ซอฟต์แวร์ SAP


ลองอ่านดูนะค่ะ

SAP

ความหมายของ SAP  

            SAP คือ โปรแกรมที่ช่วยจัดการสายงานทุกสายงานของธุรกิจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจได้ และผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลสถานะของบริษัทได้

กล่าวโดยสรุป SAP (System Application products) เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจประเภทERP (Enterprise Resource Planning) ของประเทศเยอรมันที่ใช้ควบคุมดูแลทุกสายงานของบริษัท

ความหมายและลักษณะของ ERP
         
ERP (Enterprise Resource Planning) สามารถจัดการ Transaction Cycle ได้หมดดังนี้
- Expenditure
- Conversion
- Revenue
- Financial

            ERP เป็น Software ที่ใช้ในการ Manage ได้ทั้งองค์กร โดยที่มี common Database เก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล ทำให้มีประสิทธิภาพ มีการ Share ข้อมูลสูงสุด โดยแต่ละส่วนสามารถดึงข้อมูลส่วนกลางที่ตัวเองสนใจมาวิเคราะห์ได้ และ สามารถที่จะ Integrate ได้หมดไม่ว่าจะเป็น Marketing Manufacturing Accounting และ Staffing
            ก่อนที่จะมีระบบ ERP  นั้น เดิมในวงการอุตสาหกรรมประมาณช่วงทศวรรษ  1960  ได้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตทางด้านการคำนวณความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต  หรือที่เรียกเป็นทางการว่าระบบ Material  Requirement  Planning  ( MRP )  ก็คือเราจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการในส่วนของวัตถุดิบหรือ  Material  ที่ใช้ในการผลิตเท่านั้น  ต่อมาในช่วงประมาณทศวรรษ  1970   ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นจึงมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตในด้านของเครื่องจักร ( Machine )  และส่วนของเรื่องการเงิน ( Money ) นอกเหนือไปจากส่วนของวัตถุดิบ  ซึ่งเราจะเรียกระบบงานเช่นนี้ว่า  Manufacturing  Resource  Planning  ( MRP  II ) 
            จากจุดนี้เราพอจะมองเห็นภาพคร่าวๆ  ของการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารงานในอุตสาหกรรมได้  ดังที่มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการหลายท่านได้กล่าวไว้ว่า  ระบบ  MRP  นั้นจะเข้ามาช่วยในการจัดการทางด้าน  Material  ส่วนระบบ  MRP II นั้นจะเข้ามาช่วยในการจัดการใน M อีกสองตัวนอกเหนือจาก  Material  ก็คือ Machine  และ Money  ซึ่งระบบ  MRP II  ที่ชื่อ  TIMS ของประเทศนิวซีแลนด์  จะมีเมนูหลักของ Module  3 Modules หลักด้วยกันคือ  Financial Accounting , Distribution  และ  Manufacturing  และใน  Module  ของ Manufacturing  จะมีส่วนของ  MRP  รวมอยู่ด้วย 
            จะเห็นได้ว่าในการนำเอาระบบ  MRP II  เข้ามาช่วยในองค์กรหนึ่งๆ นั้น  จะยังไม่สามารถซัพพอร์ตการทำงานทั้งหมดในองค์กรได้  นี่จึงเป็นที่มาของระบบ ERP  ซึ่งจะรวมเอาส่วนของ M ตัวสุดท้ายก็คือ Manpower เข้าไปไว้ในส่วนของระบบงานที่เรียกตัวเองว่า  ERP  นั่นเอง  ดังนั้นระบบ  ERP จึงเป็นระบบที่ใช้ในการบริหารงานทรัพยากรทั้งหมดในองค์กร ( Enterprise Wide ) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ  ระบบ ERP จะเป็นระบบที่ใช้ในการจัดการ  4 M ซึ่งจะประกอบไปด้วย  Material  ,  Machine  , Money  และ  Manpower  นั่นเอง ดังนั้นถ้าเราเข้าไปดูที่เมนูหลักของระบบ  ERP  เราจะพบว่ามีเมนูของทั้ง  MRP  และ  MRP II  รวมอยู่ด้วยเพราะ  ERP  มีต้นกำเนิดมาจากระบบ  MRP  และ  MRP II นั่นเอง

            ERP จะเน้นให้ทำ Business Reengineering เพื่อปรับปรุงระบบให้เข้ากับ ERP ซึ่งจะแบ่ง Function Area เป็น 4 ส่วนหลักๆ คือ
1. Marketing Sales
2. Production And Materials Management
3. Accounting And Finance
4. Human Resource
แต่ละส่วนจะมี Business Process อยู่ในนั้น ซึ่งจะมีหลาย Business Activity มาประกอบกัน เช่น activity การออก Invoice เป็น Activity แต่ละ Activity จะไปต่อเนื่องกันหลายๆอันออกไปจนกลายเป็น Process ที่เรียกว่า “Computer Order management”  ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับ Functional Area ที่เรียกว่า “Marketing And Sale”  Concept หลักๆของ ERP คือ เอาทุกข้อมูลของแต่ละแผนกมา Integrate กัน เพื่อ Share ข้อมูลกัน

ประวัติของ SAP

images by uppicweb.com

            SAP ก่อตั้งที่ประเทศเยอรมันนี เมื่อปี 1972 (พ.ศ. 2515) สํานักงานใหญอยู่ที่ Walldorf, Germany โดยการรวมตัวกันของอดีตพนักงานบริษัท IBM และเจริญเติบโตจนกลายเป็นบริษัท software ที่ใหญ่เป็นอันดับ5ของโลก มีบริษัทที่มีการใช้ SAP มากกว่า 6,000 บริษัท ใช้มากกว่า 50 ประเทศ ใช้มากกว่า 9,000 site มีส่วนแบ่งในตลาด client/server software กว่า 31% มีผู้ใช้เพิ่ม 50% ต่อปี มียอดขาย SAP R/3 เพิ่มขึ้น 70% ต่อปี

            เป้าหมายธุรกิจในเริ่มแรก เน้นลูกค้าที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Enterprise-scale) แต่ในปัจจุบันได้ขยายธุรกิจไปที่ลูกค้าขนาดเล็กและขนาดกลาง

  • SAP มีการสร้างระบบงานทางด้าน Financial Accounting ที่เป็นลักษณะ Real-time และ Integrate Software
  • ในปีต่อๆมา SAP ได้มีการพัฒนาระบบงานเพิ่มทางด้าน Material Management, Purchasing, Inventory Management และ Inventory Management และ Invoice Verification
  • ในปี 1997 ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อบริษัทเป็น System, Anwendungen, Produkte in der Datenverarbeitung(System Applications, Products in data Processing)และได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่เมือง Walldorf
  • จากนั้น SAPก็ได้พัฒนาระบบงานเพิ่มขึ้น เช่น Assets Accounting เป็นต้น
  • ในปี 1978 SAP ได้เสนอระบบงานที่เป็น Enterprisewide Solution ที่ชื่อว่า SAP/R2 ซึ่งทำงานอยู่บนระบบ Mainframe พร้อมกับเพิ่มระบบงานทางด้าน Cost Accounting
  • ในปี 1992 SAP ได้เสนอระบบงานที่ทำงานภายใต้ Environment ที่เป็น 3 Tier Clien/Server บนระบบ UNIX ที่ชื่อว่า SAP R/3

            ในปพ.ศ. 2532 SAPไดตั้งสํานักงานใหญประจําภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่ประเทศสิงคโปรเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวทางธุรกิจในเอเซียใตและประเทศย่านแปซิฟิก ต่อมาได้ขยายสาขาในภูมิภาคนี้ใน ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนิเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนดฟิลิปปินสและประเทศไทย

            กรกฎาคม พ.ศ. 2546 องคการโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้เลือกใช mySAP Supplier Relationship Management (SRM) เพื่อมาชวยในการจัดซื้อจัดจ้าง และก่อให้เกิด Supplier network ขึ้นมา โดยหวังว่าในที่สุดจะทําใหมีการจัดซื้อจัดจ้างที่รวดเร็วขึ้นและลดต้นทุนในการดําเนินธุรกิจได ซึ่งมีผลต่อ 10 บริษัทที่เป็นคูค้าขององค์การโทรศัพท

            ลูกค้าที่สําคัญของ SAP ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกคือ Singtel, Tata Group of Companies, Siam Cement, Telom Asia, PT Astra, San Miguel, Uniliver, FAW-Volkswagen, Sony Computer Entertainment, 7-Eleven Stores, General Motors, Novartis

ผลิตภัณฑ์ของ SAP

            ระบบ SAP ประกอบด้วย หลาย module ของแต่ละส่วนของการจัดการที่เอามารวมกันและทำงานร่วมกัน เนื่องด้วยตลาดและความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของระบบ มีบริษัท software ที่พยายามสร้างโปรแกรมที่สนับสนุนแต่ละส่วนของธุรกิจ ในขณะที่ SAP พยายามสร้าง software ที่เหมาะสม กับทุกธุรกิจ SAP โดยให้โอกาสเลือกใช้แค่ระบบเดียวแต่สามารถทำงานได้กับทุกส่านของธุรกิจ ทั้งยังสามารถติดตั้ง R/3 application มากกว่า 1 ตัวเป็นการเพิ่มความเร็วในการทำงาน SAPมีหลาย Module มีหน้าที่ที่ต่างกัน แต่ทำงานร่วมกัน เป็นหนึ่งเดียว (แต่ละ Module คือแต่ละส่วนของธุรกิจ) ผลิตภัณฑ์SAPมี 2 กลุ่ม คือ
            1. SAP R/2 ใช้สำหรับเมนเฟรม
            2. SAP R/3 ใช้กับระบบ Client/server
            SAP เป็นบริษัทของ German แต่แยกการทำงานเป็น บริษัทย่อย, หุ้นส่วน, และ พันธมิตรทางธุรกิจทั่วโลก

โมดูลแอพพลิเคชันหลักๆ ในระบบ SAP

โมดูลแอพพลิเคชันหลักๆ ในระบบ SAP

1. FI Financial Accounting หรือโมดูลทางด้านบัญชีการเงิน

2. CO Controlling หรือโมดูลทางด้านบัญชีจัดการหรือบัญชีบริหาร

3. AM Fixed Assets Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการสินทรัพย์ถาวร

4. SD Sale & Distributions หรือโมดูลทางด้านขายและการกระจายสินค้า

5. MM Material Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการวัตถุดิบ

6. PP Production Planning หรือโมดูลทางด้านการวางแผนการผลิต

7. QM Quality Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการด้านคุณภาพ

8. PM Plant Maintenance หรือโมดูลทางด้านการซ่อมบำรุงโรงงาน

9. HR Human Resource หรือโมดูลทางด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล

10. TR Treasury หรือโมดูลทางด้านการบริหารการเงิน

11. WF Workflow หรือโมดูลทางด้าน Flow ของกระบวนการทำงาน

12.  IS Industry Solutions คือส่วนระบบงานธุรกิจเฉพาะ โดยที่ไม่ใช่โมดูลมาตรฐานของระบบ SAP R/3 ซึ่งจะมีทั้งระบบ Aerospace, Automotive, Banking, Chemicals, Consumer Products, Engineering and Construction, Healthcare, Higher
13.  Education and Research, High Tech, Insurance, Media, Mill Products, Oil and Gas, Pharmaceuticals, Public Sector, Retail, Service Provider, Telecommunications, Transportation และ Utilities

ความสามารถในการทำงานของ SAP

SAP ได้ออกแบบมาให้รองรับการดำเนินงานของธุรกิจ หรือหน่วยงาน ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย ง่ายต่อการใช้งาน เช่น
            1. รองรับการจัดทำระบบ Business Intelligence โดยสามารถทำงานกับข้อมูลในระบบ SAP และไม่ใช่ระบบ SAP
            2. การจัดทำเหมืองข้อมูล (Data mining)
            3. การจัดทำคลังข้อมูล (Data Warehouse)
            4. ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM)
            5. Integration Business Planning แล้วส่งต่อข้อมูลไปในระบบ ERP ซึ่งสามารถดูผล ผ่านทางโปรแกรม Web browser หรือ Excel ได้
            6. การทำ Strategic Management, Balance Score Card การติดตามและประเมินผล การดำเนินงานตามตัวชี้วัด (KPI) การวิเคราะห์แนวโน้ม การวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน อดีตและ อนาคตขององค์กร
            7. การออกรายงาน (Report) ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในทุกระดับ ขององค์กร รายงานดังกล่าวสามารถส่งต่อไปยังผู้ใช้งานโดยผ่านทาง E-mail หรือ SMS ได้
            8. สามารถออกแบบซอฟต์แวร์ประยุกต์ซึ่งทำงานผ่านเว็บไซต์ (Web Application Design) ได้
            9. มีแม่แบบ (Template) ของ Module ต่างๆ ที่เป็น Best Practice จำนวนมากเพื่อ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์
            10. การนำซอฟต์แวร์นี้มาใช้งานในองค์กร จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ได้แก่
                        - การมีลูกค้าใหม่ (New Customer)
                        - การรักษาลูกค้าเดิมไว้ได้ (Loyalty)
                        - การบริหารทรัพยากรต่างๆ ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                        - การสร้างระบบการทำงานของซอฟต์แวร์ในองค์กรแบบ Portal

สถาปัตยกรรมของ SAP

       สำหรับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของระบบ SAP R/3 นั้น จะประกอบไปด้วยลำดับชั้นของบริการต่างๆ หรือที่เราเรียกกันว่า Service โดยเราจะพิจารณาส่วนของบริการต่างๆนี้ ในรูปแบบทางด้านซอฟต์แวร์ (Software-oriented Approach) ไม่ใช่ในรูปแบบทางด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware-oriented Approach) ซึ่ง SAP R/3 นี้ จะประกอบไปด้วยส่วนบริการต่างๆ 3 ส่วนด้วยกันคือ

  1. Presentation Service คือบริการในส่วนของรูปแบบหน้าจอ Graphical User Interface หรือ GUI โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการงานในส่วนนี้ เราจะเรียกว่าเป็น Presentation Server สำหรับในส่วนของ Presentation Server นี้จะสามารถทำงานได้ในระบบต่างๆ คือ Windows, Macintosh, OS/2 และ OSF/Motif
  2. Application Service คือบริการในส่วนของการทำงานทางด้าน Application Logic โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการงานในส่วนนี้ เราจะเรียกว่าเป็น Application Server สำหรับในส่วนของ Application Server นี้จะสามารถทำงานได้ในระบบต่างๆ คือ UNIX และ Windows NT
  3. Database Service คือบริการในส่วนของการดูแลข้อมูลในระบบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูล การสำรองข้อมูล และการฟื้นคืนสภาพของข้อมูล (Data Recovery) โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการงานในส่วนนี้ เราจะเรียกว่าเป็น Database Server สำหรับในส่วนของ Database Server นี้จะสามารถที่จะเลือกใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลต่างๆ คือ Oracle, Informix, DB/2, ADABAS D และ Microsoft SQL Server

 

       ในส่วนของ Protocol ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง Server ต่างๆนั้น SAP R/3 จะใช้ TCP/IP เป็น Protocol หลักในการติดต่อสื่อสารกัน โดยที่ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง Presentation Server กับ Application Server นั้น SAP R/3 จะใช้ SAP Presentation Protocol ในลักษณะของ Optimized Protocol ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันนี้จะมีปริมาณที่ไม่มาก คืออยู่ระหว่าง 1 ถึง 2 กิโลไบต์เท่านั้น ดังนั้นในส่วนของการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่อง Presentation Server กับเครื่อง Application Server นั้น สามารถที่จะทำการติดต่อสื่อสารโดยผ่านทาง Wide Area Network (WAN) ได้อย่างสบายๆ โดยอาจจะใช้สื่อที่เป็นสายโทรศัพท์ธรรมดาก็ได้

       และในส่วนของการติดต่อสื่อสารกันระหว่างเครื่อง Application Server กับเครื่อง Database Server นั้น SAP R/3 จะใช้ Remote SQL Protocol ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนกันนั้นจะมีปริมาณข้อมูลที่สูงมากเป็นเมกะไบต์ ดังนั้นในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างเครื่อง Application Server กับเครื่อง Database Server นี้ จะต้องทำการติดต่อสื่อสารกันผ่านทาง Local Area Network (LAN) เท่านั้น

 

การใช้งานระบบ SAP เบื้องต้น
            ในส่วนต่อไปนี้ จะเป็นการแนะนำการใช้งานระบบ SAP เบื้องต้น โดยที่ส่วนของ Desktop ของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีโปรแกรม SAP Logon

images by uppicweb.com

- เมื่อดับเบิ้ลคลิกที่โปรแกรม SAP Logon เราจะได้หน้าจอ

images by uppicweb.com

- ให้คลิกที่ User-Defined… เพื่อทำการเพิ่มระบบที่เราจะทำการ Logon เข้าไปใช้งาน เราจะได้หน้าจอ

images by uppicweb.com

- จากนั้นให้ทำการระบุรายละเอียดของระบบ SAP ที่เราต้องการ Logon เข้าไปทำงาน โดยที่ส่วนของ Description ให้ใส่ค่าอะไรก็ได้ที่จะให้ปรากฏอยู่ที่ส่วนของ SAP Logon ในที่นี้คือค่า SAP R/3  Enterprise : TRN ที่ส่วนของ Application Server ให้ระบุค่า IP Address ของ SAP Application Server ในที่นี้คือค่า 161.200.64.7 และท่ส่วน System ID ให้ระบุค่า SID ของระบบ SAP ในที่นี้คือ TRN และส่วนสุดท้ายคือค่า System Number ของ SAP Application Server ในที่นี้คือค่า 00 จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Add เราจะได้หน้าจอ

images by uppicweb.com

- จากนั้นถ้าเราต้องการ Logon เข้าไปใช้งานระบบ SAP ให้เลือกระบบที่เราต้องการ Logon เข้าไปทำงาน จากนั้นคลิก Logon เราจะได้หน้าจอ

images by uppicweb.com

- ที่ส่วนของ Client ให้ระบุค่า Client ที่ต้องการเข้าไปทำงาน ในที่นี้คือค่า 800 ที่ส่วน User ให้ระบุค่า User ID ในระบบ SAP และใส่ค่า Password จากนั้นกด Enter เราจะได้หน้าจอ

images by uppicweb.com

- ถ้าในกรณีที่ User คนนี้ มีการ Logon เข้าไปใช้ระบบ SAP แล้ว ระบบจะแสดง Dialog Box เตือนว่า มีการ Logon เข้าไปแล้วโดย User ที่ชื่อ student นี้ ถ้าเราต้องการ Logon เข้าไปใช้งานด้วย โดยที่ User ที่ทำการ Logon ก่อนหน้านี้ที่ชื่อ student ก็ยังคงอยู่ในระบบ ก็ให้เลือกรายการที่สอง ก็คือ Continue with this logon, without ending any other logons in system … แต่ถ้าเราต้องการ Logon เข้าไปใช้งาน และต้องการให้คนที่ใช้ User ที่ชื่อ student ที่ทำการ Logon เข้าไปใช้งานก่อนหน้านี้ ออกจากระบบไป(ระบบจะทำการ Terminate ออกไปจากระบบ) ก็ให้เลือกรายการที่หนึ่ง ก็คือ Continue with this logon and end any other logons in system … แต่ถ้าเราไม่ต้องการ Logon เข้าไปใช้งาน ก็ให้เลือกรายการสุดท้ายคือ Terminate this logon จากนั้นเมื่อกด Enter เราจะได้หน้าจอ

images by uppicweb.com

- เราจะเข้ามาสู่หน้าจอเมนูหลักของระบบ SAP ที่เรียกว่า SAP Menu หรือ SAP Easy Access เราก็จะเห็นรายการ Transaction ทั้งหมดของระบบ SAP โดยแบ่งตาม Application Modules ต่างๆ เช่น Logistics หรือส่วน Accounting เป็นต้น


ไมโครซอฟต์ของ
ERP

Microsoft Dynamics AX

Microsoft Dynamics AX

            Microsoft Dynamics AX คือโซลูชั่นการวางแผนทรัพยากรสำหรับองค์กร หรือ ERP ที่รองรับการใช้งานหลายภาษาและหลายสกุลเงิน ได้รับการออกแบบมาสำหรับบริษัทขนาดกลางและใหญ่ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์นี้อยู่ที่การทำงานด้านการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมและ e-business รวมทั้งยังมีฟังก์ชั่นสำหรับธุรกิจค้าส่งและบริการ

            Microsoft Dynamics AX ประกอบด้วยแอพพลิเคชั่นสำหรับการบริหารการเงิน, การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า, การจัดการซัพพลายเชน, การบริหารทรัพยากรบุคคล, การบริหารโครงการ และการวิเคราะห์ ด้วยการทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น Microsoft SQL Server, BizTalk Server, Exchange, Office และ Windows พนักงานจึงสามารถใช้งานได้ทันทีเนื่องจากมีการใช้งานในลักษณะที่คุ้นเคย ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

อุตสาหกรรมการผลิต

            Microsoft Dynamics AX สามารถถูกปรับแต่งให้สนับสนุนความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะ และมีค่าใช้จ่ายรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ต่ำ ประกอบด้วยการทำงานหลากหลายที่สนับสนุนซัพพลายเชนในรูปแบบ Build-to-Order, Engineer-to-Order และ Build-to-Forecast ในโหมดการผลิตทั้งแบบแยก (Discrete) และแบบรวม (Batch) จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ผลิตที่มีการทำงานแบบผสม

การบริหารด้านการเงิน

            Microsoft Dynamics AX มีความสามารถด้านการเงินที่ครอบคลุม เพื่อให้บริษัทสามารถรวมบัญชีของบริษัทลูกหรือศูนย์กระจายสินค้าเข้าด้วยกัน โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานที่ตั้ง นอกจากนี้ พนักงานยังสามารถเรียกใช้บัญชี, รายงาน และการวิเคราะห์ได้ตามความเหมาะสมกับตำแหน่งงานอีกด้วย

การกำหนดค่าตามความต้องการ
            โซลูชั่นรวมที่สามารถกำหนดค่าได้ตามต้องการนี้ ช่วยให้คุณทำงานร่วมกับลูกค้า, คู่ค้า และผู้ขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจได้ โดยคุณสามารถปรับหรือขยายการทำงานเพิ่มขึ้นได้ตามความต้องการในอนาคตด้วยสภาพแวดล้อมในการพัฒนาแบบ MorphX นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถออกแบบ, แก้ไข, คอมไพล์ และหาข้อผิดพลาด พร้อมกับเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ในหน้าจอเดียว

ครอบคลุมการทำธุรกิจทั่วโลก

            Microsoft Dynamics AX ช่วยสร้างโอกาสทางการค้าให้คุณทั่วโลก ด้วยการรองรับการทำธุรกรรมจำนวนมากจากผู้ใช้จำนวนนับพันที่เข้ามาจากเว็บไซต์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนภาษา, สกุลเงิน และข้อกำหนดทางกฎหมายในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก พนักงาน, ลูกค้า และผู้ขายจึงทำงานได้ด้วยภาษาและสกุลเงินของตนเอง Microsoft Dynamics AX สามารถขยายระบบเพื่อรองรับธุรกิจที่กำลังเติบโต และรองรับโอกาสใหม่ทางธุรกิจได้ทั้งในและต่างประเทศ

Microsoft ประกาศ Connection two-tier การวางแผนทรัพยากรขององค์กร (ERP) การใช้งานระหว่าง Microsoft Dynamics AX และ หน่วยงานย่อย หรือองค์กร สาขา เพื่อความสะดวกในการรวมธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ และง่ายต่อการติดตั้ง SAP กับที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท
            Two-tier connector ของ Microsoft Dynamics ERP จะช่วยให้ธุรกิจสถานการณ์การรวมกันของสำนักงานใหญ่และสถานที่ บริษัท ย่อยรวมถึงต่อไปนี้
            - Financial consolidation ร่วมกันและรวมของข้อมูลทางการเงินจาก บริษัท รายละเอียดการใช้ Microsoft Dynamics AX อัตโนมัติและสามารถสัมผัสถึงการติดตั้ง SAP กลางเพิ่มการแสดงผลของประสิทธิภาพทางการเงินทั่วทั้งองค์กร
           - Supply-chain ระหว่าง บริษัท รวมของการจัดซื้อระหว่าง บริษัท และ - กระบวนการ supply-chain ระหว่างภูมิภาคและการจำหน่ายในประเทศกับองค์กรบรรลุ ส่วนกลางจะช่วยอำนวยความสะดวกในการสั่งซื้ออัตโนมัติ
           - Plant automation. Integration การกระจายการผลิตในส่วนกลาง การวางแผนกระบวนการช่วยและตอบสนองต่อการวางแผนการผลิตถูกต้องมากขึ้นทั้งองค์กร

คำสำคัญ (Tags): #ซอฟต์แวร์ sap
หมายเลขบันทึก: 387451เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2010 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท