สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (ตอนที่ ๕)


สื่อการสอนบางอย่างจัดทำขึ้นเพื่อใช้เฉพาะตามความต้องการของผู้สอนในท้องถิ่น หรือมีสื่อการเรียนการสอนสำเร็จรูปที่ผลิตจำหน่าย ผู้สอนจึงควรรู้จักเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด

การสร้างและพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ 

                สื่อการเรียนการสอนแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป  สื่อการเรียนการสอนประเภทหนึ่งๆ อาจเหมาะสมกับจุดประสงค์และเนื้อหาสาระเฉพาะเรื่อง หรืออาจนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั่วไป นอกจากนี้สื่อการสอนบางอย่างจัดทำขึ้นเพื่อใช้เฉพาะตามความต้องการของผู้สอนในท้องถิ่น  หรือมีสื่อการเรียนการสอนสำเร็จรูปที่ผลิตจำหน่าย  ผู้สอนจึงควรรู้จักเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด

                การใช้สื่อการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งผู้สอนอาจใช้เวลาพอสมควรในการเตรียมหรือสร้างสื่อ  แต่การใช้เวลาดังกล่าวนั้นเป็นการให้ประโยชน์ที่คุ้มค่า  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในสาระการเรียนรู้ภาษาไทยต้องการให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทุกด้าน  ทั้งความรู้  ทักษะ /กระบวนการ  คุณธรรม จริยธรรม  และค่านิยม  ดังนั้นการใช้สื่อจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์  สื่อต้องมีความเที่ยงตรงของเนื้อหา  ช่วยเพิ่มประสบการณ์ให้ผู้เรียนสร้างง่าย ประหยัดเวลา  และราคาไม่แพง

แนวทางในการสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน  สามารถดำเนินการดังนี้

๑.      กำหนดจุดประสงค์จากผลการเรียนที่คาดหวัง  ให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และได้ประสบการณ์ด้านใดบ้างจากบทเรียนนั้น  เพื่อจะได้สร้างสื่อหรือเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กับจุดประสงค์และกิจกรรมการเรียนการสอน  เพื่อให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

๒.    ศึกษาผู้เรียน  โดยพิจารณาถึงวัย  ระดับชั้น  ความรู้  ประสบการณ์  และความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อใช้เป็นข้อมูลเป็นข้อมูลในการเลือกสื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน

๓.     ศึกษาธรรมชาติของเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  แต่ละเรื่องอาจมีลักษณะเฉพาะ บางเรื่องต้องเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงหรือเรียนรู้จากสภาพจริง  ดูการสาธิต และบางเรื่องต้องอาศัยการสืบค้นข้อมูลจากการฟัง  การดู  และการอ่าน

๔.     พิจารณาประโยชน์และความคุ้มค่าของสื่อการเรียนการสอน  สื่อแต่ละชนิดสามารถเร้าความสนใจ  สื่อความหมาย  และประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนอย่างไรบ้าง  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในสถานการณ์  ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงควรคำนึงถึงข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่าย  และความสะดวกในการใช้  ก็อาจเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ประเภทอื่นแทน  เช่น  ภาพ  สไลด์หรือวีดิทัศน์แทน เป็นต้น

๕.     หาประสิทธิภาพของสื่อโดยปรับปรุงและพัฒนาสื่อที่จัดทำไว้  เพื่อเป็นการประกันคุณภาพของสื่อว่ามีเหมาะสมในการนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง

 

อ้างอิง

นิพนธ์ ศุขปรีดี. (๒๕๔๕). นวัตกรรมเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา. มปท.

หมายเลขบันทึก: 389255เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2010 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท