อุดมการณ์เดินทางสูงสู่สรวงสวรรค์ – พฤติกรรมเดินทางต่ำสู่นรกอเวจี


อุดมการณ์เดินทางสูงสู่สรวงสวรรค์ – พฤติกรรมเดินทางต่ำสู่นรกอเวจี

อุดมการณ์เดินทางสูงสู่สรวงสวรรค์ – พฤติกรรมเดินทางต่ำสู่นรกอเวจี

            หัวเรื่องดูน่ากลัว แต่เรื่องมีอยู่เพียงว่า ได้สังเกตเห็นพฤติกรรมของคน วิถีชีวิตของคนในสังคมไทย มันมีความขัดแย่ง มีช่องว่าง ระหว่าง สวรรค์ กับ นรก อยู่ในการดำชีวิต ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ของกฎกติกา ข้อบังคับต่างๆ ทางสังคมการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันของคนซึ่งสามารถพบเห็นได้ง่ายมาก ในสังคม

           อุดมการณ์เดินทางสูงสู่สวรรค์ คือ การได้เห็นได้รับรู้ เรื่องของกฎหมาย ต่างๆ ได้ฟังนักการเมืองสรรหาคำพูดมาอ้างถึงความจำเป็นในการออกกฎหมายข้อบังคับต่างๆ ที่ถ้าคนในสังคนไทย ปฎิบัติตามกฎหมาย กติกานี้ ถ้ากฎหมายนี้ได้ออกมา ต้องดีอย่างอย่างนี้ สามารถแก้ไขปัญหาได้ดี ฟังแล้วรู้สึกดีมาก หรือการได้รับรู้ กฎหมาย กติกาข้อบังคับในด้านต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ทำให้รู้สึกว่า บ้านเมืองเรามีกฎหมาย กติกาในเรื่องระเบียบบังคับ ในการดำรงชีวิตที่ดีมากๆ เขาว่ากันว่าอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก

            ถ้าสวรรค์มีจริง ตามแนวคิดต่างๆทฤษฎีต่างๆ ของ ครู อาจารย์ที่ได้กล่าว ได้สอน ที่ว่าถ้ามนุษย์คนไหน ที่ปฎิบัติ มีพฤติกรรม อย่างนี้ เป็นทางสู่สรวงสวรรค์ เช่นเดียวกัน ถ้าคนในสังคมปฎิบัติตามกฎหมาย กติกาข้อบังคับต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ในปัจจุบัน ตามแนวคิดอุดมกาณ์ ของนักการเมือง ของคนที่ตั้งใจเสนอร่างออกมา ซึ่งมุ่งหวังให้เกิดความสงบสุข ของผู้คนของสังคม ในด้านต่างๆนั้น รับรองได้ว่า เขาคนนั้นกำลังเดินตามแนวคิด อุดมการณ์ ที่นำทางสู่สรวงสวรรค์ ไม่รู้ว่าได้เปรียบเทียบเกินเลยไปหรือเปล่า ลองตามไปดูทางหนทางเดินต่ำสู่นรกอเวจี ต่อไป

            พฤติกรรมเดินทางต่ำสู่นรกอเวจี การที่ได้เห็นคนในสังคมไทย มีวิถีชีวิต มีพฤติกรรม ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า มันเป็นวัฒนธรรม ของคนในสังคมไทย ที่ยอมรับกันได้ ในการทำผิด กฎหมาย กติกาข้อบังคับต่างๆ หรือ อีกนัยยะหนึ่ง คือการไม่ได้ปฎิบัติตามความตั้งใจของกฎหมาย กติกา ข้อบังคับที่เกิดขึ้น ตามเจตนา ตามแนวคิด แนวอุดมการณ์ ที่ดี ในการเดินทางสูงสู่สรวงสวรรค์ แต่เป็นพฤติกรรมเดินทางต่ำสู่นรกอเวจี  มาลองเปรียบเทียนบกันดูดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง ที่มองเห็นได้ง่ายในสังคมไทย และที่นึกออก

            ว่าด้วยกฎหมาย กฎกติกาต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในสังคมไทย   1. การใส่หมวกกันน็อก   2. เด็กที่ยังไม่ทำใบขับขี่ไม่สามารถขับรถต่างๆได้   3.ห้ามขับรถเร็วในเขตชุมชนเกิน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง    4.ห้ามมอเตอร์ไซค์ขับรถขึ้นสะพาน 5. กฎหมายลิขสิทธิ์    6.ห้ามเด็กซื่อเหล้า    7.ห้ามเด็กเล่นเกม    8. กฎหมายควบคุมราคาสินคา          9.ห้ามขายของบนถนน ฟุตบาท ต่างๆ   10.แท็กซี่ต้องรับผู้โดยสารที่เรียกทุกคนปฎิเสธไม่ได้ และอื่นๆๆๆๆๆๆ  นึกไม่ออกแล้ว แต่เข้าใจว่า มีกฎหมาย กติกาข้อบังคับ กฎต่างๆ ที่ออกจากกระทรวงหน่วยงานภาครัฐ  หน่วยงานต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ครอบคุมในทุกๆ ด้านของชีวิต เช่น การเกษตร ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรในด้านต่างๆ กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน กฎหมายจราจรต่างๆ กฎห้ามเด็กต่างๆ ซึ่งถ้าคนที่ปฎิบัติตาม คงทำให้สังคมสงบสุข ดีขึ้นกว่าเดิน และตัวเองกำลังเดินทางสูงสู่สรวงสวรรค์

           แล้วมาดูพฤติกรรม วิถีชีวิต การดำเนินชีวิต วัฒนธรรมปัจจุบันของคนในสังคมไทย ที่ปฎิบัติต่อกฎหมายกติกาข้อบังคับต่างๆ ในลักษณะเปรียบเทียบกันไป กับที่กล่าวมา 10 ข้อเบื้องต้น  1. มีคนไม่ใส่หมวกกันน็อกอยู่เติมไปหมด โดยเพราะการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในละแวกบ้าน แต่พอไปอำเภอ หรือไปตรงช่วงถนนที่รู้ว่ามีตำรวจตั้งด่านอยู่ ถึงจะใส่หมวกกันน็อกไป หรือ หลังเลิกเรียนไปดูได้ สามารถเห็นผู้ปกครอง ที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์มารับลูกๆ ตัวเองได้ใส่หมวกกันน็อกมา แต่เด็กๆ ที่มารับไม่ยอมใส่หมวกกันน็อกให้ สามารถเห็นลักษณะแบบนี้ได้ทั้วไปบนถนน และมีเป็นจำนวนมาก     2. เด็กต่ำกว่า 15 ไม่สามรถทำใบขับขี่ได้  แต่มีเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์เห็นได้ทั้วไปในสังคมโดยเฉพาะในต่างจังหวัด พ่อแม่ใช้ไปซื่อของด้วยมอเตอร์ไซค์ ของทางบ้านเองด้วย    3.ในต่างจังหวัดช่วงถนนที่ผ่านชุมชน ก่อนถึงชุมชนสามารถมองเห็นป้าย เขต ชุมชนขับความเร็วไม่เกิน 40 กิโลเมตร แต่รถที่ขับผ่าน ส่วนใหญ่ขับขี่เกินกันเป็นเรื่องปกติ ซึ่งอุบัติเหตุส่วนใหญ่ ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต เกิดบนบริเวณถนนที่ผ่านกลางชุมชน โดยเฉพาะต่างจังหวัด  4. สามารถมองเห็นป้าย ห้ามมอเตอร์ไซค์ขับขี่ขึ้นสะพานข้ามสี่แยก บนถนนในกรุงเทพ แต่สามารถมองเห็นมอเตอร์ไซค์ขับขี่รถขึ้นสะพาน ตลอดเวลาที่ไม่มีตำรวจตั้งด้านช่วงทางลงสะพาน     5. มองเห็นคนขาย และไปซื่อมีซีดี หนัง เพลงปลอมขาย อยู่ทุกตลาดนัด ยิ่งแถวคลองถม ที่บ้านหม้อ มีเต็มไปหมด ไม่เห็นมีใครไปจับ     6. มองเห็นเด็กอายุไม่ถึงตามที่กฎหมายกำหนด ยังไปซื่อเหล้าได้ พอกินเหล้าเมาแล้ว ไปขับรถเกิดอุบัติเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต มามากมาย  หรือผู้ปกครองเป็นคนใช้ ไปซื่อเหล้าเอง ยังสามารถมองเห็นได้    7. เห็นมีกฎห้ามเด็กเล่นเกม ตามช่วงเวลาตามอายุ ที่กำหนด แต่เห็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ได้ทั้วไปตามร้านอินเตอร์เน็ต ในช่วงดึกๆ ตี  1 ตี 2   8. ราคาสินค่าเห็นบอกหวยขายไม่เกิน 80 บาท แต่ไปดูเห็นได้ทุกร้าน ทั้งร้านอยู่กับที่ มากับจักรยาน เดินมาขายหวย ว่าคนขายราคาอย่างต่ำ 100 บาท 110 120บาทมี และสินค่าอื่นอีกมากมาย ที่ขาดเกินราคา   9. เห็นมีคนขายกล้วยทอด ขายพวงมาลัย ขายอุปกรณ์ต่างๆของรถ ได้อยู่แทบทุกถนน คนซื่อคนขายมีความผิด แต่มีคนซื่อมีคนขายอยู่ทั้วไป เช่นเดียวกัน และการค่าขายบนถนน ข้างถนน บนฟุตบาทอยู่เต็มทั้วแทบทุกถนนไป  10. เห็นได้ประจำเรียกแท็กซี่แล้วคนขับรถไม่ไป โดยเฉพาะแถวมาบุญคลอง เรียกเป็นสิบแต่ไม่มีแท็กซี่ขันไหนไปส่งให้ ยังมี ทั้งหมดเป็นตัวอย่างเพียงสั้นๆ ซึ่งทานคงได้พบเจอ ในอีกหลายรูปแบบ ของการทำผิดกฎหมายกติกา ต่างๆ ใน 10 ข้อ

              ซึ่งความผิดทั้งหมดของคนที่ทำผิด หมายถึงกำลังเดินทางต่ำสู้นรกอเวจี 555 ในความหมาย นัยยะของผู้อธิบาย คงไม่มีใครที่มาอ่านแล้ว รู้ว่าตัวเองได้ทำผิด และคิดว่า กลัวว่าต้องตกนรกอเวจี จริงๆ

              ข้อสังเกตุการอธิบายที่ผ่านมานั้น  ไม่ได้หมายความว่าจริง ที่ว่าคนที่ปฎิบัติตามกฎหมาย เป็นอุดมการณ์เดินทางสูงสู่สรวงสวรรค์ ได้อย่างจริงแท่แน่นอน และ คนที่มีพฤติกรรมทำผิดกฎหมาย กำลังเดินทางต่ำสู่นรกอเวจี     

               แต่เคยได้ยินมาว่า คนที่ไม่ทำผิดศีลห้า ถือศีลห้าที่ว่า 1 ห้ามฆ่าสัตว์ 2 ห้ามลักทรัพย์ 3 ห้ามพูดโกหก    4 ห้ามผิดในกาม  5 ห้ามกินเหล้ายาเสพติดต่างๆ ทำได้แค่นี้ หรือ มากขึ้นกว่าอีกหน่อย คือ ศีล 8 ถ้าทำได้ มีโอกาสติดคุยน้อยมาก หรือ แทบไม่มีเลย

                พระพุทธเจ้า สอนให้มี ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลทำให้มีสมาธิ สมาธิทำให้เกิดปัญญา เมื่อเป็นคนมีปัญญา ชีวิตย่อมมีความสุข เป็นทางสู่พระนิพาน ไปในทางที่ดี หรือ ไปสวรรค์ มีชีวิตแบบเทวดา แต่คนที่ผิดศีล เช่นศีล  ข้อ 5 ห้ามกินเหล้า คนที่ผิดศีล ไปกินเหล้าเมา ขณะเมาคงไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ ปัญญาไม่ดี มีปัญญาน้อย ย่อมใช้ชีวิตไปในทางที่ไม่ดี เป็นทุกข์ เหมือนกับตกนรกเป็นทางเสื่อมทางสู่นรกอเวจี

                 แล้วถ้าศีล คือ กฎข้อบังคับ กติกาของพระ ซึ่งพระที่ปฎิบัติตามศีล เป็นทางเป็นทางสู่มรรคผล ความสุข เป็นสังฆ์กรรมที่ดี เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หรือทางสู่สวรรค์ คงนำมาเปรียบเทียบเหมือนกันได้ว่า กฎหมาย กติกาข้อบังคับ ต่างๆที่คนธรรมดาคิดขึ้นนั้น คิดมาไว้ใช้กับคนธรรมดา คนที่ปฎิบัติตาม ย่อมมีความสุขสงบ เป็นสังคมที่ดี เป็นทางเดินสูงสู่สวรรค์

                    แต่แน่นอนเป็นที่เข้าใจได้ ว่ามนุษย์ แต่ละคนย่อมไม่เท่าเทียมกัน มีสำนึกที่ไม่เท่ากัน มีความรู้ ประสบการณ์ สภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน มันเป็นธรรมชาติ บ้างคนรู้อะไรที่ดี แล้วสามารถปฎิบัติได้เลย บ้างคนรู้ว่าอะไรดี แต่ไม่สามารถปฎิบัติทำตามได้ บ้างคนรู้ว่าไม่ดี แต่ยิ่งคิดทำในสิ่งไม่ดีมากขึ้นกว่าเดิม หรือ บ้างคนไม่รู้ตัวเลย ในสิ่งที่ทำว่าไม่ดีกับคนอื่นไม่ดีต่อสังคม

                เคยได้ยินพระรูปหนึ่ง ท่านสอนว่า เป็นความโง่ของคน เรียกว่าโง่มาเป็นพันปี เพราะพระพุทธเจ้าได้สอนเรื่อง ศีลห้า มาตั้ง 2500 กว่าปี แต่คนไม่ปฎิตาม มีเป็นจำนวนมาก แต่เข้าใจได้ ถ้ามองให้ลึกลงไป ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ยังได้บอกให้เข้าใจว่า คนทุกคนมีกรรมเป็กำเนิด มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นของตัวเอง เพราะ ฉะนั้น ไม่สามารถทำให้มนุษย์ทุกคนเดินทางสูงสู่สรวงสวรรค์ ต้องมีคนที่กำลังเดินทางสู่นรกอเวจีอยู่บ้าง

               ประเด็นที่สังเกตมองเห็นในสังคม มีความรู้สึกว่ามันควรต้องดีกว่านี้ สามารถดีกว่านี้ได้อีก ถ้าผู้ที่เข้าให้อำนาจไป คนที่รับผู้ชอบ หน่วยงานที่รับผิชอบ โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ ทุกหน่วย คนที่ทำงานกินเงิน เลี้ยงชีพด้วยภาษีของคนในสังคม ได้ทำงานตามกฎระเบียบ กติกา ที่ดีๆ มีอยู่แล้ว ในสังคม เพราะมันเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ ของตัวเอง เงินที่เลี้ยงชีพ มาจากเงินภาษีของประชาชนทุกคนในประเทศนี้ ประชาชนที่เสียเงินภาษี ทุกคน คงอยากให้คุณทำหน้าที่ ที่รับผิดชอบให้ดี เช่น กฎหมาย กติกา ที่ยกตัวอย่างมาเป็น 10 อย่าง เบื้องต้นนั้น ถ้าผู้รับผิดชอบ สามารถ บังคับให้คนในสังคมปฎิบัติได้จริง คนในสังคมคงมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

               ท่านหลายคนคงมองเห็นได้รับรู้ได้ว่า บ้านเมืองของเรา มีกฎหมาย มีกติกา มีระเบียบข้อบังคับ อีกมาก ที่ดีๆ มีอยู่แล้ว ซึ่งถ้าทุกคนร่วมกันปฎิบัติ คงทำให้คนที่ปฎิบัติ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมสงบสุข น่าอยู่ แต่ในความเป็นจริง วิถีชีวิตของคนในสังคม ยังดำเนินชีวิต ผิดต่อกฎหมายอีกมาก ที่ไม่สามารถบังคับ ใช่กฎกติกาที่ดี มีอยู่แล้วต่างๆ ได้จริง

              และปัจจุบันภาครัฐ ให้ความสำคัญ ในเรื่องการลดช่องว่างของรายได้ ประชาชน พยายามทำประเทศ    ให้เป็นรัฐสวัสดิการ ท่านคงเคยได้ยินถึงเรื่องปัญหาความเลื่อมล้ำทางรายได้ ที่ว่าในจำนวนรายได้ของประเทศไทยหรือ GDP นั้น มีคนรวยมี 5 % ของประชากรประเทศ แต่มีรายได้ถึง 60 กว่า % ของรายได้ประเทศ คนชั้นกลางมี        30 กว่า % ของประชากรประเทศ  มีรายได้ 30 กว่า % ของรายได้ประเทศ แต่คนจนอีก 60 กว่า % ของประชากรประเทศ  มีรายได้ ไม่ถึง 5 % ของรายได้ประเทศ  อ่านมาจากหนังสื่อพิมพ์ ตัวเลขจำได้ไม่ชัด แต่คงประมาณนี้ จากตัวเลขนี้ สามารถเข้าใจได้ด้วยสำนึก ว่ามีความไม่ยุติธรรมในโครงสร้างของสังคม ไม่ใช่สภาพสังคมที่ดี เป็นสังคม คุณภาพชีวิตของคนที่มีปัญหา

             เคยได้ยิน อาจารย์ ท่านหนึ่ง ได้บอกว่า ประเทศที่มีรู้แบบบริหารแบบรัฐสวัสดิการที่ดี ไม่ค่อยมีปัญหาความเลื่อมล้ำของประชาชน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่สูง ประชาชนในประเทศต้องเป็นชนชั้น กลาง 60 กว่า % ของประชากรประเทศ และมีรายได้ 60 กว่า % เช่นเดียวกันกับของรายได้ประเทศ มีคนรวยประมาณ 20 % ของประชากรประเทศ มีคนจนประมาณ 20 % ของประชากรประเทศ คนรวยและคนจน มีรายได้แต่ละกลุ่มพอๆกัน คือ ประมาณ 20 % ของรายได้ประเทศ  คือ มีสัดส่วนคนชั้นกลาง 60%  คนรวย 20% คนจน 20% ถึงเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศที่ดี และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นประเทศที่สามารถมีรัฐสวัสดิการที่ดี

                อิอิอิ ที่นี้ ถ้าเราเอาประเด็นแนวทางเศรษฐกิจ ของประชาชนในการเป็นรัฐสวัสดิการที่ดี ในเรื่องความเลื่อมล้ำของรายได้ ของจำนวนประชากรในประเทศ มาเปลี่ยบเทียบในเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบ กติกาทางสังคม ที่ดีๆ มีอยู่แล้ว แต่คนไม่ได้ปฎิบัตตาม ถ้าคิดเป็น เปอร์เซนต์ละ จะออกมาเป็นยังไง คงคิดยากน่าดู แต่ขอคิดแบบคาดคะเน ว่าในกฎหมายที่ยกตัวอย่างมาเบื่องต้นนั้น อาจมีคนที่ปฎิบัติตามแค่ 20 % ของประชากรประเทศ คนอีก 60 % ของประชากรประเทศ รู้แต่ไม่ปฎิบัติตาม และคนอีก 10 % ของประชากรประเทศ ไม่รู้ว่าเป็นหมายกฎกติกาข้อบังคับ และต้องมีกลุ่มคนที่เป็นอภิสิทธิ์ชนด้วยอีก 10 % เราทราบกันอยู่แล้ว เพราะ เคยเห็นกับตา รถทหาร ทำผิด ตำรวจไม่เรียกจับ แต่เรียกจับรถคันหลัง ที่ขับตามหลังรถทหารมาติดๆ ซึ่งตำรวจเรียกในความผิดเดียวกัน แล้วตำรวจจับตำรวจด้วยกันเองละ มองเห็นหรือเปล่า คิดว่าน้อยมากๆ เทียบกับตำรวจที่รู้ว่า มีตำรวจทำผิดกฎหมายอยู่ ซึ่งทำให้ตำรวจที่ดีๆ หลายคนคงอยู่ในลักษณะที่รู้ทั้งรู้ แต่ทำอะไรไม่ได้ หรือ มีคำพูดแต่โบราณที่รู้กันว่า คุกมีไว้ขังคนจน คนไม่มีความรู้ คนไม่มีพักพวก  คนไม่มีเงิน

                 สรุปได้ว่า มีกฎหมายเป็นจำนวนมากที่คนไม่ปฎิบัติตาม ซึ่งสามารถมองได้ว่าเป็นความเลื่อมล้ำของประชาชน เป็นช่องว่างของการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ในด้านคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมที่ดี สงบสุข ซึ่งไม่รู้ว่าส่งผลเสียต่อคน ต่อสังคม ต่อประเทศชาติ โดยร่วมมากเท่าไร เพราะ อาจวัดออกมาได้อยาก ไม่ได้มีตัวเลขเหมือนในทางเศรฐกิจ แต่คิดว่าส่งผลต่อสังคม ต่อคน ต่อประเทศชาติมาก ไปในทางที่ไม่มีมากพอสมควร

                    ฉะนั้นถ้าเทียบหลักทางรัฐสวัสดิการที่ดี ในเรื่องรายได้ของประชากร สังคมดีมีคุณภาพ คุณภาพชีวิตดี มีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตดี ต้องมีคนปฎิบัติตามกฎหมาย กติกา ข้อบังคับ ที่เกิดขึ้น มีอยู่แล้ว และดีมากๆด้วย จำนวนคนเท่าไร ถึงเหมาะสมกับสังคมบ้านเรา  ถ้าเทียบกับตัวเลขประชาชนทางรัฐสวัสดิการที่ดี ควรต้อง มีประชาชนในประเทศ ที่ปฎิบัติตามกฎหมาย 60 กว่า % ของประชากรประเทศ คนที่ทำผิดอยู่ หรือ ต้องได้รับตักเตือน หรือ ปรับและรับบทลงโทษ 20 กว่า % ของประชากรประเทศ และมีกลุ่มคนที่ได้รับอภิสิทธิ์อยู่ในสังคม ประมาณ 10 % ของประชากรประเทศ

                          ถ้าตัวเลขเป็นอย่างนี้ ในส่วนของวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตของคนในสังคมไทย ในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฎิบัตตามกฎหมาย กติกา ข้อบังคับต่างๆ ตัวบุคคลที่ปฎิบัตตามเอง สังคม และประเทศชาติ คงมีคนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีคุณภาพ สังคมมีความสงบสุข ประเทศชาติเจริญรุ่งเรื่อง ปัญหาทุกด้านๆ ของคน สังคม คงน้อยกว่าในปัจจุบัน

                           คิดว่าของสังเกตนี้ เป็นประเด็นปัญหาหนึ่งที่ภาครัฐ ต้องให้ความสำคัญด้วย เช่นเดียวกับการที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับปัญหาเศรษฐกิจ ความเลื่อมล้ำเรื่องรายได้ ต้องการลดช่องว่างทางรายได้ ลดความเลื่อมล้ำทางสังคม  เพราะคิดว่าการลดช่องว่าง ความเลื่อมล้ำ ของวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ในเรื่องของกฎหมาย ทำให้คนในสังคมต้องปฎิบัติตามกฎหมาย กติกา ของบังคับต่างๆนั้น การทำให้มีผู้คนในสังคมปฎิบัติตาม อย่างเดียวกับ ตัวเลขของรัฐสวัสดิการที่ดี ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันได้คิดแนวทางดำเนินการ ตัวอย่างเช่น รัฐสวัสดิการที่ดี มีคนชั้นกลาง 60 % ประชากรประเทศ คนรวย 20 % ประชากรประเทศ และ คนจน 20 % ประชากรประเทศ  เช่นเดียวกัน ควรมีคน 60 กว่า % ที่ปฎิบัติตามกฎหมาย 20 กว่า % ที่ทำผิด ต้องพัฒนาตัวเอง ปรับปรุงแก้ไข หรือ ได้รับการตักเตือน ปรับหรือ รับโทษ 10 กว่า % ที่อยู่ในระบบอภิสิทธิ์ชน ซึ่งคงต้องมีอยู่   

                      ถ้าทำได้ทำให้คนปฎิบัติตามกฎหมาย กติกาข้อบังคับต่างๆ ที่ดีๆ มีอยู่แล้ว ได้ ตามตัวเลขที่ยกตัวอย่างมา คิดว่าคงช่วยปัญหา สังคม ปัญหาคน  และ คนในสังคม คงมีคุณภาพชีวิตดีมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน ประเทศชาติคงเจริญมากกว่า ถนนอาจจะสร้างด้วยทอง ตามคำของนักการเมืองที่กล่าวไว้ในอดีต

                           ประเด็นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ตำรวจ คนทำงานภาครัฐ และหน่อยงานที่รับผิดชอบต่างๆ เป็นส่วนสำคัญ ที่ต้องทำให้คนปฎิบัติตาม เพราะ มีอำนาจ ตามกฎหมาย กติกา ข้อบังคับต่างๆ อยู่แล้ว อย่างตำรวจมีอาวุธ ในการจับผู้กระทำผิด มีค่าปรับ มีบทลงโทษ ต่างๆ แต่ผู้มีหน้าที่ควบคุมกฎ กติกา ต่างๆ กับไม่ทำหน้าที่ ให้ดี เพราะไม่สามารถโทษประชาชนได้ สำนึกแต่ละคนไม่เหมือนกันไม่เท่ากัน

                       คนที่รู้และปฎิบัติตาม คงเหมือนกับหัวเรื่องที่ตั้งไว้ คือ อุดมการณ์เดินทางสู่สรวงสวรรค์ แต่คนที่รู้ และไม่ปฎิบัติตาม คงเหมือน เดินทางต่ำสู่นรกอเวจี

                    แต่คนที่มีหน้าที่รักษาควบคุม กฎหมาย กฎกติกา ข้อบังคับต่างๆ ไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ต้องตกนรกอเวจี ไปขุมไหน สงสัยขุม 8 ซึ่งเป็นขุมสุดท้าย การไม่ทำหน้าที่ ความรับผิดชอบของตัวเองในปัจจุบัน การไม่รักษากฎระเบียบ เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้คนในสังคม ทำให้สังคม มีปัญหา ไม่มีคุณภาพ สับสน ไม่มีระเบียบวินัย วุ่นวาย 

               ทั้งหมดของประเด็นที่ทำให้เกิด บทความนี้ คือ การที่รับทราบเห็นสภาพแวดล้อม ของสังคมของวิถีชีวิตคนในสังคมบ้านเมืองเรา มาว่ามีกฎหมาย กติกา ต่างๆ ดีๆ มีอยู่แล้ว มาก ที่เห็นได้ชัดใน 10 ข้อที่ยกตัวอย่างมา ซึ่งถ้าไปศึกษาอย่างจริงจัง คงมีเป็น 100 ขึ้นไป ที่คนไม่ปฎิบัตตาม ที่น่าแปลกใจคือ ผู้รับผิดชอบควบคุมบังคับให้ประชาชนปฎิบัติตามกฎหมาย ทำเหมือนไม่มีอะไร เป็นปกติ เหมือน คือ วัฒธรรมในการดำเนินชีวิต ธรรมดาทั้วไป

               จึงทำให้คิดว่า พฤติกรรม วิถีชีวิตของคนในสังคมบ้านเรา มีช่องว่าง มีระยะห่าง ในวัฒนธรรม เรื่องการดำเนินชีวิตจริงในสังคมปัจจุบัน ที่ไม่ดี ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กติกาต่างๆ ที่มีอยู่ เทียบกับ การมีวิถีชีวิตพฤติกรรม  มีคุณภาพชีวิตที่ดี การดำเนินชีวิตที่ดี ของการปฎิบัติตามกฎหมาย กติกา ต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ที่ดี ตามกฎหมายอยู่สูง เรียกตามหัวเรื่อง เลยว่า อุดมการณ์เดินทางสูงสู้สรวงสวรรค์ – พฤติกรรมเดินทางต่ำสู่นรกอเวจี            

            และคิดว่าสภาพปัญหาที่ได้สังเกตนี้ มีผลต่อสังคม ต่อประชาชน ต่อการพัฒนาประเทศ อยู่ในแทบทุกเรื่องในหลายๆด้าน อยู่ในทุกชนชั้น  ถ้าคิดเป็นตัวเลขความเสียหายแบบทางเศรษฐิจ ในแต่ละปีกับเงินที่ประเทศเสียไปกับ การไม่ปฎิบัติตาม กฎ กติกา ที่มีอยู่ของคนในสังคม การไม่บังคับใช้กฎกติกา ที่มีอยู่แล้ว ของผู้รับผิดชอบ คงเป็นเงิน ประมาณ  5 แสนล้านบาท  ไม่รู้ว่ามากหรือน้อยกว่านี้ มั่วนะครับ 555

                                                                             กลาง     ธรรมชาติ

                                                                              23 / ส.ค. 2553

วาทะ สอนชีวิต จิตใจที่ยิ่งใหญ่วิพากย์วิจารณ์ความคิด จิตใจสามัญวิพากวิจารณ์เหตุการณ์ แต่จิตใจที่ต่ำต้อยนั้นวิจารณ์เพียงผู้คน Anonymous

หมายเลขบันทึก: 387801เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2010 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท