วิทยากรอบรมวิชาการ (โรงเรียนไม่ ผ่าน สมศ)


เนื้อแท้ของสังคม

    ช่วงนี้ผมได้มีโอกาศไปเป็นวิทยากรอบรมวิชาการวิชาภาษาไทย  ให้กับหลายโรงเรียนที่  ประเมิน  สมศ.  ไม่ผ่าน ในข้อที่ว่า  นักเรียนไม่ผ่านทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ 

    ผมจึงได้สัมผัสกับนักเรียน ครู และผู้บริหารโรงเรียน  ซึ่งแต่ละโรงเรียนนั้นก็แตกต่างกันอย่างมาก  นี้คือประสบการณ์ที่ดีอย่างยิ่งกับตัวผลและคณะ  ได้เจอกับเนื้อแท้ของสังคม  ได้เจอครูดีๆๆของสังคม  ได้เจอคนที่เป็นครูโดยอาชีพบังคับ 

   กิจกรรมส่วนมากที่พวกผมจัดนั้นจึงต้องสอดคล้องกับทักษะที่โรงเรียนนั้นไม่ผ่าน และต้องจัดกิจกรรมตามที่โรงเรียนต้องการ  ดังนั้นการจัดกิจกรรมของพวกเราเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์  การคิดสร้างสรรค์  การจัดกิจกรรมพยายามที่จะจัดให้ได้ถึงตัวเด็กจริงๆ  โดยการเอาใจใส่ของพี่วิทยากรประจำกลุ่ม 

   ผมได้เห็นถึงคุณภาพของนักเรียน  นักเรียนมีทักษะการที่ดี  มีจินตนากร  แต่ในการพัฒนาทักษะการคิดในแต่ละด้านนั้น  ใช่ว่าจะอมรมเพียว  2  วันจะเห็นผลได้อย่างชัดเจน  แต่ทักษะการคิดนั้นต้องมีการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูต้องเอื้อต่อการคิดของนักเรียน  แล้วใช่ว่าครูจะพูดสั่งว่า  คิดสินักเรียน  ช่วยกันคิดสินักเรียน  คำเหล่านี้ใม่ควรใช้เลยในการสอนทักษะการคิด  ครูต้องใช้คำพูด หรือข้อมูลต่างๆ  ป้อนให้เกิดสังเคราะห์ข้อมูลเกิดทักษะการคิดเกิดกับตัวนัเรียนเอง   ครูควรเอาใจใส่ในความคิดและวิธีคิดของนักเรียน  และค่อยๆ  พัฒนาไปเลื่อยๆ  อย่างต่อเนื่อง  ทักษะการคิดนี้ ครูสามารถที่จะสอดแทรกในช่วงการสอนได้ตลอดเวลา และในขณะเดียวกันนักเรียนจะไมรู้ตัวว่าตัวนักเรียนนั้นเกิดทักษะการคิดกับตัวเองหลอกครับ  แต่การเกิดทักษะการคิดนี้ครูจะรู้ว่านักเรียนเกิดทักษะการคิดมากน้อยเพียงใด

    สิ่งที่พบเจออีกคือ  ขาดครูหรือผู้มีความรู้ในการสอนไม่ตรงสาขา  เช่นครูจบไทย สอนพละ สอนวิทย์ อะไร  ยังเป็นปัญหากับวงการศึกษาอยู่พอสมควร ถามว่า  สอนได้หรือเปล่า  ผมตอบว่าสอนได้แต่ ทักษะย่อยๆ ที่ผู้รู้ควรฝึกเด็กนักเรียนจะได้น้อย ประสบการณ์นั้นจะได้ไม่เต็มที่

    การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูยังเป็นแบบเดิมๆ  ไม่มีการพัฒนาเลยแต่อย่างได  หรือมีการจัดทำแผนหรือสื่อนวัตกรรมการเรียนเพื่อใช้ในการทำตำแหน่งวิชาการ  แต่ไม่ได้เอาแผนนั้นลงมาใช้กับตัวเด็กนักเรียนเลย  ครูบางคนก็ยังทำแผนการเรียนรู้ไม่ได้เลยด้วยซ้ำ 

    ปัญหาของการศึกษาทุกวันนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเด็กนักเรียนที่ขาดทักษะต่างๆ  เรียนไม่เก่ง  แต่ขึ้นอยู่กับครูไม่ขาดการพัฒนาและไม่ยอมรับการพัฒนาและไม่พัฒนาตนเองเพื่อเด็กนักเรียนแต่ยอมรับการพัฒนาตนเองเพื่อการทำตำแหน่งวิชาการ  แต่ผมก็ยังดีใจที่มีครูดีหลายคนที่พัฒนาตนเองอย่างใม่หยุดนิ่งในคำว่า  "ครู"

คำสำคัญ (Tags): #ศิิลปวัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 387644เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2010 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท