่างๆ  อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะการดำเนินการตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ  ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาทและสำนักงานเกษตรอำเภอ  ได้ถ่ายทอดความรู้ ในทุกตำบล ขอให้เกษตรกรได้นำวิธีการใช้อย่างสม่ำเสมอ จะพบความสำเร็จในการทำนา ทำการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไป  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล   สำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัด  ใกล้บ้านท่าน

 

หมายเลขบันทึก: 391323เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2010 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับเพลี้ย มีวิธีการฆ่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างไรบ้าง(ไม่ใช้สารเคมี)

แล้วใช้น้ำบอระเพ็ด เพลี้ยมันตายเลยไหม อยากได้ข้อมูลมาก ขอบคุณครับ (จะรอคำตอบ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท