การวิเคราะห์ศักยภาพอาสาสมัครเกษตรจังหวัดพะเยา


วิสัยทัศน์

การวิเคราะห์สถานการณ์ศักยภาพอาสาสมัครเกษตร

สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา  ได้จัดเวที ให้คณะกรรมการอาสาสมัครเกษตรได้ วิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครเกษตรในการสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรของจังหวัดพะเยา สรุปผลการวิเคราะห์สถานการณ์ศักยภาพอาสาสมัครเกษตรได้ โดยนายสงบ  ยศมูล  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ชำนาญการ  ผู้รับผิดชอบ จัดเวที  ดังนี้

 

จุดแข็งของคณะกรรมการอาสาสมัครเกษตรกร

           1.  การพัฒนาอาสาสมัครเกษตรได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีระเบียบว่าด้วยการบริหารงานอาสาสมัครเกษตร ปี 2548 และแก้ไข ปี 2551  โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้เลี้ยง  ขึ้นทะเบียนอาสาสมัครเกษตรและเกษตรหมู่บ้านครบทุกหน่วยงานกระจายในพื้นที่ครบทุกหมู่บ้าน 

           2.  มีการบริหารงานในรูปคณะกรรมการระดับตำบล  อำเภอ และจังหวัด

           3. สมาชิกสมัคใจเข้าร่วมโครงการและกิจกรรมนำร่องของหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมกลุ่มพัฒนาอาชีพการเกษตรของแต่ละหน่วยงานในพื้นที่

           4.   ได้รับการสนับสนุนกระตุ้นสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานกระทรวงเกษตร     จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้     ฝึกปฏิบัติจริงจากนักวิชาการและนำภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นต้นแบบในการพัฒนาอาชีพ      กำหนดทิศทางและเป้าหมาย    จัดทำแผนตามความต้องการของสมาชิกและเครือข่ายอาชีพ

           5.  มีการประเมินผลความก้าวหน้า   ปัญหาอุปสรรค เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาอาชีพได้อย่างยั่งยืน

 

จุดอ่อนอาสาสมัครเกษตร

         1.  ขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

         2.  ขาดผู้นำและสมาชิกที่มีความรู้และประสบการณ์  ทำให้กิจกรรมไม่ต่อเนื่อง

         3.  สมาชิกขาดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากเกิด

ภัยพิบัติ  สภาพภูมิอากาศ   ราคาปัจจัยการผลิต   ราคาสินค้าเกษตรไม่แน่นอน   ทำให้เยาวชนมีทัศนคติ  ความรู้สึก ว่าคุณค่าของเกษตรกรในการดำรงชีพต่ำกว่าอาชีพอื่น ๆ

         4.   ขาดทุนดำเนินงานกิจกรรมด้านการเกษตรที่ต่อเนื่อง  เนื่องจากสมาชิกมีความยากจน  ไม่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเองและครอบครัว

         5.   ขาดการประชามสัมพันธ์   หน่วยงานอื่นไม่เห็นความสำคัญ  ไม่ให้การสนับสนุนอาสาสมัครเกษตรเท่าที่ควร

 

โอกาสอาสาสมัครเกษตร

         1.  อาสาสมัครเกษตรในจังหวัดพะเยามีหลายหน่วยงานสนับสนุนและกระตุ้นการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานและสร้างเครือข่าย

         2.  ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาให้การสนับสนุนอาสาสมัครเกษตรเสนอแผนงานจากความต้องการของชุมชนด้านการพัฒนาการเกษตร

         3.  บ้างท้องถิ่นมีแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ให้ได้ฝึกปฏิบัติ เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน  กลุ่มเกษตร  กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร  ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ตลาดสินค้าเกษตรสาธิต

         4.  มีภูมิปัญญาทางชีวภาพที่หลากหลายในท้องถิ่น เพื่อปรับใช้ในการพัฒนาอาชีพ

         5. มีสถาบันการศึกษาในพื้นที่ในการสนับสนุนการวิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาการเกษตร   สนับสนุนผลิตสินค้าปลอดภัยให้อาสาสมัครและจัดทำแปลงเรียนรู้ในการฝึกปฏิบัติร่วมกัน

        6.  อาสาสมัครเกษตรได้เข้าร่วมในเวทีจัดทำข้อตกลงการเจรจาการตลาดสินค้าเกษตร เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การค้าเสรี

 

ปัญหาอุปสรรคอาสาสมัครเกษตร

        1.  อาชีพการเกษตรมีข้อจำกัดหลายด้าน เช่น สภาพภูมิอากาศ  สิ่งแวดล้อม 

 ปัจจัยการผลิต และราคาสินค้าเกษตรที่ไม่แน่นอน  ทำให้เยาวชนไม่สนใจจะสืบถอดอาชีพ

        2.  ขาดความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการแบบครบวงจร

        3.  ขาดความรู้ด้านเงื่อนไข   กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ  เช่น  การจดทะเบียนนิติบุคคล   การตลาดการค้าเสรี  

        4.  ขาดการรับข้อมูลข่าวสารด้านการวางแผนการผลิตแบบครบวงจร

        5. ขาดเงินกองทุนพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการองค์กรอย่างต่อเนื่อง

        6. กรมส่งเสริมการเกษตรและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ไม่มีนโยบายชัดเจนในการพัฒนาอาสาสมัครเกษตรกรและยุวเกษตรกรที่ต่อเนื่อง 

        7.  เยาวชนในภาคเกษตรไม่สนใจการทำอาชีพการเกษตร

 

วิสัยทัศน์อาสาสมัครเกษตรจังหวัดพะเยา  

                  ยึดกลุ่มเป็นแกน      ยึดแผนเป็นหลัก 

                  เน้นหลักบริการ     รายงานรวดเร็ว  

                 พัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแบบครบวงจร   เพื่อความให้ยั่งยืน

จัดทำแผนพัฒนาเพิ่มศักยภาพอาสาสมัครเกษตรสู่แผนปฏิบัติการพัฒนา

การเกษตรของจังหวัดพะเยาเพื่อเตรียมตัวสู่การค้าเสรีแบบครบวงจร

  1. แผนจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ
  2. แผนการศึกษาวิจัยร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อจัดการองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ
  3. พัฒนาการผลิตสินค้าพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดพะเยาแบบครบวงจร
  4. ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานสู่ตลาดเสรี
คำสำคัญ (Tags): #วิสัยทัศน์
หมายเลขบันทึก: 387460เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2010 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท