ICT ถ้าหนีไม่ได้ให้หันมาตั้งรับ


ICT ถ้าหนีไม่ได้ให้หันมาตั้งรับ

ICT  ถ้าหนีไม่ได้  ก็ให้หันมาตั้งรับ

ผกามาศ  บุญเผือก  นิสิตปริญญาเอกสาขาหลักสูตรและการสอน
                                                 ชั้นปีที่  1  ปีการศึกษา  2552

*************************************

       คงไม่มีใครที่จะปฏิเสธได้ว่าในชีวิตประจำวันของเราสมัยนี้สามารถหลีกหนีการใช้เทคโนโลยีไปได้พ้น  ตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมาตอนเช้า  บางคนเปิดโทรทัศน์ก่อนการล้างหน้าแปรงฟันเสียอีกเพื่อบริโภคข่าวสารก่อนการรับประทานอาหารประจำวันที่ใช้หล่อเลี้ยงชีวิต  แม้แต่การปรุงอาหาร  การใช้ระบบการสื่อสาร  การใช้จ่ายเงินผ่านตู้  ATM  กระบวนการรักษาโรคทางการแพทย์  การใช้บริการสาธารณะต่าง ๆ เช่นการจองตั๋วเครื่องบิน  รถทัวร์ระบบ  Online  เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เราเรียกย่อ ๆ ว่า ICT นั้นมาจาก Information : สารสนเทศ  and Communication :  การสื่อสาร  Technology :  เทคโนโลยี  เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา  การจัดการศึกษาจำเป็นต้องปรับวิธีการเรียนและเปลี่ยนวิธีการสอนให้สอดคล้องกับยุค  ICT. ให้ได้ในเมื่อเราไม่สามารถหลีกหนี  ICT ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราได้  ก็ควรที่จะเรียนรู้และเปิดใจรับและใช้ประโยชน์จาก  ICT ให้ได้มากที่สุด  เพื่อพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
                การปฏิรูปการศึกษา  ถือเป็นหัวใจของการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช  2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)  พุทธศักราช  2545  โดยมุ่งหวังให้ครูจัดการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดที่สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพทุกคน หากนักเรียนมีการปรับกระบวนการเรียนและครูเปลี่ยนวิธีการสอน  สถานศึกษาทุกแห่งขานรับนโยบายของการเป็นโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง  โดยการนำหลักการสร้างห้องเรียนคุณภาพมาใช้ซึ่งประกอบด้วยหลักสำคัญ  5  ประการ  คือ  1)  ผู้บริหารและครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง  2)  หลักสูตรอิงมาตรฐาน  3)  การใช้วินัยเชิงบวกในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  4)  การใช้  ICT  ในการเรียนการสอน  และ  5)  การนำการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน

ภายใต้ความเชื่อที่ว่าหากห้องเรียนทุกห้องเรียนเป็นห้องเรียนคุณภาพแล้ว  โรงเรียนจะกลายเป็นสถานศึกษาที่มีความเป็นเลิศ  (excellence  school)
                หากถือว่าการจัดการศึกษาให้เน้นความต้องการของนักเรียนเป็นสำคัญแล้ว  เมื่อพิจารณาถึงสภาพการณ์ปัจจุบันพบว่านักเรียนเกือบทุกคนมีความต้องการในการใช้สื่อเทคโนโลยีในการเรียนรู้มากกว่าการใช้สื่อประเภทอื่น  ดังนั้น  โรงเรียนส่วนใหญ่จึงนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ  และการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการศึกษาทั้งในด้านพัฒนาองค์ความรู้  กระบวนการจัดการศึกษา และกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน  สร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนดี  คนเก่ง        มีคุณธรรมจริยธรรม  ในการใช้  ICT  เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้และพัฒนาองค์ความรู้  การพัฒนาให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน  ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นการสอนทางไกลผ่านระบบเครือข่ายเทคโนโลยี  ทั้งในเวลาและนอกเวลา  ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างทางด้านฐานะและความพร้อมและมีศักยภาพต่างกัน  ได้ศึกษาตามความถนัดของตนเองโดยใช้ระยะเวลาต่างกันออกไป  และสามารถปรับปรุงตัวเองได้ตลอดเวลาที่ต้องการ
                ในโลกยุคปัจจุบันเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้โดยเฉพาะที่เราเรียกว่าโลกไร้พรมแดนนั้น  ครูผู้สอนยิ่งต้องมีความรอบรู้  และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก  ซึ่งมีอย่างรวดเร็ว
                การใช้หลักสูตร ICT  ปัจจุบันอาจมีอยู่ในโรงเรียนต่างๆ ทั้งโรงเรียนที่มีรูปแบบปกติ  หรือโรงเรียนทางเลือก  การจัดการที่จะนำ ICT  เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีนับว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก  และปฏิบัติกันอยู่โดยทั่วไป  แต่การจัดการที่จะให้ ICT  เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ในกลุ่มสาระฯ อื่นด้วย  เริ่มเป็นสิ่งยุ่งยาก และยิ่งยากไปกว่าถ้าจะคิดให้กลุ่มสาระฯ อื่นรู้จักการนำความรู้  เนื้อหาสาระเกี่ยวกับ  ICT  มาบูรณาการกับกลุ่มสาระฯ  ของตนด้วย
                การใช้ ICT เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ในกลุ่มสาระฯ อื่นด้วย  จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อครู        ในกลุ่มสาระฯ อื่นต้องมีความรู้  ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการให้ผู้เรียนใช้ ICT มาทำให้เกิดการเรียนรู้  รายวิชาต่างๆ ในกลุ่มสาระฯ ของตน  หากโรงเรียนสามารถจัดการดังว่านี้ได้  ICT  จะถูกสอดแทรกในการเรียนรายวิชาต่างๆ จนเป็นปกติวิสัย  สิ่งที่เป็นข้อคิดต่อไปก็คือ  ทำอย่างให้ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ คุณสมบัติ  ความสามารถด้าน ICT  เพียงพอต่อความมั่นใจในการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ทุกรายวิชา  โดยอาจใช้ผสมผสานกับการเรียนตามปกติ  เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี  ในจุดประสงค์การเรียนรู้ที่มีความเหมาะสม
                การพัฒนาครูเพื่อใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  จึงเป็นเป้าหมายของการพัฒนาหลักสูตร  ที่ส่งเสริมการนำ ICT มาใช้ในการเรียนการสอนปัจจุบันอย่างแพร่หลาย  เช่น  การจัดหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ 
ทำไมต้องนำ ICT  สู่ห้องเรียน
                จะเห็นว่าสภาพเศรษฐกิจสังคมปัจจุบันที่การจ้างแรงงานสำหรับผู้จบการศึกษา  โดยเฉพาะระดับปริญญากับไม่จบปริญญา  มีความแตกต่างด้านรายได้กันอยู่ที่  50%  แต่ถ้าเปรียบเทียบระหว่างผู้จบปริญญาที่มีสาขาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาจะได้เปรียบในการเข้าถึงงานและ ผู้ว่าจ้างได้มากกว่าเช่นกั

ประโยชน์ของ ICT  สรุปได้ดังนี้

 

ระยะทาง
                จะเห็นได้ว่า  เมื่อพูดถึงประโยชน์ด้านระยะทางแล้ว  การจัดระบบการเรียนการสอนโดยใช้  ICT  สามารถลดข้อจำกัดในเรื่องระยะทาง  ผู้เรียนสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ได้ทั่วโลกผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 
เวลา
                ในการใช้ ICT  ช่วยลดข้อจำกัดเรื่องของเวลา  นักเรียนสามารถเรียนรู้เรื่องราวที่ตนสนใจได้ตลอด  24  ชั่วโมง  ไม่มีเวลาเปิด-ปิดของโรงเรียนมาเป็นข้อจำกัด 
บุคลากร
                ICT  ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญบางสาขาวิชา  นักเรียนสามารถเรียนรู้จาก  e-Book  ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบมัลติมีเดีย  หรือระบบ  e-Learning  ที่มีการจัดการเรียน-การสอนโดยจำลองแบบมาจากห้องเรียนจริง 
การลงทุน
                เมื่อมองในภาพรวม  ICT  ช่วยลดต้นทุนในการจัดการศึกษา  เมื่อมองในภาพรวม  เพราะสามารถกระจายชุดการเรียน-การสอน  ไปยังผู้เรียนโดยผ่านเครือข่ายได้อย่างทั่วถึง 
ICT  กับการเรียนรู้
                ICT  ช่วยให้เกิดความสำเร็จทางด้านต่างๆ คือ
                -  เข้าถึงและแสวงหาแหล่งเรียนรู้ได้มาก
                -  เรียนรู้ได้เร็ว
                -  ให้บริการแบบ  e-Service
                -  มีความคล่องตัว 
โรงเรียนในรูปแบบเก่า
                -  ยึดติดกับสถานที่  เวลา  ตารางสอน  ห้องเรียน
                -  ใช้ทรัพยากรเหมือนกัน  ครูคนเดียวกัน  ตำรา  สื่อ  เหมือนกัน
                -  การเรียนการสอนเป็นแบบป้อนให้
                -  โรงเรียนทำหน้าที่เหมือนโรงงานไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 
-         ครูเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน
-         เรียนเพื่อทำข้อสอบ ระบบวัดผลที่ไม่หลากหลาย
-         หลักสูตรไม่ยืดหยุ่น

โรงเรียน ICT มีหน้าตาเป็นอย่างไร
                โรงเรียนที่มุ่งหวังจะนำ ICT มาใช้ในการเรียนการสอน จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ได้แก่
  1. การมีความร่วมมือระหว่าง ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้สอน
  2. ติดต่อกับแหล่งความรู้ต่างๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เชื่อมโยงโรงเรียนเข้ากับชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  3. จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
  4. ขจัดปัญหาเรื่องพรมแดน สถานที่และเวลา
  5. นำศักยภาพของสื่อ ICT มาช่วยเสริมกระบวนการเรียนรู้

สถานศึกษา ควรมีบทบาทอย่างไร
  1. กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจ สังคมและรูปแบบการดำรงชีวิต
  2. หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับบริบทของโลกศตวรรษที่ 21
  3. ผู้บริหารมุ่งมั่น มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
  4. สนับสนุนบุคลากรทางการศึกษาให้ได้มีโอกาสเข้าถึงและใช้งาน ICT อย่างทั่วถึง
  5. ปรับบทบาทและวิธีการสอนของครู

ทำอย่างไรให้เกิด Active Teaching and Active Learning
                จำเป็นต้องใช้ การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์กับครู ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ปฏิสัมพันธ์กับชิ้นงาน
                การสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกัน ได้มีนักการศึกษาคิดค้นกันไว้หลายวิธี และวิธีการเหล่านี้ล้วนมีรากฐานมาจากทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) วิธีการคิดค้นกันนั้นจะเน้นการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้มีช่วงเวลาของการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ด้วยการมี ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ รอบตัว ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยเฉพาะกับผู้คน ทั้งที่อยู่รอบข้าง ใกล้ตัวหรือห่างไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต


การใช้ ICT ในกิจกรรมการเรียนรู้   ได้แก่
-         เพื่อการสืบค้น (Search)
-         เพื่อการสำรวจ (Explore)
-         เพื่อการวิเคราะห์ (Analysis)
-         เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Exchange)
-         เพื่อการนำเสนอข้อมูล (Presentation Information)

การเรียนรู้แบบ E-Collaborative Learning   เป็นอย่างไร
                อาจเปรียบเทียบการเรียนแบบปกติ e- Collaborative Learning ดังตารางต่อไปนี้

พัฒนาการของสังคมโลก จากยุคข้อมูลข่าวสาร (IT) มาสู่สังคมแห่งความรู้ (Knowledge Based Society) ปัจจุบันสังคมโลกเข้าสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Learning) บทบาทของ IT ได้ก้าวสู่บทบาทของ ICT และการเรียนรู้ที่เป็น e- collaborative learning จึงไม่ใช่หมายถึงจัดการเรียนรู้โดยทำ content online ไม่ว่าจะเป็นรายวิชา การติว ทบทวน นำเสนองาน หรือ e-books เป็นต้น แต่ต้องให้โอกาสผู้เรียนในการสื่อสาร อภิปรายทำงานร่วมกันทาง online เป็นเดี่ยว เป็นคู่ หรือกลุ่ม  เพื่อไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้ร่วมกัน  โดยเน้นความสำคัญของการให้มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้  การสืบสอบความรู้  โดยอาศัยศักยภาพ  พัฒนาการความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการสื่อสาร  มาใช้ให้เป็นประโยชน์
                กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เกิด  e- collaborative learning  มีได้หลายแบบ
ดังตัวอย่าง
            เช่น  การใช้  distance  learning,  CD-ROMs, videoconferencing, computer-based  instruction,  satellite  downlinks,  interactive  TV  lectures,  competency  certification  electronic  portfolios,  virtual  educational  networks,  corporate  universities,  communities  of  learners,  group  และ project  based  learning  technologies  เป็นต้น

ปัญหาที่อาจพบจากการเป็นโรงเรียน ICT

                1. โรงเรียน ICT ที่จัดหลักสูตร จัดการศึกษา เป็น online education ให้ได้ผล โรงเรียนต้องจัดเตรียมความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ที่จะทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถ เข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้อย่างง่าย สะดวก ซึ่งมิได้ทำได้ในทุกพื้นที่ ที่จะมีความพร้อม ในเทคโนโลยีด้านนี้

                2. ในสังคมของเราทุกวันนี้ ก็ยังมีการโต้แย้งกันอยู่เกี่ยวกับคุณค่า และผลกระทบของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำถามที่น่าคิดก็คือเทคโนโลยี สะท้อนคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน และผู้เรียนเป็นกลุ่มที่ใช้มันอย่างไร

                3. ปัญหาประการหนึ่งที่สำคัญคือ เรื่องความเป็นส่วนตัว ในของการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบ online การแกะรอยดูร่องรอยการเรียนของผู้เรียนสามารถทำได้
ทันที ที่ผู้เรียน LOG  IN เข้ามา

                4. การจัดหลักสูตรให้เป็น online education การสร้าง online courses จะประหยัดในเรื่องค่าใช้จ่าย คือสามารถตอบสอนงผู้เรียนได้จำนวนมาก ประหยัด การมี online course จากหลายสถานศึกษา ก็เป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้เรียนในแง่ของการเลือกเรียนสาขาวิชา รายวิชา ได้

                5. ในด้านเศรษฐกิจ online education ทำให้เกิดโอกาสใหม่ทางธุรกิจด้านนี้ ไม่เฉพาะด้าน hardware หรือ software เท่านั้น โรงเรียนที่จะเป็น “virtual schools” อาจเป็น ปรากฎการณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทย สถาบันประเภทนี้ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น

                6. เนื่องจาก online education สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในวงการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการให้เกิดการยอมรับมากขึ้น

7. หากสถานศึกษาต้องการปรับเปลี่ยนการศึกษาทางเลือกในลักษณะนี้ สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ประการแรก การปรับเปลี่ยนจากชั้นเรียนปกติแบบเดิม มาเป็น online จะง่ายกว่าการจัดชั้นเรียนขึ้นใหม่ ทดลองใช้กับรายวิชาเดิมที่เคยสอน จะง่ายกว่าการใช้กับรายวิชาใหม่เลย ที่ยังไม่คุ้นเคย จุดเริ่มต้นของการสร้าง online course

                ข้อเสนอแนะในการทดลองทำกับรายวิชาใดเป็นรายวิชาแรก คือ ทำเป็น Pilot หรือ Prototype ก่อนที่จะทำหมดทั้งรายวิชา อาจเริ่มทำกับบางบทเรียน เริ่มต้นน้อย ๆ ก่อนกับผู้เรียนที่จำนวนไม่มากนัก

                8. การจัดการศึกษาในลักษณะนี้จะได้ผล ถ้าทุกคนมีส่วนร่วม

                9. ในการเตรียมความพร้อม โรงเรียน  บางแห่ง มีการจัดหางบประมาณเพื่อใช้ในการนี้ ในรูปของการหาทุน หรือรับบริจาค หรือแสวงหาโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย และสถาบันอุดมศึกษา

                10. การคัดเลือก software

                11. ทักษะที่จำเป็นของผู้ใช้คอมพิวเตอร์

                12. สำหรับใครก็ตามที่คิดดำเนินการออกแบบ online course  ไม่ว่าจะเป็นครู ผู้บริหาร หรือผู้พัฒนาการเรียนการสอน อาจเริ่มต้นด้วยการทำในสิ่งต่อไปนี้

                (1) ค้นหา web ที่เป็น online course ที่คล้ายคลึงกับรายวิชาของตน

                (2) พูดคุยกับคนอื่นที่ได้ทำในสิ่งที่เรากำลังวางแผนที่จะทำนี้

                (3) ลงทุนเรียน online course

                (4) จัดหาทีมงานที่จะพัฒนารายวิชา

                (5) ให้แน่ใจว่าสถานศึกษามีความพร้อมที่จะให้ใช้ online education

สรุป 

                การก้าวสู่ความสำเร็จสำหรับอนาคตการจัดการเรียนรู้ยุค ICT

                เพื่อเป้าหมายสำคัญในการปฏิรูปและการยกระดับการศึกษาของไทย จึงขึ้นอยู่กับบทบาทของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สื่อสารโทรคมนาคม และการจัดการข่าวสาร การวางแผนในอนาคตจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีของประเทศไทย เพื่อใช้ประโยชน์การศึกษา การสร้างเนื้อหา การดำเนินการจัดการข้อมูลข่าวสาร และการแลกเปลี่ยนใช้งานข้อมูลร่วมกัน การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย รวมถึงการสร้างกลไกเพื่อทำให้เกิด e-Service โดยเฉพาะการดำเนินงานภายใน
มีระบบ และรูปแบบของ e-Office มากขึ้น มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การเข้าถึงได้จากทุกหนแห่ง รวมถึงนโยบายหลักที่จะตอบสนองผู้เรียนได้ตลอดเวลา และนำพาสู่ระบบการศึกษาตลอดชีวิต

                โดยแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินวิถีใหม่   ดังนี้

                1. ผู้เรียน :   จะต้องมีทักษะพื้นฐานในการใช้  ICT เพื่อการเรียนรู้

                2. หลักสูตร :  จะต้องมีการสอดแทรก ICT เข้าไปในกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งเสริมให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้

                3. ครูผู้สอนและผู้บริหาร :  จะต้องมีทักษะพื้นฐานและสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้

                4. เทคโนโลยี เลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้องและเหมาะสมกับผู้เรียน

บรรณานุกรม

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2551. แผนยุทธศาสตร์กระทรวง

                เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ.2551- 2554. พิมพ์ครั้งที่ 1 .กรุงเทพมหานคร.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2544. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ .

                โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. 226 น.

กระทรวงศึกษาธิการ.2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

                กรุงเทพฯ .โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. 208 น.

นาตยา ปิลันธนานนท์. การออกแบบหลักสูตร  ICT และการสอน e-Collaborative Learning
บุปผาชาติ  ทัฬหิกรณ์. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในบริบทของการเรียนรู้ร่วมกัน จากหนังสือ
                อิเล็กทรอนิกส์ในบริบทของ การเรียนรู้ร่วมกัน:กรุงเทพ

ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง .  ไอซีทีกับการเปลี่ยนวิถีการเรียนรู้.  สืบค้นจาก web.site: http://www.ku.ac.th/

ลานนา ดวงสิงห์. (2543). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Information Technology for

                Learning). กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545. [On-line],

                Available HTTP : http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm

อธิปัตย์ คลี่สุนทร.(2546). แผนหลักใช้ ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา : ความฝันที่ไปถึงได้.

                กระทรวงศึกษาธิการ. [On-line], Available HTTP : http://www.moe.go.th/main2/

                article/article_atipat/plan_ict.htm

เอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์. ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย ICT ของโรงเรียน ในสังกัด สพ.ฐ มปป 

พัฒนาการของสังคมโลก จากยุคข้อมูลข่าวสาร (IT) มาสู่สังคมแห่งความรู้ (Knowledge Based Society) ปัจจุบันสังคมโลกเข้าสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Learning) บทบาทของ IT ได้ก้าวสู่บทบาทของ ICT และการเรียนรู้ที่เป็น e- collaborative learning จึงไม่ใช่หมายถึงจัดการเรียนรู้โดยทำ content online ไม่ว่าจะเป็นรายวิชา การติว ทบทวน นำเสนองาน หรือ e-books เป็นต้น แต่ต้องให้โอกาสผู้เรียนในการสื่อสาร อภิปรายทำงานร่วมกันทาง online เป็นเดี่ยว เป็นคู่ หรือกลุ่ม  เพื่อไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้ร่วมกัน  โดยเน้นความสำคัญของการให้มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้  การสืบสอบความรู้  โดยอาศัยศักยภาพ  พัฒนาการความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการสื่อสาร  มาใช้ให้เป็นประโยชน์
                กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เกิด  e- collaborative learning  มีได้หลายแบบ
ดังตัวอย่าง
            เช่น  การใช้  distance  learning,  CD-ROMs, videoconferencing, computer-based  instruction,  satellite  downlinks,  interactive  TV  lectures,  competency  certification  electronic  portfolios,  virtual  educational  networks,  corporate  universities,  communities  of  learners,  group  และ project  based  learning  technologies  เป็นต้น

จากที่กล่าวมาทั้งหมด  สรุปเป็นแผนภาพ  ได้  ดังนี้

ปัญหาที่อาจพบจากการเป็นโรงเรียน ICT

                1. โรงเรียน ICT ที่จัดหลักสูตร จัดการศึกษา เป็น online education ให้ได้ผล โรงเรียนต้องจัดเตรียมความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ที่จะทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถ เข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้อย่างง่าย สะดวก ซึ่งมิได้ทำได้ในทุกพื้นที่ ที่จะมีความพร้อม ในเทคโนโลยีด้านนี้

                2. ในสังคมของเราทุกวันนี้ ก็ยังมีการโต้แย้งกันอยู่เกี่ยวกับคุณค่า และผลกระทบของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำถามที่น่าคิดก็คือเทคโนโลยี สะท้อนคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน และผู้เรียนเป็นกลุ่มที่ใช้มันอย่างไร

                3. ปัญหาประการหนึ่งที่สำคัญคือ เรื่องความเป็นส่วนตัว ในของการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบ online การแกะรอยดูร่องรอยการเรียนของผู้เรียนสามารถทำได้
ทันที ที่ผู้เรียน
LOG  IN เข้ามา

                4. การจัดหลักสูตรให้เป็น online education การสร้าง online courses จะประหยัดในเรื่องค่าใช้จ่าย คือสามารถตอบสอนงผู้เรียนได้จำนวนมาก ประหยัด การมี online course จากหลายสถานศึกษา ก็เป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้เรียนในแง่ของการเลือกเรียนสาขาวิชา รายวิชา ได้

                5. ในด้านเศรษฐกิจ online education ทำให้เกิดโอกาสใหม่ทางธุรกิจด้านนี้ ไม่เฉพาะด้าน hardware หรือ software เท่านั้น โรงเรียนที่จะเป็น “virtual schools” อาจเป็น ปรากฎการณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทย สถาบันประเภทนี้ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น

                6. เนื่องจาก online education สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในวงการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการให้เกิดการยอมรับมากขึ้น

7. หากสถานศึกษาต้องการปรับเปลี่ยนการศึกษาทางเลือกในลักษณะนี้ สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ประการแรก การปรับเปลี่ยนจากชั้นเรียนปกติแบบเดิม มาเป็น online จะง่ายกว่าการจัดชั้นเรียนขึ้นใหม่ ทดลองใช้กับรายวิชาเดิมที่เคยสอน จะง่ายกว่าการใช้กับรายวิชาใหม่เลย ที่ยังไม่คุ้นเคย จุดเริ่มต้นของการสร้าง online course

                ข้อเสนอแนะในการทดลองทำกับรายวิชาใดเป็นรายวิชาแรก คือ ทำเป็น Pilot หรือ Prototype ก่อนที่จะทำหมดทั้งรายวิชา อาจเริ่มทำกับบางบทเรียน เริ่มต้นน้อย ๆ ก่อนกับผู้เรียนที่จำนวนไม่มากนัก

                8. การจัดการศึกษาในลักษณะนี้จะได้ผล ถ้าทุกคนมีส่วนร่วม

                9. ในการเตรียมความพร้อม โรงเรียน  บางแห่ง มีการจัดหางบประมาณเพื่อใช้ในการนี้ ในรูปของการหาทุน หรือรับบริจาค หรือแสวงหาโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย และสถาบันอุดมศึกษา

                10. การคัดเลือก software

                11. ทักษะที่จำเป็นของผู้ใช้คอมพิวเตอร์

                12. สำหรับใครก็ตามที่คิดดำเนินการออกแบบ online course  ไม่ว่าจะเป็นครู ผู้บริหาร หรือผู้พัฒนาการเรียนการสอน อาจเริ่มต้นด้วยการทำในสิ่งต่อไปนี้

      &n

คำสำคัญ (Tags): #บทความ ict
หมายเลขบันทึก: 388081เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2010 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท