การบริหารแบบคลุมเคลือ


ปล่อยให้มันมั่วๆกันไปสักระยะหนึ่ง เดี๋ยวพอมันสงบ ทุกอย่างก็เป็นระบบระเบียบเอง ผู้บริหาร กำลังใช้วิธีบริหารแบบนี้ใช่หรือไม่

Management by chaos การบริหารโดยใช้ความสับสนคลุมเครือ เป็นเทคนิคการบริหารที่แปลกๆ ที่ วิทยาเขตใหม่ กำลังใช้อยู่ใช่หรือไม่

เราเคยได้ยินแต่เทคนิคการบริหารแบบโกลาหล Chaos management มีตำรากล่าวเรื่องนี้อยู่พอสมควร

ต่อไปนี้ เป็นคำที่มีความหมายคล้าย chaos

disorder, confusion, bedlam, anarchy, pandemonium, commotion, disarray, turmoil, madness, mess, unruliness

"From the dawn of science until just a few years ago the phenomenon of chaos was largely unknown. Now chaos is seen everywhere. Is chaos the exception or the rule?"  From Popular Lectures by J. C. Sprott

 

นาย Sprott สงสัยว่า เทคนิคการบริหารนี้ เป็น-มีกฎอยู่ หรือว่ามันเป็นเทคนิคที่ให้ยกเว้นกฎ ตีความตามอันหลัง คุณคิดอย่างไรถ้าผมจะบอกว่า ปล่อยให้มันมั่วๆกันไปสักระยะหนึ่ง เดี๋ยวพอมันสงบ ทุกอย่างก็เป็นระบบระเบียบเอง หน่วยงานเกิดใหม่ทั้งหลาย (รวมทั้งหลายหน่วยงานที่ผู้บริหารมีเป้าหมายแบบแฝง) ผู้บริหารกำลังใช้วิธีบริหารแบบนี้ใช่หรือไม่

 

ใครมีประสบการณ์ ช่วยยกตัวอย่างให้ด้วยครับ

 

มีสหายหลายท่านตอบมาว่า

... อันนี้คล้ายหลักการ fuzzy logic หรือเปล่าครับ

...อะกิ๊บคิดว่า Chaos management คือการบริหารความเปลี่ยนแปลงรูปแบบหนึ่งใช่ไหมค๊ะ

...

สวัสดีค่ะ สายฝนขอร่วมยกตัวอย่างด้วยคนนะค่ะ 

วิธีการแบบนี้น่าจะเป็นผู้บริหารใหม่ ที่มาจากหน่วยงานอื่น โดยที่เค้ายังไม่รู้ระบบ ระเบียบ วิธีการการทำงานในหน่วยงานใหม่สักเท่าไหร่ ก็เลยปล่อยให้มันมั่วๆ ไปสักระยะหนึ่ง เพื่อที่จะดูแนวทางการทำงานของแต่ละคนว่าแต่ละคนนั้นคิดอย่างไร แล้วโดยรับฟังความคิดเห็นของทุก ๆ คน ไม่ไปว่ากล่าวตักเตือนใด ๆ ทั้งสิ้น โดยการนำแบบมั่วๆ นั้นเป็นประสบการณ์ในระยะแรก ๆ ใช้มั้ยคะ

เมื่อรู้ แนวทางแล้ว ก็จะนำที่มั่ว ๆ นั้น ไปพัฒนาต่อไปให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น โดยการเริ่มจาก 0 ไปเลื่อย ๆ จนกระทั่งทำให้ผู้บริหารเห็นความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ใช้มั้ยคะ

...

ถ้า management = การทำให้สำเร็จ:-- แสดงว่าทุกการจัดการต้องมีจุดมุ่งหมาย

การจัดการ แบบ "ปล่อยให้มันมั่วๆกันไปสักระยะหนึ่ง เดี๋ยวพอมันสงบ ทุกอย่างก็เป็นระบบระเบียบเอง" จึงน่าจะเหมาะสมอยู่บ้างกับองค์กรที่ไร้ระเบียบ (Chaos) เพราะองค์กรประเภทนี้ ยิ่งจัดระเบียบยิ่งกระเจิง

 

? สิ่งที่น่าจะทำได้ คือ ไม่พยายามจัดการ ประมาณว่า ปล่อยให้สถานการณ์พาไป ?

 

 A system normally has two choices of operational modes: stability or instability. In the stable mode, a disturbance will eventually converge back toward the system’s initial conditions. In the unstable mode, a disturbance will cause a progressive divergence away from initial conditions. Self-organizing systems operate in a third mode - between stability and instability - where optimal system performance can be achieved in a turbulent environment. This transition zone is known as the edge of chaos, "a region of bounded instability" in which there is "unpredictability of specific behavior within a predictable general structure of behavior."

 

ผมเริ่มต้นด้วย การบริหารโดยใช้ความสับสน แต่ดูเหมือนมันจะใกล้เคียงเข้าไปกับการบริหารแบบโกลาหน ในข้อความข้างต้น มีสิ่งที่น่าสนใจมาก คือ Self-organizing systems

 

บ้านเมืองเรายังไม่เป็น Chaos ครับ แม้จะมีบางคนบางกลุ่มพยายาม 

หมายเลขบันทึก: 387659เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2010 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท