เติมเต็มในเวที KM ส่วนกลาง(กอง/สำนัก)


เส้นแบ่งระหว่าง Explicit Knowledge(หลักวิชาซึ่งเป็น Fact )กับ Tait Knowledge (เคล็ดวิชา ซึ่งเป็นFact+Feeling)

                การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM ของกอง/สำนัก เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2549  ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร ชั้น 5 เพื่อเปิดโอกาสให้คณะทำงาน KM ของกอง/สำนักซึ่งได้ลงมือทำ KM มาแล้วประมาณ 4 เดือน  (หลังเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจ  7 มี.ค. 49 ) ได้เรียนรู้การดำเนินงาน KM ของกอง/สำนักอื่นๆ

                 หลังจากได้มีวงเพื่อ share ในช่วงเช้า  ช่วงบ่ายหลังการนำเสนอของกลุ่มต่างๆ ได้รับเกียรติจาก อ.ประพนธ์  ผาสุขยืด ซึ่งได้มานั่งสังเกตการณ์ตั้งแต่เช้าได้ช่วยสะท้อนการดำเนินงาน KM ของส่วนกลางซึ่งผมถือว่าหลาย ๆ คนรู้สึกเหมือนได้เติมเต็มในส่วนที่เรายังไม่ลึกซึ้งพอ ในส่วนของผมสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกชัดเจนมากขึ้น คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KS ) ที่อาจารย์ได้ย้ำให้เห็นเส้นแบ่งระหว่าง Explicit Knowledge(หลักวิชาซึ่งเป็น Fact )กับ Tait Knowledge (เคล็ดวิชา ซึ่งเป็นFact+Feeling)   อาจารย์บอกว่าสิ่งที่เราจะ share กันน่าจะเป็น TK อันเป็นปัญญาจากการปฏิบัติมากกว่าเพราะเป็นสิ่งที่หายาก แต่หลักวิชา (EK ) เป็นสิ่งที่เราหาได้ง่าย เช่น ถ้าเราไปอ่านมา ไปศึกษามาและนำมา share กันจะกลายเป็น Brain Stroming  ซึ่งหาข้อยุติได้ยากและโอกาสเกิดความขัดแย้งสูง อาจารย์ยกตัวอย่างให้เห็นถึงบรรยากาศการแลกเปลี่ยนกันในช่วงเช้า ทำให้ผมเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการ share โดยใช้เทคนิคเรื่องเล่าและผมคิดว่าหลายคนก็มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น โดยดูจากการ AAR ในวงใหญ่ตัวแทนบางกอง/สำนัก บอกว่าจะกลับไปทบทวนกระบวนการ KS  ของหน่วยงานตนเอง ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์และทีมงานของ ส.ค.ส.ด้วยความจริงใจที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ให้คำปรึกษากับกรมส่งเสริมการเกษตรตั้งแต่เริ่มต้นที่ได้พบกันเมื่อตอนต้นปี 2548 จนถึงปัจจุบัน

คำสำคัญ (Tags): #จัดการความรู้
หมายเลขบันทึก: 38754เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2006 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ผมอ่านบันทึกนี้ 3 เที่ยวเพื่อทำความเข้าใจ ตรง KS ทำให้เข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นครับ
  • ขอบคุณมากที่บันทึกเล่าให้ฟัง
แวะมาเยี่ยมครับ
  •  ขอบคุณที่เล่าให้ฟังค่ะ  และขอร่วมแลกเปลี่ยนความคิด
  • มองเห็นภาพตามที่เล่าให้ฟังค่ะ  เพราะกำลังดำเนินการในลักษณะเดียวกันอยู่
  • มีความคิดต่างออกไปว่า เป็นไปได้ไหมที่จะทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกัน  เพราะการศึกษาความรู้ใหม่ก็จำเป็นในการปฏิบัติงาน  ขณะเดียวกันก็ต้องค้นหาองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน/ ในงาน 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท