การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ และการพัฒนาตนเองของโรงพยาบาลกระสัง


             โรงพยาบาลกระสัง เป็น CUP ชนบท ที่ได้พัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิมาเป็นเวลา กว่า 10 ปี ตั้งแต่พ.ศ.2544 ถึงปัจจุบัน ภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้สถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชนเป็นสถานบริการปฐมภูมิ  “ใกล้บ้าน  ใกล้ใจ” สามารถขยายระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิได้มาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ ใกล้บ้าน  ใกล้ใจ มากที่สุด   ทั้งนี้ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ความต้องการพึ่งพาระบบบริการสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามจำนวนและโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป   แม้ว่าการมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดในด้านศักยภาพบุคลากร   สถานที่    งบประมาณ  และกลไกการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพียงประชาชนจำนวนมากยังคงเดินทางไปใช้บริการที่โรงพยาบาลกระสัง หรือโรงพยาบาลในเขตเมือง  ทำให้เกิดความแออัดในการให้บริการรักษาพยาบาล  และเป็นภาระอย่างมากต่อประชาชนทั้งค่าเดินทางและเวลาที่สูญเสียไปกับความพยายามเข้าถึงระบบสุขภาพ  ทั้งที่ปัญหาสุขภาพเหล่านั้นส่วนใหญ่สามารถจัดการได้ในระดับสถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน 

        อำเภอกระสัง มีโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง  1 แห่ง   มีสำนักงานสาธารณสุข  1 แห่ง   สถานีอนามัย  17  แห่ง  จำนวนประชากรที่รับผิดชอบ  108,884  คน   ชาย 54,155 คน  หญิง  54,729 คน  มี 11 ตำบล   168 หมู่บ้าน 19,9916 หลังคาเรือน  6  เทศบาล     8 อบต.   มีบุคลากรสาธารณสุขเฉลี่ย 2.52 คน ในจำนวนนี้มีเพียง 7 แห่ง ที่มีพยาบาลวิชาชีพประจำ   

          ขณะที่สถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน 9 แห่ง ต้องดูแลประชากรมากกว่า  5,000 คน  แต่โครงสร้างระบบสุขภาพยังผลิตกำลังคนได้ไม่เพียงพอและมีปัญหาในระบบการจ้างงานที่เป็นอุปสรรคในการจัดหากำลังคนที่พียงพอต่อการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ข้อจำกัดมากมาย แต่ โรงพยาบาลกระสัง ก็พยายามปรับวิธีการ กระบวนการ ตามเหตุปัจจัย และนโยบายเสมอมา  ดังจะได้เล่า ลำดับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องดังนี้

บุคลากรในโรงพยาบาล

แพทย์ประจำ 3  คน       แพทย์หมุนเวียน 3  คน        ทันตแพทย์                                 3   คน

เภสัชกร                                     4   คน                   พยาบาลวิชาชีพ                         47  คน

นวก/นักจัดการ /จพ.                  16 คน                      พยาบาลเทคนิค                            2 คน

ลูกจ้างประจำ                              15 คน                    ลูกจ้างชั่วคราว                            90 คน

                 รวม  183 คน

บุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

นักวิชาการสาธารณสุข                  23  คน                   พยาบาลวิชาชีพ         11  คน

 เจ้าพนักงานสาธารณสุข               10   คน                  จพ.ทันตสาธารณสุข     1   คน

 ลูกจ้างประจำ                                  4   คน                พสอ.                     18   คน

 พนักงานบันทึกข้อมูล                   17  คน                                รวม  84  คน

 อัตรากำลังที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพประชากรที่ได้มาตรฐานบริการปฐมภูมิ   คือ  แพทย์  1: 10000          พยาบาล     1: 5000   ข้อเท็จจริงก็คือ แพทย์  พยาบาลต้องทำงานในอัตราส่วนมากขึ้น 2-3 เท่า  คือ  แพทย์  1: 36200   พยาบาล     1: 9898  เห็นได้ว่า ภารกิจและอัตราส่วนกำลังคนด้านสาธารณสุขค่อนข้างวิกฤติ  แต่การทำงานและการพัฒนาระบบก็ต้องดำเนินต่อไป เมื่อเทียบกับความถี่ในการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนที่ปรากฏ

                      สำหรับวิวัฒนาการการพัฒนาและความพยายามหาทางออกเรื่องอัตรากำลังและวิธีการทำงานนั้น เป็นความเฉพาะและแตกต่างของผู้บริหารแต่ละคน   วัฒนธรรมองค์กร  บุคลากร  และบริบทอื่นๆมากมาย

ตาราง สรุปกิจกรรม และโครงการที่เกี่ยวข้องในการพัฒนางานระบบบริการปฐมภูมิ อำเภอกระสัง  จังหวัดบุรีรัมย์

ปี

กิจกรรมสำคัญ

โครงการที่เกี่ยวข้อง

2544

การกระจายพยาบาลสู่ชุมชน มีพยาบาลทุนจบ

โครงการพยาบาลวิชาชีพเพื่อชาวชนบท   1 อำเภอ 1 ทุน

 

ใหม่ 1คน ไปประจำที่ สถานีอนามัยสองชั้น

 

 

 

 

2545

1.เริ่มกระจายคนไข้เรื้อรังไปรับยาที่สถานีอนามัย

1.โครงการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน(ศสช.)ในอ.กระสัง

 

3 แห่ง  คือ  สองชั้น บ้านเพชร   ลำดวน   และเปิด

   (เปิด ศสช. 4 แห่ง )

 

 PCUในโรงพยาบาลกระสังเพื่อให้บริการตรวจ

2.โครงการอบรมการปฏิบัติงานศูนย์สุขภาพชุมชน(ศสช.)

 

รักษา ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาล

 

 

2.มีการจัดสรรให้พยาบาลไปอยู่ประจำ

3.โครงการ....รับนศ.ราชัฏบุรีรัมย์ มาฝึกงาน 3 เดือน

 

สถานีอนามัย ทั้ง 3 แห่ง เบิกค่าตอบแทนให้

 คัดเลือกเข้าทำงาน 5 คน  จ้างในตำแหน่ง

 

พยาบาลตามโครงการ

นักวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 

3.พัฒนาศักยภาพ เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่

 

 

ทีมสหวิชาชีพ

 

 

4.มีพยาบาลทุนจบใหม่ 3 คน

 

 

 

 

2546

ขยายพื้นที่ อีก 2 ตำบล คือ หนองเต็ง

1.โครงการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนต่อเนื่อง ปี 2546

 

และ กันทรารมย์ มีพยาบาลทุนจบใหม่ 2 คน

 

 

2547

ให้บริการกลุ่มประชาชน ทั้ง5 ตำบล

1.โครงการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนต่อเนื่อง ปี 2547

 

อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กระสัง    ลำดวน

 

 

สองชั้น    หนองเต็ง    กันทรารมย์

 

 

 

 

2548

ขยายพื้นที่ให้บริการตรวจรักษา

1.โครงการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนต่อเนื่อง ปี 2548

 

 ครอบคลุม 11 ตำบล

 นักวิทยาศาสตร์สุขภาพลาออก 1 คน เนื่องจากสอบได้

 

 

 ตำแหน่ง นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ  1 คน

รับเพิ่มใหม่ 1 คน

2549

1.ให้บริการตรวจรักษา จ่ายยา โดยทีมสหวิชาชีพ

1.โครงการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนต่อเนื่อง ปี 2549

 

  ลงพื้นที่ 11 ตำบล  อย่างต่อเนื่อง

 

 

2.พัฒนาศักยภาพ  องค์ความรู้ แก่ทีม สหวิชาชีพ 

 

 

โดยจัดห้องเรียนคุณภาพ    การประชุม คปสอ.

 

 

ปี 

กิจกรรมสำคัญ

โครงการที่เกี่ยวข้อง

2550

1.ให้บริการตรวจรักษา  จ่ายยา เยี่ยมบ้านโดยทีม

1.โครงการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนต่อเนื่อง ปี 2550

 

สหวิชาชีพ  ลงพื้นที่ 11 ตำบล  อย่างต่อเนื่อง

 

 

ทุกวัน จันทร์   พุธ  ศุกร์

 

 

2.พัฒนาศักยภาพฟื้นฟูความรู้ แก่ทีมสหวิชาชีพ

 นักวิทยาศาสตร์สุขภาพลาออกเนื่องจากสอบได้ตำแหน่ง

 

โดยจัดห้องเรียนคุณภาพ  การประชุม คปสอ.

 ในระบบองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน

 

ทุกเดือน

 ตำแหน่งเจ้าพนักงานส่งเสริมสุขภาพ

 

3.ส่งพยาบาลเรียนเวชปฏิบัติ

 

 

2551

1.ให้บริการตรวจรักษา  จ่ายยา เยี่ยมบ้าน

1.โครงการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนต่อเนื่อง ปี 2551

 

โดยทีม สหวิชาชีพ  ลงพื้นที่ 11 ตำบล

 

 

อย่างต่อเนื่อง ทุกวัน จันทร์   พุธ  ศุกร์

 นักวิทยาศาสตร์สุขภาพลาออกเนื่องจากย้ายที่ทำงาน

 

2.พัฒนาศักยภาพ  องค์ความรู้ แก่ทีม

 ในตำแหน่งนักวิชาการสุขศึกษา รพ.สนม

 

งาน สหวิชาชีพ  โดยห้องเรียนคุณภาพ

 รับเพิ่ม 1 คน

 

การประชุม คปสอ.

 

 

3.ส่งพยาบาลเรียนเวชปฏิบัติ

 

 

 

 

2552

1.ให้บริการตรวจรักษา  จ่ายยา เยี่ยมบ้าน

1.โครงการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนต่อเนื่อง ปี 2552

 

โดยทีม สหวิชาชีพ  ลงพื้นที่ 11 ตำบล

2.โครงการพัฒนาองค์ความรู้ก้าวสู่คุณภาพการดูแลผู้ป่วย

 

อย่างต่อเนื่อง ทุกวัน จันทร์   พุธ  ศุกร์

โรคเรื้อรัง

 

2.พัฒนาศักยภาพ  องค์ความรู้ แก่ทีม

3.โครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรเพื่อพัฒนาหน่วย

 

งาน สหวิชาชีพ  โดยห้องเรียนคุณภาพ

บริการปฐมภูมิให้ได้มาตรฐานฯ (ดูงาน รพ. หล่มสัก)

 

การประชุม คปสอ.

4.โครงการจัดหาและกระจายบุคลากรสาธารณสุขเพื่อ

 

3.ส่งพยาบาลเรียนเวชปฏิบัติ

พัฒนาศักยภาพหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่าย อ.กระสัง

 

 

5.โครงการพัฒนาระบบการป้องกันการติดเชื้อในหน่วย

 

 

บริการปฐมภูมิ อ.กระสัง ปี 2552

 

 

 

 

จากปี 2545 ถึง 2552  บุคลากรมีการเปลี่ยนแปลงทั้งลาออก และย้าย   จำเป็นที่จะต้องค้นหา คัดสรรคนใหม่ทดแทน จึงเป็นโจทย์ให้ได้เรียนรู้เรื่องการพัฒนากำลังคนมากขึ้น  กำลังคนต้องแลกด้วยเวลา งบประมาณ  และอาศัยประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ   ต้องฝึกประสบการณ์ ในการสร้างคน ให้ได้คนตรงกับงาน งานเหมาะสมกับคน  รอยต่อการเปลี่ยนแปลง ทำให้ต้องหันมาทบทวนการลงทุน และสร้างหลักสูตรในการพัฒนากำลังคน  อย่างต่อเนื่อง

 

จึงได้มาเป็นรูปแบบของการทำงาน บริการปฐมภูมิ  ปี 2553  ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

ปี

กิจกรรมสำคัญ

โครงการที่เกี่ยวข้อง

2553

1.ให้บริการตรวจรักษา  จ่ายยา เยี่ยมบ้าน

1.โครงการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนต่อเนื่อง ปี 2553

 

โดยทีม สหวิชาชีพ  ลงพื้นที่ 11 ตำบล

2.โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุขชุมชน

 

อย่างต่อเนื่อง ทุกวัน จันทร์   พุธ  ศุกร์

3.โครงการพัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ โดย

 

2.พัฒนาศักยภาพ  องค์ความรู้ แก่ทีม

เครือข่ายนักพัฒนาสุขภาพชุมชน อ.กระสัง  ปี 2553

 

งาน สหวิชาชีพ  โดยห้องเรียนคุณภาพ

4.โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับบุคลากรสาธารณสุข

 

3.ส่งพยาบาลเรียนเวชปฏิบัติเพิ่มเติม

โดย เครือข่ายบริการปฐมภูมิ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ 2553

 

4.ส่งพยาบาลทำงานประจำที่พื้นที่ตำบล

5.โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อติดตามความก้าวหน้า

 

เป้าหมาย คือ เมืองไผ่   ลำดวน  สองชั้น

การพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

 

หนองเต็ง  เชื่อมต่องานกับ อปท.ในพื้นที่

6.โครงการการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง

 

ออกปฏิบัติงานคู่นักพัฒนาสุขภาพชุมชน

โดยทีมสนับสนุนการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

 

5.เปิดโอกาสให้แต่ละพื้นที่ดำเนินการ

7.โครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดบริการปฐมภูมิของ

 

ตามบริบทที่แตกต่าง และ ความสะดวก

หน่วยบริการประจำ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์  งบ สปสช.

 

ของผู้ปฏิบัติงาน

 

 

 6.เพิ่มบุคลากรในตำแหน่งนักพัฒนา

 

 

 สุขภาพชุมชน สัญญาในโครงการ 1 ปี

 

 

 จำนวน 7 คน

 

 

 กลวิธีการดำเนินงาน/กิจกรรม

  • Ø พัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายและการพัฒนาศักยภาพDMT (District Management Team)  โดยใช้การจัดการความรู้(KM)  ให้มีกลไกระดับอำเภอที่จะเป็นพี่เลี้ยงเพื่อทำหน้าที่ในการบริหาร  ประสานงาน สนับสนุนการดำเนินการและกำกับดูแลความก้าวหน้าของแผนพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ  รวมทั้งแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ
  • Ø พัฒนาระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ข้อมูล ระบบนัดหมาย ช่องทางด่วน ระบบให้คำปรึกษา (Referral system and consultation) ให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลและสถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน ให้บริการสุขภาพมีความต่อเนื่อง
  • Ø ระบบการพัฒนาและเสริมศักยภาพบุคลากร ผ่าน เกณฑ์ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิ

                  -จัดหาและกระจายบุคลากรสาธารณสุขจากโรงพยาบาล  เพื่อพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น พยาบาลวิชาชีพ  นักกายภาพบำบัด 

                    -จัดหาบุคลากรเพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิโดยเครือข่ายนักพัฒนาสุขภาพชุมชน  มาเสริมศักยภาพPCU เน้นการปฏิบัติงานเชิงรุก  เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

                 - จัดหาแกนนำในชุมชนเพื่อพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ   โดยพัฒนาศักยภาพอสม./ประชาชน ให้เป็นแนวร่วมในการดูแลสุขภาพ/เป็นต้นแบบในการดูแลสุขภาพตามวิถีชุมชน  ร่วมปฏิบัติงานกับนักพัฒนาสุขภาพชุมชน และจนท.หน่วยบริการปฐมภูมิ

          - พัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งในระดับบุคคล  กลุ่ม และเครือข่าย  ทั้งด้านวิชาการ และงานบริการ

  • สนับสนุนนวัตกรรมในการทำงาน  เช่น บริการเชิงรุกในการดูแลสุขภาพ  การใช้บ้านเป็นเรือนผู้ป่วย(Home ward)
  • Ø สร้างการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งขององค์กรชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  สนับสนุนให้การบริหารงาน “กองทุนตำบล”  เชื่อมโยงกับการทำงานของหน่วยบริการปฐมภูมิ

 

 การประเมินผล/ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

               1. ความครอบคลุม(Coverage) ของบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานเพื่มมากขึ้น  เช่น การให้ภูมิคุ้มกันโรค  การฝากครรภ์  การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

                 2. การเข้าถึงบริการสุขภาพ(Access to care ) ของประชาชนในระดับตำบลดีขึ้น  เช่น

                  1) สัดส่วนของผู้รับบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลกระสังลดลงอย่างต่อเนื่อง

                    2) จำนวนผู้ป่วยที่ by pass จากหน่วยบริการปฐมภูมิมาโรงพยาบาลกระสังลดลง

                     1) มีการค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ได้มากขึ้นและเร็วขึ้นและผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอที่หน่วยบริการปฐมภูมิมากขึ้น เช่น เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง โรคเกาท์

                     2) อุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง  เช่น  ความดันโลหิตสูง  เบาหวาน  โรคหัวใจและหลอดเลือด  หอบหืดลดลง

              3.  เกิดเครือข่ายเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่เข้มแข็ง ที่สามารถสนับสนุนให้เกิดกลไกการพัฒนางาน สร้างเสริมสุขภาพภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อ

              4. หน่วยบริการผ่านเกณฑ์ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิ เพิ่มขึ้น

 

                         ขณะนี้ยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล และประเมินผลการดำเนินโครงการ

หมายเลขบันทึก: 387669เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2010 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท