ความหมายของดนตรีชาติพันธุ์ Ethnic Music


ความหมายของดนตรีชาติพันธุ์ Ethnic Music

ดนตรีชาติพันธุ์คืออะไร

    คำว่า ‘ดนตรี’ นี่ ขอไม่อธิบายนะครับ เพราะเราเข้าใจกันอยู่แล้ว แต่คำว่า ‘ชาติพันธุ์’ นี่อาจเป็นปัหาให้ปวดขมับได้ ถ้าแปลง่ายๆ ตามตัวหนังสือ ชาติพันธุ์ คือกลุ่มคนพันธุ์เดียวกันที่รวมเป็นชาติ เพราะฉะนั้นดนตรีชาติพันธุ์ก็คือดนตรีของคนพันธุ์เดียวกัน หรือดนตรีของกลุ่มคนที่รวมเป็นชาติ ถ้าแปลออกมาแบบนี้ คำถามต่อมาก็คือ แล้วดนตรีอะไรล่ะ ที่ไม่สังกัดชาติไม่สังกัดพันธุ์ ผมยังหาไม่เจอครับลองดูตัวอย่างนี้นะครับ ดนตรีคลาสสิกของ Mozart สังกัดชาติและพันธุ์เยอรมัน เพลงลูกทุ่งสังกัดชาติและพันธุ์ไทย ดนตรีบลูส์ (Blues) สังกัดชาติสหรัฐอเมริกา พันธุ์อัฟริกันอเมริกัน ถ้าตีความกันแบบนี้ ดนตรีคลาสสิก เพลงบลูส์ และเพลงลูกทุ่ง ต่างก็เป็นดนตรีชาติพันธุ์ แล้วถ้าคิดต่อไปอีก เราก็จะได้ข้อสรุปว่าดนตรีทุกชนิด ในโลกต่างก็เป็นดนตรีชาติพันธุ์ ในความเห็นของผม คำตอบนี้ทั้งถูกและผิด ยังไงก็ตาม มันไม่ได้ช่วยให้เราเข้าใจดนตรีชาติพันธุ์มากขึ้นสักเท่าไร

ลอง เปลี่ยนมามองในมุมอื่นๆ ดูบ้างครับ สมมุติว่าเราตีความใหม่ว่า ดนตรีชาติพันธุ์คือดนตรีที่เป็นตัวแทนหรือเป็นสัลักษณ์ของชาติพันธุ์ แบบนี้อาจเห็นภาพชัดเจนขึ้นบ้าง ตัวอย่างเช่น ดนตรีอะไรเป็นตัวแทนของชาติพันธุ์บราซิล คำตอบคือ แซมบ้า (Samba) บางคนอาจจะหาคำตอบอื่นๆได้มากกว่านี้ก็ได้นะครับ ถามต่อ ดนตรีอะไรเป็นตัวแทนของชาติพันธุ์ญี่ปุ่น คำตอบ กากากุ (Gagaku) ดนตรีอะไรเป็นตัวแทนชาติพันธุ์อีสาน คำตอบคือ หมอลำ ดังนั้นสรุปว่า แซมบ้า กากากุ และ หมอลำ ต่างก็เป็นดนตรีชาติพันธุ์ แบบนี้ค่อยเข้าใจง่ายหน่อย

คำ ถามสุดท้ายของตรงนี้คือ แล้วดนตรีอะไรบ้างที่ไม่เป็นดนตรีชาติพันธุ์ คำตอบคือ ดนตรีอะไรก็ตามที่ไม่เป็นตัวแทนของกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่นับเป็นดนตรีชาติพันธุ์ เช่นดนตรีร็อก (Rock) ดนตรีคลาสสิก (Classic) ดนตรีป๊อบ (Popular) ฮาร์ดคอร์ (Hard Core) เหตุเพราะดนตรีเหล่านี้เป็นดนตรีของส่วนรวม เล่นกันในหลายกลุ่ม หลายชาติ หลายภาษา ถามเล่นๆ ให้คิดต่ออีกสักนิดครับ แล้ว J – Pop ล่ะ เป็นดนตรีชาติพันธุ์รึเปล่า

ดนตรีชาติพันธุ์มีลักษณะอย่างไร ผม มองว่าดนตรีชาติพันธุ์เป็นดนตรีที่สะท้อนวัฒนธรรมของกลุ่มคน จะเป็นเพลงร้องหรือเพลงบรรเลงก็ได้ โดยทั่วไปแล้วมักเป็นดนตรีที่สืบทอดกันมาจากรุ่น สู่รุ่น ถ่ายทอดกันแบบครูพักลักจำ หรือปากต่อปาก มักไม่มีการบันทึกโน้ต เนื้อหาของเพลงอาจเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน หรือเรื่องเล่าที่เป็นตำนานประจำกลุ่ม อาจมีเนื้อหาอิงประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องของวีรบุรุษหรือบุคคลสำคั และเนื่องจากเป็นการถ่ายทอดต่อๆ กันมา เพลงพวกนี้จึงมักจะไม่มีการอ้างลิขสิทธิ์ ถือเป็นของสาธารณะ ที่ใครจะร้องจะเล่น หรือจะดัดแปลง ตัดต่อยังไงก็ได้ ถ้าเป็นเพลงที่ แต่งขึ้นมาใหม่

หลังจากที่เพลงเริ่มเป็นที่รู้จักของสังคมแล้ว ก็จะถูกคนอื่นๆ นำไปเล่นไปร้อง และอาจถูกดัดแปลงตามความพอใจของคนเล่น คนร้องคนใหม่ต่อๆ ไปอีก สำหรับผมแล้วดนตรีแบบนี้มีชีวิตของมันเอง คนแต่ง เป็นแค่ผู้ให้กำเนิด แต่ไม่ใช่เจ้าของ เพราะทันที่ที่เพลงถูกปล่อยออกสู่สังคม มันจะเติบโตพัฒนาของมันเอง ภายใต้การขัดเกลาและหล่อเลี้ยงของสังคม นี่คือเสน่ห์ ของดนตรีแบบนี้ครับ ดนตรี ชาติพันธุ์สำคัญอย่างไร ดนตรีทุกชนิดในโลก ต่างก็มีลักษณะเฉพาะและมีความสำคัในตัวของ มันเอง ถ้าเราเชื่อทฤษฎีของดาร์วินที่ว่าอะไรก็ตามที่ไม่มีประโยชน์มันจะค่อยๆ ลดขนาดลงและหายไป อะไรที่มีประโยชน์และถูกใช้บ่อย จะถูกพัฒนาให้แข็งแรงขึ้น ดนตรีชาติพันธุ์ก็อยู่ภายใต้แนวคิดนี้เหมือนกัน ทุกวันนี้ในวงการ

ดนตรีมีความตื่นตัวด้านดนตรีชาติพันธุ์มากขึ้น ช่วงหลัง เราได้ยินคำว่า World Music บ่อยขึ้น ในมุมมองของผม World Music เป็นเงาของดนตรีชาติพันธุ์ ในด้านหนึ่งคำว่า World Music ใช้เรียกแทนคำว่าดนตรีชาติพันธุ์ โดยมีจุดประสงค์ให้มีความเป็นวิชาการน้อยลง มีความบันเทิงมากขึ้น อีกด้านหนึ่ง คำว่า World Music ให้ความหมายว่ามีการผสมผสานระหว่างดนตรีต่างวัฒนธรรมหรือต่างชนิดดนตรี และในการผสมผสานนั้น ต้องมีดนตรีชาติพันธุ์ เป็นส่วนประกอบด้วย เช่น ดนตรีคลาสสิกผสมกับดนตรีอัฟริกัน ดนตรีร็อกผสมกับดนตรีหมอลำ ถ้าในการผสมผสานนั้น ไม่มีดนตรีชาติพันธุ์เป็นส่วนประกอบ ก็อาจทำให้เรียกว่า World Music ได้ไม่เต็มปากเต็มคำนัก การที่ดนตรี World Music หรืออีกแง่หนึ่งดนตรีชาติพันธุ์

มีบทบาทในสังคมมากขึ้น อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นโลกทุกวันนี้ถูกเชื่อมต่อถึงกันด้วยเทคโนโลยี นักดนตรีมีโอกาสได้เห็นแนวดนตรีแปลกๆ จากต่างวัฒนธรรมมากขึ้น แล้วนักดนตรีนี่ ตามธรรมชาติแล้วเป็นนักก๊อปปี้ชั้นยอด เมื่อได้รู้ได้เห็นแนวดนตรีแปลกๆ ก็ก๊อปปี้อารมณ์ ลีลา ความรู้สึก เอามาเสนอใหม่ในมุมมองและเทคนิคที่ตัวเองสามารถเล่นได้ ทำให้เกิดสำเนียงดนตรีแปลกใหม่ และเกิดเป็นเทรนด์ใหม่ของวงการดนตรี ใน อีกด้านหนึ่ง ยิ่งโลกถูกเชื่อมต่อถึงกันมากขึ้นเท่าใด ความเป็นตัวของตัวเองของสังคมก็น้อยลงเท่านั้น เดี๋ยวนี้เห็นเด็กวัยรุ่นเดินตามศูนย์การค้า ผมเริ่มไม่แน่ใจว่านี่เราอยู่ในเมืองไทยหรืออยู่ที่ญี่ปุ่นกันแน่ ตรงนี้ผมขออ้างทฤษฎีฟิสิกส์มาใช้ครับ แอ๊กชั่นกับรีแอ๊กชั่น (นึกภาษาไทยไม่ออก) ยิ่งมีแรงกระทำมากเท่าไร แรงต้านก็มากเท่านั้น ยิ่งความเป็นตัวเองของสังคมถูกสลายลง

เนื่องจากผลกระทบจากวัฒนธรรมภายนอกมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีกระแสความพยายามรักษาความเป็นตัวของตัวเองมากเท่านั้น และดนตรีชาติพันธุ์ในฐานะที่เป็นสัลักษณ์แสดงความเป็นชาติพันธุ์ ก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ถูกใช้ครับ คุณค่า ของดนตรีชาติพันธุ์ จำ ไม่ได้ว่าใครเป็นคนพูดว่า “ศิลปะคืออาภรณ์ของแผ่นดิน” แต่ทุกครั้งที่ต้องทำงานดนตรี ผมมักจะนึกถึงคำๆ นี้เสมอ บ่อยครั้งที่รู้สึกว่าแผ่นดินของเราทุกวันนี้ล่อนจ้อน ไม่รู้ว่าเราเป็นใคร สวมใส่อาภรณ์อะไรอยู่ บางครั้งก็งงๆ ที่รู้สึกเหมือนกับว่าเรากำลังใส่หมวกคาวบอย ใส่เสื้อี่ปุ่น ใส่กางเกงเกาหลี ใส่สร้อยอินเดีย ใส่กำไลบาหลี สวมรองเท้าท๊อปบูท ทุกอย่างที่ว่านี่อยู่ในร่างกายเดียวกันในเวลาเดียวกันเลยนะครับ ในฐานะที่เป็นคนหนึ่งที่ทำงานดนตรี

ผมต้องเตือนตัวเองเสมอๆ ไม่ให้เผลอตัว ทำอะไรอย่างนั้น ท้ายที่สุด เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเจอกับเพื่อนที่เป็นนักดนตรีชนเผ่าคนหนึ่ง เพื่อนผมเพิ่งกลับมาจากแสดงดนตรีในดินแดนพม่า เขาเล่าว่าตอนที่เขาเดินทาง ด้วยเท้าเข้าพม่า ทหารได้ช่วยหิ้วเครื่องดนตรีของเขา ตอนที่นั่งพักกลางทาง ทหารได้เอาเครื่องดนตรีวางรวมกับปืน สำหรับเขาแล้ว ปืนเป็นอาวุธที่ถูกใช้เพื่อปกป้องรักษาประเทศชาติ หรือในอีกความหมายหนึ่งคือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ การที่กลุ่มชาติพันธุ์ของเขาจะสามารถมีประเทศหรือมีพื้นที่เป็นของตนเองหรือ ไม่ ยังไม่ใช่เรื่องสำคั ที่สำคักว่านั้นคือพื้นที่ทางวัฒนธรรม ถึงแม้นว่าจะไม่มีประเทศ เขาก็ยังอยู่ได้ แต่ถ้าไม่มีพื้นที่ให้แสดงออกทางวัฒนธรรมแล้ว จะบอกกับโลกได้อย่างไรว่าเขาคือใคร

และเครื่องดนตรีก็คืออาวุธที่เขาใช้เพื่อปกป้องพื้นที่ทางวัฒนธรรมของเขา ถึงตรงนี้ ผมคิดว่าเราต้องกลับมามองตัวเองแล้วว่า เรายังเหลือพื้นที่ให้เราได้ปกป้องมากน้อยแค่ไหน หรือว่าเราเสียดินแดนของเราไปหมดแล้ว ที่มาแหล่งความรู้: Ethnic Music …Ethnic & Music ดนตรีชาติพันธุ์.... ชาติพันธุ์ กับ ดนตรี เรื่อง: บฤงคพ วรอุไร ภาพ: บฤงคพ วรอุไร คอลัมน์ : Music Essey ฉบับ : April 2008 Vol.4 หวังว่าคงมีประโยชน์นะคับสำหรับบทความที่ผมนำมาลง ผู้ที่ชื่นชอบดนตรีอยู่แล้วจะได้เปิดโลกทัศน์และมีองค์ความรู้ใหม่ๆเพิ่ม ขึ้นนอกเหนือจากดนตรีที่เรานิยมกันอยู่ในปัจจุบันนี้....ขอบคุณคับ

 

http://www.watchari.com/board/index.php?topic=1155.0

หมายเลขบันทึก: 388397เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2010 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

อ่านบทความข้างบน แล้วมาตั้งคำถามแล้วตอบ ด้วย นะจ๊ะ ห้าม ก๊อบปี้คนข้างบนมาส่งเด็ดขาด

ลบเหมื่อนเดิม นะ

นางสาวณัฐภรณ์ ทองสุวรรณ ชั้นม.5 เลขที่ 27

1. ดนตรีชาติพันธุ์ คือบุคคลกลุ่มใด

- ดนตรีของคนพันธุ์เดียวกัน หรือดนตรีของกลุ่มคนที่รวมเป็นชาติ

2.ดนตรีอะไรเป็นตัวแทนของชาติพันธุ์บราซิล

- แซมบ้า

3.คนตรีชาติพันธุ์ใต้คือ

- มโนราห์

4. การเป็นตัวของตัวเองในความคิดเรามันเป็นอย่างไร

- การเป็นตัวของตัวเองคือสิ่งสำคัญที่สุด โดยไม่ก๊อปปี้ความคิดหรือการแสดงออกของบุคคลอื่นแม้ว่าบุคคลคนนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามการเป็นตัวของตัวเองดีที่สุด

นางสาวจันจิรา แซ่ซู เลขที่14 ม.5/1

1.ดนตรีชาติพันธุ์มีลักษณะอย่างไร

-ดนตรีชาติพันธุ์เป็นดนตรีที่สะท้อนวัฒนธรรมของกลุ่มคนหรือกลุ่มของชาติศาสนา จะเป็นเพลงร้องหรือเพลงบรรเลงก็ได้ โดยทั่วไปแล้วมักเป็นดนตรีที่สืบทอดกันมาจากรุ่น สู่รุ่น ถ่ายทอดกันแบบครูพักลักจำ หรือปากต่อปาก มักไม่มีการบันทึกโน้ต เนื้อหาของเพลงอาจเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน หรือเรื่องเล่าที่เป็นตำนานประจำกลุ่ม อาจมีเนื้อหาอิงประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องของวีรบุรุษหรือบุคคลสำคัญ และฃถ่ายทอดต่อๆ กันมา

นาย กิตินันท์ แซ่เจน ชั้น ม5 เลขที่2

1. ดนตรีอะไรบ้างที่ไม่นับเป็นดนตรีชาติพันธุ์

-ดนตรีร็อก (Rock) ดนตรีคลาสสิก (Classic) ดนตรีป๊อบ (Popular) ฮาร์ดคอร์ (Hard Core)

นางสาวเบญจมาภรณ์ ชูเรือง เลขที่ 19 ม.5

1.ดนตรีคลาสสิกของ Mozart สังกัดชาติใด

=สังกัดชาติและพันธุ์เยอรมัน

2.เพลงลูกทุ่งสังกัดชาติใดและพันธ์ใด

=สังกัดชาติและพันธุ์ไทย

3.ดนตรีบลูส์ (Blues) สังกัดชาติใด

=สังกัดชาติสหรัฐอเมริกา พันธุ์อัฟริกันอเมริกัน

นางสาวกัณฐมณี ยาหัวดง ม.5/1 เลขที่8

1.ดนตรีอะไรบ้างที่ไม่เป็นดนตรีชาติพันธุ์

- ดนตรีอะไรก็ตามที่ไม่เป็นตัวแทนของกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

นางสาวจิราภา แซ่เจียง ม.5/1 เลขที่ 1

1.ดนตรีชาติพันธุ์ ประกอบไปด้วยอ่ะไร

-ดนตรีคลาสสิกผสมกับดนตรีอัฟริกัน ดนตรีร็อกผสมกับดนตรีหมอลำ

หมดเวลาการส่งงาน ละ

แต่ส่งหลังจากปิดแล้วก็ได้นะ

แต่ได้ครึ่งราคา หรือ 0

นางสาวธันย์ชนก แซ่ตั้ง ชั้นม.5/1 เลขที่22

[เอาคะแนนเต็มนะอาจารย์ห้ามหักของเค้า,,555+]*

1.คำว่าWorld Music ใช้เรียกแทนคำว่าอะไร?

ตอบ ดนตรีชาติพันธุ์

01. ชาติพันธุ์คือ

ตอบ กลุ่มคนพันธุ์เดียวกันที่รวมเป็นชาติ

นาย คามิน รุ่งทิวาประทีป ม.5 เลขที่17

1.ดนตรีอะไรบ้างที่ไม่เป็นดนตรีชาติพันธุ์

- ดนตรีอะไรก็ตามที่ไม่เป็นตัวแทนของกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่นับเป็นดนตรีชาติพันธุ์ เช่นดนตรีร็อก (Rock) ดนตรีคลาสสิก (Classic) ดนตรีป๊อบ (Popular) ฮาร์ดคอร์ (Hard Core) เหตุเพราะดนตรีเหล่านี้เป็นดนตรีของส่วนรวม เล่นกันในหลายกลุ่ม หลายชาติ หลายภาษา

2.คำว่า World Music ให้ความหมายว่าอย่างไร

- การผสมผสานระหว่างดนตรีต่างวัฒนธรรมหรือต่างชนิดดนตรี และในการผสมผสานนั้น ต้องมีดนตรีชาติพันธุ์ เป็นส่วนประกอบด้วย เช่น ดนตรีคลาสสิกผสมกับดนตรีอัฟริกัน ดนตรีร็อกผสมกับดนตรีหมอลำ ถ้าในการผสมผสานนั้น ไม่มีดนตรีชาติพันธุ์เป็นส่วนประกอบ ก็อาจทำให้เรียกว่า World Music

นาย ทิวากร แซ่จง ม5 เลขที่5

1. ดนตรีอะไรเป็นตัวแทนของชาติพันธุ์ญี่ปุ่น

-กากากุ

นางสาวอำไพ แซ่ลี เลขที่ 26 ม.5

1.เพราะเหตุใดดนตรีร็อก (Rock) ดนตรีคลาสสิก (Classic) ดนตรีป๊อบ (Popular) และฮาร์ดคอร์ (Hard Core) จึงไม่ใช่ดนตรีชาติพันธุ์

ตอบ เพราะดนตรีเหล่านี้เป็นดนตรีของส่วนรวม เล่นกันในหลายกลุ่ม หลายชาติ หลายภาษา

นายอดิเทพ สุภาพัฒนกิจ

1. ดนตรีร็อก (Rock) ดนตรีคลาสสิก (Classic) ดนตรีป๊อบ (Popular) ฮาร์ดคอร์ (Hard Core) เหตุใดจึงไม่ัจัดอยู่ในดนตรีชาติพันธุ์?

ตอบ เพราะดนตรีเหล่านี้เป็นดนตรีของส่วนรวม เล่นกันในหลายกลุ่ม หลายชาติ หลายภาษา

2. ดนตรีคลาสสิก เพลงบลูส์ และเพลงลูกทุ่ง เป็นดนตรีประเภทใด?

ตอบ ดนตรีชาติพันธุ์

นายอภิวัฒน์ แซ่จั่น เลขที่ื9 ม.5

1.ดนตรีอะไรเป็นตัวแทนชาติพันธุ์อีสาน

-หมอลำ

นางสาวสุนิดา แซ่ซิน เลขที่23 ม.5

1.World Music เป็นเงาของดนตรีใด?

ตอบ ชาติพันธุ์

นางยุภารัตน์ จันใด เลขที่25 ม.5

1.กากากุ และ หมอลำ เป็นดนตรีอะไร?

ตอบ ดนตรีชาติพันธุ์

นาย จิรพงษ์ แซ่ซำ ม 5 เลขที่ 4

1. อีกด้านหนึ่ง คำว่า World Music ให้ความหมายว่า

- การผสมผสานระหว่างดนตรีต่างวัฒนธรรมหรือต่างชนิด

นางสาว ณัฐชา ดวงใจ ม.5/1 เลขที่21

1.เพลงร้องหรือเพลงบรรเลงถ่ายทอดกันมาแบบใด

-ถ่ายทอดกันแบบครูพักลักจำ หรือปากต่อปาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท