ปี๊บดักยุง


กำจัดยุงลาย/แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

นวัตกรรม"ปี๊บดักยุง"

ผู้ทำผลงาน  นายอานนท์  ภาคมาลี ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

สถานีอนามัยหินซ้อน ตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โทร.036-722313

ปัญหา/สาเหตุ

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ปี 2551 มีอัตราป่วย 71.31 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวนผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปีและสูงกว่าปี 2550 ในส่วนของพื้นที่ตำบลหินซ้อน มีผู้ป่วยไข้เลือดออกต่อเนื่องทุกปีและสถานการณ์ของโรค ปี 2551 มีผู้ป่วยจำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 91.15 ต่อแสนประชากรไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของการเป้นโรคประจำถิ่นพื้นที่ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แบะต้องมีกลวิธีเพิ่มเติม จากระบบการควบคุมและเฝ้าระวังป้องกันโรคที่มีอยู่เดิม สถานีอนามัยหินซ้อน ตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี จึงร่วมคิดนวัตกรรม"ปี๊บดักยุง" เพื่อจะช่วยกำจัดยุงลาย/แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้กับประชาชน และที่สำคัญยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสารเคมี/อุปกรณ์ต่างๆ ในการกำจัดยุงลาย

กิจกรรมดำเนินงาน

1.ประชุมชี้แจง อาสาสมัครสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลหินซ้อน ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้อำนวยการโรงเรียน เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ หัวหน้าสถานีตำรวจหินซ้อน หัวหน้าสถานีรถไฟ ผู้จัดการสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม ผู้จัดการบริษัท ภูมิใจไทยซีเมนต์ จำกัด เพื่อชี้แจงปัญหาโรคไข้เลือดออก และวางแผนร่วมกัน

2.จัดหาปี๊บใส่ขนมที่มีฝาปิด และอุปกรณ์ผ้าสีดำ(ยุงชอบเกาะผ้าสีดำมากๆ) เพื่อแจกจ่ายกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำการทดลอง นำไปวางไว้ในบ้าน อาคารโรงเรียน หรือชุมชน ที่เป็นมุมมืดๆ ตอนเย็นใกล้ค่ำ เปิดฝาปี๊บทิ้งไว้ เอาผ้าดำ/ถุงเท้าดำที่มีกลิ่นเหม็นๆใส่ลงไป พอตอนเช้าก็ทำการปิดฝาปี๊บ นำเอาปี๊บที่มียุงไปตากแดดจนตาย แล้วนำปี๊บที่มียุงเทนับจำนวนยุง โดยแยกยุงรำคาญ ยุงลาย และจดบันทึกจำนวนยุงในแต่ละวัน ประมาณ 5-7 วัน ตามวงจรชีวิตของยุง หากมียุงเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวันแสดงว่าบริเวณนั้นมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงรำคาญและยุงลายอยู่ หากจำนวนยุงลดลงแสดงว่าแหล่งเพาะพันธุ์ถูกทำลาย

3.ติดตามและประเมินผลการใช้ปี๊บดักยุงอย่างต่อเนื่องประมาณ 5-7 วัน

"ประชาสัมพันธ์การใช้ปี๊บดักยุงให้กับประชาชนและผู้ที่สนใจ หาซื้อง่ายราคาถูก มีขายตามท้องตลาดทั่วไป เด็กๆ ก็สามารถดำเนินการช่วยดูแลได้ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกร่วมกันรับผิดชอบ"

ผลลัพธ์/การเปลี่ยนแปลง

1.การจัดบ้านเรือน/สิ่งแวดล้อมให้สะอาดลดการใช้สารเคมีกำจัดยุงลาย ร้อยละ 60 ของภาชนะที่ไม่มีฝาปิด

2.ลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก ในตำบลหินซ้อน ค่า BI น้อยกว่า 10 และค่า CI เท่ากับ 0

3.สอดคล้องกับโครงการศูนย์แจกจ่ายปลากินลูกน้ำยุงลายพิชิตโรคไข้เลือดออก

4.จากการสุ่มสำรวจความพึงพอใจ ร้อยละ 86.67 มีความพึงพอใจ สะดวกในการจัดหา น่าสนใจ ใช้งานง่าย มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน

สามารถ download เอกสารเพิ่มเติมได้ที่ https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=sites&srcid=ZGVmYXVsdGRvbWFpbnxuYXdhdHRha3VtfGd4OjQ0OGE4YzU0NGU0NmY4OWE

หมายเลขบันทึก: 389376เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2012 08:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจดีครับ จะลองไปทำบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท