บทบาทของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ASIAN DEVELOPMENT BANK : ADB) กับประเทศไทย


มุ่งให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก

 ธนาคารพัฒนาเอเชียเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาระดับพหุภาคีเช่นเดียวกับธนาคารโลก โดยก่อตั้งขึ้นภายใต้การดำเนินการของกลุ่มประเทศสมาชิก ECONOMIC AND SOCIAL COMMISSION FOR ASIA AND PACIFIC (ESCAP) 31 ประเทศ เมื่อปี 2509 และเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2509 โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 31 ประเทศ ผู้ร่วมก่อตั้ง ปัจจุบัน มีประเทศสมาชิก 65 ประเทศ (จากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และ นอกภูมิภาค) ซึ่งประเทศสมาชิกดังกล่าว ต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติหรือทบวงการชำนัญพิเศษในกรอบสหประชาชาติ ธนาคารพัฒนาเอเชียมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

วัตถุประสงค์หลักของธนาคารพัฒนาเอเชีย               

คือมุ่งให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก บรรเทาปัญหาความยากจน พัฒนาภาคสังคมและส่งเสริมธรรมาภิบาล สำหรับกรอบการดำเนินการในระยะยาว(ปี 2544-2559) ธนาคารพัฒนาเอเชียได้วางนโยบายหลักเกี่ยวกับการพัฒนาภาคเอกชน ความร่วมมือในระดับภูมิภาค และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดยธนาคารพัฒนาเอเชียจะให้ความช่วยเหลือในรูปแบบเงินกู้ ค้ำประกันเงินกู้ และความช่วยเหลือวิชาการ

เงินทุนของธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้มาจาก

(1)     เงินทุนสามัญ ประกอบด้วย

- เงินค่าหุ้นจากประเทศสมาชิก                   

- เงินที่ธนาคารพัฒนาเอเชียกู้ยืมหรือระดมทุนจากตลาดเงินทุนระหว่างประเทศ                   

- เงินรายได้สุทธิจากการดำเนินงานของธนาคาร  

(2)  เงินกองทุนพิเศษประกอบด้วยเงินจาก                    

- กองทุนพัฒนาเอเชียซึ่งให้เงินกู้ลักษณะผ่อนปรนสูงแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจน                   

- กองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือด้านวิชาการและกองทุนพิเศษของประเทศญี่ปุ่น เพื่อสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่า

เงินทุนของธนาคารพัฒนาเอเชีย 

ปี 2545 ธนาคารพัฒนาเอเชียมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 3,465,669 หุ้น เป็นเงิน 47,596.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นทุนที่ชำระแล้วจำนวน 3,347.66 ล้านเหรียญสหรัฐ  โดยประเทศไทยถือหุ้นในธนาคารพัฒนาเอเชียถือหุ้นในธนาคารจำนวน 48174 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 1.382 % ของจำนวนหุ้นทั้งหมดและประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นสูงเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศสมาชิกทั้งหมด หรืออันดับที่ 11 ของประเทศผู้ถือหุ้นในภูมิภาค มีมูลค่าทุนทั้งหมด 652.56 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว 45.70 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เป็นผู้ถือหุ้นสูงสุดในสัดส่วนเท่ากันคือร้อยละ 13.092 ของหุ้นทั้งหมด

สำนักงานผู้แทนของธนาคารพัฒนาเอเชีย  

ปัจจุบันธนาคารพัฒนาเอเชียได้จัดตั้งสำนักงานผู้แทนกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก จำนวน 16 แห่ง ได้แก่ อัฟกานิสถาน  บังคลาเทศ  กัมพูชา  จีน  อินเดีย  อินโดนีเซีย  คาซัคสถาน  คีร์กิช  ลาว  มองโกเลีย  เนปาล  ปากีสถาน  ศรีลังกา  ทากิชสถาน  และเวียดนาม

และเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2543 คณะกรรมการบริหารธนาคารพัฒนาเอเชียได้อนุมัติในหลักการให้จัดตั้งสำนักงานผู้แทนของธนาคารพัฒนาเอเชียในประเทศไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารพัฒนาเอเชียกับประเทศไทย               

1. ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกในความตกลงว่าด้วยการสถาปนาธนาคารพัฒนาเอเชีย เมื่อปี 2509 และมีการออกพระราชบัญญัติให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชีย พ.ศ.2509 เพื่อให้อำนาจรัฐบาลปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชียตามข้อผูกผัน ซึ่งประเทศภาคีสมาชิกจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว เพื่อให้รัฐบาลมีอำนาจถือประโยชน์จากการเป็นภาคีสมาชิกด้วย                2. ธนาคารพัฒนาเอเชียได้เริ่มให้ความช่วยเหลือกับประเทศไทยตั้งแต่ปี 2511 ในรูปต่างๆ ได้แก่ เงินกู้สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ด้านสาธารณูปโภค พลังงาน คมนาคม การเกษตร เป็นต้น ความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่า และเงินกู้ที่ให้กับภาคเอกชน               

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548  ธนาคารพัฒนาเอเชียได้ให้เงินกู้และความช่วยเหลือกับประเทศไทยเป็นเงิน 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีโครงการเงินกู้จาก ADB ประมาณ 80 โครงการ

ความช่วยเหลืออื่นๆ ที่ธนาคารพัฒนาเอเชียให้แก่ประเทศไทย มีดังนี้               

1. ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2542 ประเทศไทยไม่ได้กู้ยืมเงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย อย่างไรก็ตาม ธนาคารพัฒนาเอเชียได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยและความร่วมมือในระดับภูมิภาค(ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2546) ธนาคารพัฒนาเอเชียให้ความช่วยเหลือทางวิชาการกับประเทศไทยทั้งสิ้น 16 โครงการ รวมเงินทั้งสิ้น 6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ               

2. การสนับสนุนโครงการความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยรัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจาก ADB ในการทำการศึกษาความเป็นไปได้ในระยะเริ่มต้น และการดำเนินการส่วนใหญ่ตามโครงการดังกล่าวจะเป็นความร่วมมือของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในการสร้างระบบคมนาคมเชื่อมโยงประเทศในอนุภูมิภาค มีโครงการที่ดำเนินการแล้วทั้งสิ้น 78 โครงการวงเงิน 887 ล้านเหรียญสหรัฐ และเงินช่วยเหลือทางวิชาการ 63 โครงการ วงเงิน 42.4 ล้านเหรียญสหรัฐ               

3. การให้ความช่วยเหลือผ่านกรมวิเทศสหการ เพื่อเสริมสมรรถนะของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สถาบันนานาชาติเพื่อการค้าและการพัฒนาสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและสถาบันลุ่มแม่น้ำโขงที่จังหวัดขอนแก่น     

บทบาทของกระทรวงการคลัง

ในส่วนของกระทรวงการคลังหน่วยงานหลักที่ต้องรับผิดชอบและประสานงานกับ ADB ได้แก่

1. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง มีหน้าที่ในการเพิ่มทุน การออกเสียงลงคะแนน การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญโดยประสานงานกับหน่วยงานภายในประเทศไทยได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

2.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ มีหน้าที่พิจารณาโครงการเงินกู้  การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ  และความร่วมมือต่างๆ ที่เป็นงานในภาคปฏิบัติที่สำคัญ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 38881เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2006 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ข้อโทดนะครับ ผมอยากทราบว่า ธนาคารพัฒนาเอเซีย  มีโครงสร้างและนโยบายก็ตั้งอย่างไร คับ  ถ้าพี่มีข้อมูลกรุณา  ส่งให้ผมหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ

หนูอยากรู้ว่าประเทศที่เป็นสมาชิกของ ธนาคารโลกมีประเทศอะไรบ้างค่ะ  ใครรู้ช่วยบอกหน่อยสิค่ะ (ต้องการด่วน

หนูอยากรู้ ว่า โครงสร้างธนาคาร เอเชีย เป็นอย่างไรช่วยบอกด้วยนะค่ะ

อยากได้ข้อมูลทุกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธนาคารพัฒนาเอเชียค่ะ เพราะต้องทำโปรเจคส่งอาจารย์ด่วนค่ะ หาข้อมูลได้นิดเดียวเองค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

  • หากน้องๆ ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเซีย
  • ลองโทร.ไปที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

คือ อยากทราบ หลักการธนาคารพัฒนาเอเซีย

ขอบคุณคะมีรายงานส่งอาจารย์แล้ว

อยากได้ข้อมูลทุกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธนาคารพัฒนาเอเชียค่ะ มี Webside ไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท