สิทธิของผู้ต้องหาที่สื่อมวลชนพึงเคารพ


สิทธิของผู้ต้องหาที่สื่อมวลชนพึงเคารพ

ลองอ่านกันดูนะครับ เป็นรางานที่เคยทำตอนเรียนสิทธิมนุษยชนครับ

หมายเลขบันทึก: 39042เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2006 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

          นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540มีผลใช้บังคับ  ปวงชนชาวไทยก็ได้รู้จักกับคำว่า สิทธิ ทั้งในด้านความหมายและขอบเขตการในไปใช้มากขึ้น  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้มีการระบุคุ้มครองสิทธิในด้านต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก  ถึงกับสามารถกล่าวได้ว่านับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมา  ยังไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดจะสามารถบัญญัติรับรองหลักการพื้นฐานของการคุ้มครองสิทธิได้ครอบคลุมและมากเท่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

          สิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ต่างถูกปัจเจกชนหยิบยกมาใช้คุ้มครองสิทธิของตนแตกต่างกันไปในหลายลักษณะตามความต้องการของแต่ละบุคคล  ซึ่งก็ปรากฏว่ามีหลายครั้งที่การอ้างสิทธิของปัจเจกชนคนหนึ่งจะมีผลกระทบไปถึงปัจเจกชนอีกคนหนึ่ง  ซึ่งประเด็นที่จะนำมาศึกษากันในครั้งนี้จะมุ่งไปที่ผลกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาอันเกิดจากการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์  เนื่องจากในปัจจุบันการนำเสนอข่าวอาชญากรรมของหนังสือพิมพ์หลายฉบับมักจะลงรูปและเนื้อหาที่เป็นการระบุตัวบุคคลอย่างชัดแจ้งไว้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอข่าวด้วย  โดยที่คนในสังคมเองก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป  ประเด็นนี้สร้างความสงสัยว่าการนำเสนอข่าวในลักษณะดังกล่าวจะถือเป็นการละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้ต้องหาหรือไม่  ประการใด  เพราะในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540  ได้บัญญัติหลักพื้นฐานในการประกันสิทธิของผู้ต้องหาไว้ว่า ในคดีอาญา  ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด  ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด  จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้  แต่ในทางปฏิบัติแล้วผู้ต้องหาในคดีอาญากลับถูกล่วงละเมิดสิทธิดังกล่าวโดยหนังสือพิมพ์  หลักการในรัฐธรรมนูญถูกละเลยคล้ายกับว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้ถูกทำลายลงเพียงเพราะบุคคลตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา

          ท้ายที่สุด  ผู้ทำการศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลจากการศึกษาครั้งนี้จะขยายผลไปถึงการใช้สิทธิประเภทอื่นๆ  ที่ผู้ใช้สิทธิพึงใช้ด้วยความระมัดระวัง  ไม่ใช้สิทธิของตนเกินเลยไปกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่น  เพื่อที่คนในสังคมจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีสุขภายใต้สังคมที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน

เด๋วมาต่อครับ

มี 4 บทอ่ะครับ

นอต

ก็เกิดข้อสงสัยเหมือนกันว่าสื่อมวลชนมีขอบเขตในการทำข่าวแค่ไหน...นอกจากเรื่องสิทธิผู้ต้องหาที่พี่นอตเขียนแล้ว เรื่องของผู้เสียหายเหมือนกัน ถ่ายภาพจนรู้ว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใครหมดละ เขาใช้แค่แถบดำๆเล็กมาคาดที่ตาเท่านั้นเองอ่ะ..แบบนี้เขาเรียกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแล้วหรือ จริงๆแล้วสื่อควรจะเป็นตัวกลางในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนได้ดีที่สุด แต่สื่อในบางครั้งกลับเป็นตัวทำลายสิทธิความเป็นมนุษย์ของคนเร็วและร้ายกาจที่สุดเชียว...น่าคิด

        ใช่แล้ว เนื่องจากปัจจุบัน ในการทำข่าวนักนักข่าวเอง มักจะถ่ายภาพทำให้เห็นรูปร่างน่าตาของผู้กระทำผิด  ซึ่งตามกฎหมายแล้วรัฐธรรมนูญ บุคคลไม่มีความผิดเว้นแต่จะได้รับโทษจนถึงที่สุด    

             การที่นักข่าวทำข่าวโดยการให้เห็นน่าตา รูปร่าง ทางสื่อนั้น   เป็นการทำให้ผู้ต้องหา  ถูกลงโทษทางสังคมมากกว่าจะรอการพิสูจน์ความจริงในชั้นศาล

นอตอยาก up load file เอกสารนอตลงที่ Gotoknow อ่ะครับ  แต่ยังหาที่แปลง file จาก doc. เป็น pdf. ไม่ได้เลยคับ

อ้อ . . . รายงานนี้ทำตอนที่เรียนกฎหมายสิทธิมนุษยชนกับอาจารย์นพนิธิ สุริยะ นะครับ

นอต

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าใจมาก

หง่ะ  ลืมไปแล้วด้วยว่าติดค้างบทความนี้อยู่

เด๋วจะรีบเอามาลงครับ

นอต

การที่บุคคลใดก็ตามตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาก็มักจะมีการเสนอข่าวจากสื่อมวลชนจากแง่มุมของตำรวจที่ทำคดีให้สำภาษณ์

ซึ่งในบางคดีเมื่อผ่านกระบวนพิจารณาในชั้นศาลแล้วปรากฎว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด ก็มักจะเห็นได้ว่าไม่ค่อยมีการนำเสนอข่าวถึงความบริสุทธิ์ของผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหา ซึ่งเป็นการแตกต่างกับกระบวนการในชั้นสอบสวนหรือช่วงที่เริ่มเป็นคดีที่สื่อมวลชนมักจะเสนอข่าวในตอนนั้นเป็นหลัก

ดังนั้นจำเลยที่กลายเป็นผู้บริสุทธิ์ตามคำพิพากษาของศาลจึงได้รับความเสียหายจากการนำเสนอของสื่อไปแล้วตั้งแต่ต้น ซึ่งมักจะไม่ได้รับการเยียวยาแก้ใขจากสื่อที่นำเสนอหากปรากฎว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์จากคำพิพากษาของศาล

  • ในเรื่องนี้เห็นว่า ผู้ต้องหา จะต้องกลายเป็นจำเลยเมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอยู่แล้ว
  • จึงไม่ควรซ้ำเติม...โดยการนำเสนอข่าวที่กระทบถึงสิทธิส่วนบุคคลจนมากเกินไป อันทำให้พวกเขาต้องกลายเป็นจำเลยของสังคมด้วยอีกฐานหนึ่ง
  • เคารพซึ่งกันและกัน และเอาใจเขามาใส่ใจเราดีกว่านะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท