การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการวิจัยและพัฒนา (ดร.นันทวัฒน์ เกิดชื่น)


     การจะทำวิจัยและพัฒนาสักหนึ่งเรื่อง ควรต้องตอบคำถามอย่างน้อย 3 ข้อให้ได้ คือ

  1. What is research and development?
  2. Why research and development?
  3. What customer wants?

     ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 25 สิงหาคม 2553) กล่าวถึงการสร้างสรรค์งานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา ว่า การสร้างมิติใหม่ที่ทำให้การวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตัวนักศึกษา อาจารย์ สถาบันการศึกษาและท้องถิ่น ต้องอาศัยบัญญัติ 10 ประการ ได้แก่

  1. การวิจัยต้องมุ่งตอบโจทย์ไม่ใช่มุ่งโชว์วิธีวิทยา
  2. การวิจัยเชิงบูรณาการที่ยอมรับความแทรกซ้อนของตัวแปร มีความหมายมากกว่าการวิจัยเชิงทดลองที่ตัดตัวแปรทิ้งจนขัดธรรมชาติ
  3. ไม่เน้นอาจารย์ที่ปรึกษาหรือบัณฑิต แต่เน้นนักวิจัยร่วม
  4. ไม่มีปรากฏการณ์ใดในโลกที่อธิบายได้ด้วยการวิจัยหนึ่งเดียว นักวิจัยต้องไม่ยึดติดว่าการค้นพบจากงานวิจัยของตนนั้นถูกต้องที่สุดหรือสมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว
  5. เน้นสร้างจิตวิญญาณการวิจัยมากกว่าผลิตผลงานวิจัยเฉพาะกิจ
  6. สร้างงานวิจัยที่ตามความต้องการที่มีอยู่จริง
  7. สร้างปรากฏการณ์ กาสีขาว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการค้นพบความรู้ใหม่เพียงครั้งเดียวที่สามารถหักล้างข้อเท็จจริงเดิมที่มีอยู่เป็นร้อยเป็นพันได้
  8. การวิจัยที่วิ่งหนีความผิดพลาดกับการวิจัยที่ยอมรับความผิดพลาด
  9. การวิจัยมุ่งเข้าสู่เป้าหมาย มิใช่การวิจัยเพื่อการวิจัย
  10. การวิจัยต้องเป็นอนัตตา

ดังนั้น สิ่งที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้ประโยชน์จากการวิจัยต้องการ คือ

  1. คุณภาพของสินค้า และ/หรือบริการที่ดี
  2. กำไรเพิ่มขึ้นหรือต้นทุนลดลง

การสร้างมูลค่าเพิ่ม (value creation) จึงมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นการทำกิจกรรมใดก็ตามที่เพิ่มมูลค่าของสินค้าและคุณค่าของบริการสำหรับลูกค้า

     โดยสมการของมูลค่า (the value equation) มีดังนี้

RV = UV x CrV x ComV

เมื่อ     RV      =    Recognized value

UV      =    Understood Value

CrV     =    Created Value

ComV  =    Communicated value

     ซึ่งทั้ง UV, CrV และ ComV ต้องทำพร้อมกันเพื่อไม่ให้ RV มีค่าเท่ากับศูนย์ คือ ต้องมองลูกค้าเป็นหลัก สร้างคำตอบ และสร้างคุณค่าให้คนอื่นรับทราบ

      ดังนั้นจากการรับฟังการบรรยายจาก ดร.นันทวัฒน์แล้ว ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่าการทำวิจัยและพัฒนานั้น มีความหมายว่าเป็นการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์หรือปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น และเมื่อได้คำตอบแล้ว ต้องนำไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดการพัฒนา ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับใครก็ได้ แต่ควรเป็นไปในลักษณะที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน ที่เรียกว่า win-win ไม่ใช่ทำเพื่อเก็บไว้ขึ้นหิ้ง หรือทำแล้วเกิดประโยชน์กับคนกลุ่มหนึ่ง แต่ทำให้คนอีกกลุ่มหนึ่งเสียประโยชน์ โดยเฉพาะเกษตรกร ซึ่งเป็นบุคคลกลุ่มที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติแต่มักถูกมองข้าม และถูกฉกฉวยผลประโยชน์อยู่เสมอ

ข้อมูลจากการบรรยายของ ดร.นันทวัฒน์  เกิดชื่น วันที่ 2 กันยายน 2553

หมายเลขบันทึก: 390396เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2010 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ชิตสุภางค์ ทิพย์เที่ยงแท้

เห็นด้วยกับความคิดของอาจารย์ ตอนนี้ก็กำลังทำ KM เรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มของงานวิจัยอยู่เช่นกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท