คนจน กับ ปัญหาการรักษาพยาบาล


คนจน กับ ปัญหาการรักษาพยาบาล

คนจน กับ ปัญหาการรักษาพยาบาล

                  ในช่วง ปัจจุบัน ข่าว พรบ คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ กำลัง เป็นที่พูดคุยในสังคม มีการเชิญผู้ที่สนับสนุน และ ไม่เห็นด้วย มาออกข่าวแสดงความคิดเห็น กันทางทีวีแทบทุกช่อง แต่โดยส่วนตัว คิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ เห็นด้วย กับการออก พรบ คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์

                  แต่มีปัญหาที่พบอยากสะท้อน ในเรื่องของการรักษาพยาบาลของคนจน ที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ขอยก ตัวอย่าง ที่ 1 ตัวเองตั้งแต่ในวัยเด็ก เวลาไม่สบายเจ็บป่วย แม่พาไปรักษา พาไปหาแพทย์ที่คลีนิก ในตอนนั้นรู้สึก ว่าค่ารักษาพยาบาล แพงมาก แม่ไม่ได้พาไปที่ศูนย์สาธารณะสุข หรือ โรงพยาบาลของรัฐ  น้อยครั้งจริงๆ ที่เวลาไม่สบายแล้วไปโรงพยาบาลของรัฐ และคนแถวบ้านในระแวกชุมชน ส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมในการรัษาพยาบาลเช่นเดียวกัน  สภาพแวดล้อมของชุมชนที่พักเป็นชานเมืองกรุงเทพ

                   ตัวอย่างที่ 2  เป็นเรื่องของบ้านผู้สาว ที่อยู่ จังหวัด ยโสธร อำเภอ เล็กๆ หมู่บ้านเล็กๆที่เวลาคน เจ็บป่วย โดยเฉพาะเด็กๆ ค่านิยมของชาวบ้านส่วนใหญ่ พาผู้ป่วย ไปรักษา โรงพยาบาลเอกชน คลีนิกเอกชน ในตัวจังหวัด และเคยได้รับรู้มาว่าหลายครอบครัว พาคนป่วยไปรักษาพยาบาลโรงพยาบาล เอกชน คลีนิก เอกชน นั้น ต้อง เสียค่า ใช่จ่ายสูง บ้างคน ต้อง ขายวัว หรือ ควาย หรือไป ยืม เงิน ญาติพี่น้อง เพื่อไปเสียเงินค่ารักษาพยาบาล  เงินค่ารักษาพยาบาล ที่ต้องเสียไปนั้น ถ้าคิดเทียบกับรายได้ ทั้งปี ของบ้างครอบครัว ถือว่าเป็นเงินสูงมาก

                   ตัวอย่างที่ 3  ตอนที่ไปศึกษาชุมชนอยู่บนดอย อยู่ในชุมชน ปากะญอ ที่มีรายได้ต่อปี ของชาวชุมชน อยู่ที่ครอบครัว ละประมาณ 10,000 บาท จากการขาย พริ้ก แต่คน ปากะญอในชุมชน เมื่อเวลาเจ็บป่วย ชอบการเดินทางไปการรักษา ที่คลีนิกของเอกชนในเมือง

                   ตัวอย่างที่ 4 เป็นประสบการณ์จากการทำงาน เก็บข้อมูล เด็กเสียชีวิต ได้พบว่า เมื่อเด็ก ประสบอุบัติเหตุ เป็นเรื่อง ของการจมน้ำ จราจร ทั้งที่ผู้ปกครอง นำส่งโรงพยาบาลเอง หรือ หน่วย กู้ชีพต่างๆ เป็นผู้นำส่ง มักนำส่งในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งเป็นเอกชนเป็นส่วนใหญ่  และ มีผู้ปกครองเด็กที่เสียชีวิต ได้เล่าให้ฟังว่า  ลูกชายจมน้ำ คิดว่ายังไงคงเสียชีวิตแล้ว เพราะจมน้ำไปนานแล้ว แต่พอไปส่งโรงพยาบาลเอกชน แพทย์ได้ทำการรักษา อยู่ไม่นาน สุดท้ายลูกเสียชีวิต ค่ารักษา ที่โรงพยาบาล คิดออกมา เกือบๆ 8 หมื่น บาท พ่อเด็กที่เสียชีวิต ด่าโรงพยาบาลด่าแพทย์ไปทั้วโรงพยาบาลเลย  อีกรายลูกป่วยพาไปรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล เอกชน และลูกได้เสียชีวิตหลังจากที่รักษาไม่นาน โรงพยาบาลเอกชนนั้นสรุป ค่ารักษาพยาบาลออกมา เช่นเดิมมาหลายหมื่นบาท แม่เด็ก ด่าไปทั้วโรงพยาบาลอีกเช่นกัน และให้แหวนทองไปหนึ่งวง ได้เจออีกหลายรายมากโดยเฉพาะ อุบัติเหตุจราจร ที่ผู้ครองต้องเสียเงินค่ารักษา ให้โรงพยาบาล หลายหมื่นบาท จนถึงเป็น แสนทั้งที่ไปรักษาไม่กี่ชั่วโมง และต้องเสียบุตร สาวหรือชาย ไปด้วย ตัวอย่างที่สี่นี้ เขียนได้อีก หัวข้อหนึ่ง

                 ลองมาหาเหตุผล กันดูว่าทำไม ประชาชนคนที่รายได้ไม่สูง ถึงชอบ ไปรักษาพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน คลีนิก จากการสอบถามพบเหตุผลของชาวบ้านต่างๆ ที่ไปสังเกต เป็นเหตุของคนระดับชาวบ้าน                                                                                        1.  สะดวก เพราะสามารถไปได้ทุกเวลา 2. คนไม่มาก รอคิวประมาณ 10 คน สามารถได้รับการตรวจรักษา       3. บริการดี ผู้บริการเอาอกเอาใจ 4. ยาดี ยาแรง หายจากอาการป่วยได้ไว้   ไม่สบายฉีดยาให้ตลอด    

                   และประชาชน ประชาชนคนที่รายได้ไม่สูง ทำไม ไม่ไปรักษาโรงพยาบาลของรัฐ อนามัย ของรัฐ           1.  ต้องไปแต่เช้า ประมาณ 6 โมง ก่อนเจ็ดโมงเช้า เพื่อรับบัตรคิว ถ้าทำฟัน วันละไม่เกิน กี่รายว่าไป ส่วนใหญ่ 20 ราย บัตรคิวหมด อดทำฟัน   2. รอคิวนาน มีคนให้ต้องรอหลายหลายสิบคน   3 พยาบาลดุ แพทย์ดุ ไม่ให้ความสำคัญกับคนไข้เหมือนเอกชน 4. ยาพาราตลอด ให้ยาไม่ดี กินกี่วันไม่เคยหาย  

                  ถ้าสรุปเหตุผลที่ประชาชนคนจน ไปรักษาพยาบาล โรงพยาบาลเอกชน คลีนิก เพราะ สะดวก รวดเร็ว บริการดี และยาดี กว่าภาครัฐ แค่นั้น

                  ซึ่งบ้างอย่างนั้น เป็นทัศนคติ เป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ควรต้องปรับเปลี่ยนค่านิยม พฤติกรรมนี้ เช่น ในเรื่อง การบริการ ภาคเอกชนไม่น่าดีกว่าภาครัฐมากนัก ที่สำคัญ เรื่องยา น่าจะหายเหมือนกัน แต่อาจช้าหน่อย ทำให้ชาวบ้านมองว่าไม่หาย ไม่ทันใจ

                   แต่ที่สำคัญ เรื่องนี้ เป็นประเด็นที่คิดว่ามีปัญหามาก กว่า พรบ คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ ด้วย แต่อาจเป็นปัญหา ในเรื่องทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง หรือ ต้องพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลของกลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อย  จากตัวอย่างที่ยกมาเบื้องต้น เห็นได้ชัด ที่คน ปากะญอ ไปหาหมอคลีนิก เสีย อย่างน้อย 300 – 400 ร้อยบาท หรือถ้าเป็นหนัก เป็น พันบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มาก เมื่อเทียบกับรายได้ต่อปี หรือคนที่บ้านผู้สาวจังหวัด ยโสธร ที่ไปหาหมอ โรงพยาบาลเอกชน หรือ คลีนิก เอกชน ต้องเสียเงินหลาย พัน บาท เป็นรายได้จำนวนมาก เมื่อเทียบกับรายได้ต่อปี หรือ คนที่ต้องไปยืมเงิน กู้เงินหลายหมื่นบาท หลายแสนบาท มาเสียค่ารักษาพยาบาลลูกๆ ที่เสียชีวิต จากการนำลูกไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน

                   มีคนเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวเมือง คนต่างจังหวัก และชาวเขา ชาวดอย ที่แม้มีระบบประกันสุขภาพ ต่างๆ บัตรทอง ประกันสังคม หรือ คนที่ไม่มีเลย ยังไม่ไปรักษาโรงพยาบาลของรัฐ ศูนย์ อนามัยของรัฐ แต่กับไปหาหมอ ที่โรงพยาบาล เอกชน คลีนิกเอกชน ซึ่ง เสียค่าใช่จ่าย เป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับรายได้ต่อปี คือ ถ้าไม่สบายใหญ่หนึ่งครั้ง ต้องอด ประหยัดเงินไปเป็นเดือน หรือ หลายเดือน ที่เดียว

                   มันเป็นความไม่สมดุล สมเหตุสมผล ของคุณภาพชีวิตในเรื่อง สุขภาพ ของประชาชน ที่มีรายได้น้อย ในการเสียเงินรักษาพยาบาล ที่สูง ที่เป็นเพราะมีทัศนคติ ค่านิยม ส่วนบุคลที่ไม่ถูกต้อง หรือ เป็นที่ระบบ การรักษาสุขภาพ ที่ยังไม่เป็นที่พึ่งพอใจของประชาชนคนกลุ่มนี้

                    ซึ่งมันเป็นหน้าที่สำคัญ ของภาครัฐ คนทำงานทางสาธารณะสุข ที่อย่างน้อยต้องปรับทัศนคติ ค่านิยม ที่ไม่ถูก ของประชาชน กลุ่มนี้ และพัฒนาระบบ ให้ดีขึ้น เพื่อ เกิดความสมดุล ของรายได้ของประชาชนที่ไม่มาก กับค่ารักษาพยาบาลที่ถูกลง และควรสถานพยาบาลของรัฐ ไม่เป็นเอกชน

D.Kaye
วาทะชีวิตเหมือนภาพเขียนขนาดใหญ่และคุณควรจะใช้สีทั้งหมดที่คุณมีสร้างสรรค์มันขึ้นมา

                                                                                                                                                                           กลาง   ธรรมชาติ

                                                                        24  ส.ค. 2553

หมายเลขบันทึก: 387799เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2010 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท