“หมอ ฉันจะอยู่ได้อีกนานแค่ไหน”


ชีวิตของเราอยู่กับเวลาและอนาคต เรามีนัดหมายมากมาย คำถามหนึ่งที่แพทย์ผู้ดูแลได้ยินบ่อยๆ คือ “คุณหมอ ฉันจะอยู่ได้อีกนานแค่ไหน”

สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อได้ยินคำถามนี้ คือ การฟังคำถามให้เข้าใจกระจ่าง (clarify the question) ว่าอันที่จริงแล้ว ผู้ถามต้องการถามอะไรกันแน่  บางทีผู้ป่วยอาจอยากรู้เพียงว่า ต้องอยู่รพ.อีกนานเท่าไร หรือ ต้องรับยาอีกนานไหม หรือผู้ป่วยอาจจะอยากรู้เวลาเพื่อตัดสินใจทำกิจกรรมบางอย่าง

หากคำถามหมายถึงเวลาประมาณสำหรับเวลาที่เหลือก่อนจะเสียชีวิตแล้ว เราต้องเข้าใจว่าการแจ้งข่าวนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ การประมาณเวลาที่ถูกต้อง และ กระบวนการสื่อสารเวลาที่ประมาณนั้น

1. การประมาณเวลาที่ถูกต้อง

ผู้ป่วยและญาติส่วนใหญ่ทราบดีว่า หมอไม่สามารถประมาณการที่แม่นยำแน่นนอนได้ แต่สิ่งที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องการคือ การคาดเดาอย่างมีเหตุผล และการพูดคุยเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จะเสียชีวิต

แม้จะมีเครื่องมือและตำรามากมายที่พยายามจะบอกระยะเวลารอดชีวิตของ (length of survival) แต่ละโรค แต่ก็ยังห่างไกลจากการใช้งานจริง แม้กระนั้นเราอาจจะแบ่งโรคตามระยะเวลาเสียชีวิตได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มที่เสียชีวิตเร็วมาก (rapidly progressive) ได้แก่ มะเร็งที่ถุงน้ำดี, ตับอ่อน, มะเร็งที่มีการแพร่กระจายแล้ว โดยเฉพาะไปที่ ตับ ปอด และสมอง
  2. กลุ่มที่เสียชีวิตช้า (slowly progressive)
  3. กลุ่มที่คาดเดาไม่ได้ (unpredictable) เช่น หัวใจวาย, COPD, ไตวาย

การกำหนดระยะเวลารอดชีวิตนั้นซับซ้อน และมีความแปรผันมาก ขึ้นกับ 3 ปัจจัยหลัก คือ ตัวผู้ป่วยเอง, ตัวโรค และสิ่งแวดล้อม แต่การที่แพทย์ประมาณเวลาให้ผู้ป่วยนั้นมักคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่เกิดจากการมองโลกในแง่ดีเกินไป

เครื่องมือหนึ่งในการประเมินระยะเวลาที่ใช้กันแพร่หลายคือ palliative performance scale ซึ่งมีประโยชน์เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกัน โดยเครื่องมือนี้จะวัด 4 ด้านได้แก่ activity and evidence of disease, self-care, intake and level of consciousness แต่สำหรับโรคระยะสุดท้ายที่ไม่ใช่มะเร็ง ยังไม่มีเครื่องมือใดดีพอที่จะใช้คาดการณ์ได้

การคาดการณ์ระยะเวลารอดมีผลที่ต้องระวังด้วย หากคาดการต่ำเกินไป  ผู้ป่วยและญาติจะรู้สึกผิดที่ดูแลคนไข้ได้ช้า แต่ถ้าประมาณการณ์นานเกินไปจะทำให้เริ่มการดูแลมุ่งไปที่การรักษาด้วยยาหรือหัตถการที่รุนแรงแต่ไม่ช่วยยืดอายุแถมยังลดคุณภาพชีวิตอีกด้วย แล้วยังทำให้ตัดสินใจเริ่ม  palliative care ได้ช้า และ อาจไม่กล้าใช้ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรง  

ดังนั้นหมอ และผู้ป่วยควรเข้าใจตรงกันว่า การประมาณการณ์ไม่มีความแน่นอน และในช่วงเวลาแบบนี้ อาการจะเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วเสมอ

2. กระบวนการสื่อสาร

ก่อนที่จะเริ่มพูดคุยเรื่องนี้ สิ่งสำคัญที่ต้องแน่ใจก่อนคือ ใครคือคนถามคำถามนี้  การสื่อสารในช่วงระยะสุดท้ายเป็นความท้าทายมาก เพราะต้องพยายามสนับสนุนให้ผู้ป่วยตัดสินใจด้วยตัวเองได้ แต่ก็ต้องเช้าใจญาติในฐานะกลุ่มที่ดูแลผู้ป่วย

การแจ้งการดำเนินโรค ควรทำเช่นเดียวกับการแจ้งข่าวร้าย (breaking the bad news)

ขั้นตอนการพูดคุยเกี่ยวกับการดำเนินโรค

  1. ตระหนักถึงความไม่แน่นอน
  2. ให้ข้อมูลถึงกรอบเวลาเป็นจริง ทั่วๆ ไป
  3. ให้ความหวัง
  4. แนะนำให้ทำในสิ่งที่ควรทำ (doing the thing that should be done)
  5. ให้ความมั่นใจว่าท่านจะช่วยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
  6. หากระบวนการดูแลด้านอารมณ์ และจิตวิญญาณ
  7. ถามผู้ป่วยว่ามีสิ่งใดที่ยังค้างและต้องการทำให้เรียบร้อยบ้าง
  8. กระตุ้นให้ผู้ป่วยถามคำถามอื่นๆ อีก

 

บทสรุป

การตอบคำถามถึงเวลาที่เหลืออยู่ เป็นคำถามที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพถูกถามบ่อย  แต่ยากที่จะตอบ การให้คำตอบที่ถูกต้องทันทีอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่หากได้ดูแลผู้ป่วยสักช่วงเวลาหนึ่ง เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย และให้คำตอบที่แม่นยำได้ง่ายกว่า แต่นอกเหนือไปจากคำตอบเรื่องระยะเวลาแล้ว คำถามนี้จะเป็นโอกาส ให้สำรวจความคิดเบื้องหลังคำถามนี้ว่า ผู้ป่วยยอมรับกับสภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลงได้หรือไม่ และเป็นโอกาสให้กระตุ้นผู้ป่วยให้พูดหรือทำในสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ

 

แปลและเรียบเรียง จาก How long have I got? โดย Cornelius J. Woelk ตีพิมพ์ใน Canadian Family Physician Vol 55: december 2009

 

 

คำสำคัญ (Tags): #family medicine#palliative care
หมายเลขบันทึก: 387881เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2010 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท