ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากต้นคลุ้มของกลุ่มหัตถกรรมคนพิการบ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช


ต้นคลุ้มเป็นพืชตระกูลเดียวกับคล้า

ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากต้นคลุ้มของกลุ่มหัตถกรรมคนพิการบ้านคีรีวง   ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 

 

 วัตถุดิบที่นำมาผลิตและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจักสานต้นคลุ้ม 

 

1.  ต้นคลุ้ม

 

2. ตอกหวาย

 

3. ไม้ไผ่ 

 

4. ตอกคลุ้ม

 

5. น้ำมันสน 

 

6. แลคเกอร์ 

 

7. แชลค

 

8. วานิช 

 

 

 

9. มีด เป็นเครื่องมือสำหรับแปรรูปวัสดุธรรมชาติมาเป็นวัสดุสำหรับทำเครื่องจักสาน มีดที่ใช้โดยทั่วไปเป็นมีดเหล็กกล้าที่มีเนื้อแกร่งและมีความคมมากอ มี 2 ชนิด คือ

 

-  มีดที่ใช้สำหรับใช้ฟันหรือตัดผ่าไม้ เป็นมีดขนาดค่อนข้างใหญ่ มีสันหนาประมาณ 1 เซนติเมตร

 

โดยทั่วไปจะเป็นมีดหัวตัด มีดโต จะใช้ในการทำเครื่องจักสานขั้นตอนแรก คือ เริ่มตัดไม้ไผ่ หรือหวาย มาจากป่า แล้วตัดทอน ผ่าเป็นชิ้น สำหรับเตรียมจักเป็นตอก

 

-  มีดตอก เป็นมีดสำหรับใช้จักตอก มีรูปเรียวแหลม ปลายและด้ามงอน ส่วนมากตัวมีดจะสั้นกว่าด้ามมีสันค่อนข้างบาง เพื่อให้มีน้ำหนักเบาและใช้งานสะดวก

 

10. เหล็กหมาด เป็นเหล็กปลายแหลมสำหรับใช้เจาะ งัด แงะ มีอยู่ 2 ชนิดคือ  

 

-   เหล็กหมาดปลา มีด้ามกลมๆทำด้วยไม้ ใช้แยง ไช แงะตามรูตอก สำหรับร้อยหวาย ในการถักขอบ
-   เหล็กหมาดปลายแบน เป็นเหล็กแหลมปลายแบนคล้ายปลายลูกศรหรือใบหอก มีด้ามกลม ๆ ยาว

 

ประมาณ 4-6 นิ้ว ใช้สำหรับเจาะขอบไม้ไผ่หรือหวาย หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องประกอบของเครื่องจักสาน

 

11.  คีมไม้ มีลักษณะคล้ายคีมทั่วไป คือ มีส่วนปากสำหรับหนีบ มีด้ามจับ มักทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียว ใช้หนีบขอบปากของเครื่องจักสานเวลาผูกขอบหรือเข้าขอบ เช่น การเข้าขอบกระบุง ขอบเข่ง เป็นต้น

 

ขั้นตอนวิธีการทำผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นคลุ้ม

 

1.  การคัดเลือกต้นคลุ้ม

 

ในการเลือกต้นคลุ้มที่จะนำมาสานเป็นผลิตภัณฑ์นั้น จะต้องเลือกต้นคลุ้มที่มีความพอดี ไม่อ่อนและแก่เกินไป

 

การเลือกต้นคลุ้มที่พอดี คือ ลำต้นจะมีความยาวประมาณ 120-150 เซนติเมตร และสังเกตที่ยอดของต้นคลุ้มที่แตกกิ่งไม่น้อยกว่า 2 กิ่ง ขึ้นไปจะมีความพอดี

 

2.  ขนาดและการตกแต่ง

 

นำวัตถุดิบที่เป็นส่วนในการทำเครื่องจักสาน ที่มีอายุพอสมควร นำมาเหลาหรือเกลาให้มีขนาดตามความต้องการของชิ้นงาน

 

  

 

3. วิธีการจักตอก 

 

- การจักตอกปื้น แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก (ขี้ตอก)จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆ แล้วหลาวให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง

 

- การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้น แต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้น ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตากแดด

 

- การจักไพล ใช้วิธีเดียวกับการจักตอกตะแคง แต่การหลาวจะหลาวให้เป็นเส้นกลมแบบเท่ากัน ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตากแดด 

 

4. การขึ้นรูปทรงผลิตภัณฑ์ นำวัตถุดิบที่เกลาหรือตกแต่งเสร็จแล้วนำมาทำผลิตภัณฑ์ โดยขึ้นรูปทรงขนาดตามที่ต้องการ

 

  

 

5.  การสาน   ทำการจักสานตอกหรือวัตถุดิบ   เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ  เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก เป็นรูปทรงผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการของลูกค้า

 

6.  การถักและพัน
เมื่อสานตัวเรียบร้อยก็ถึงการรมควันโดยจะทำในวันที่ไม่มีลม  ใช้ฟางพรมน้ำหมาด ๆ เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดควันมาก รมจนเครื่องจักสานมีสีเหลืองเท่ากันทั้งใบ แล้วนำมาเข้าส่วนประกอบหวาย  มีการผูกปาก  พันขา  ใส่ฐานและหูหิ้ว

 

 7. การรมควัน
เป็นของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วยตอกคลุ้มและหวาย  ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่  ปาก ขา หู การผูกและพันด้วยหวาย  จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความสวยงาม

 

8. การทาน้ำมันแลคเกอร์   นำผลิตภัณฑ์ที่ทำการจักสานเสร็จ  ตกแต่งให้เรียบร้อยพร้อมทาน้ำมันสน  ปัจจุบันทาน้ำมันแลคเกอร์ ทำให้เกิดความสวยงาม รักษาเนื้อวัตถุดิบ ให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น เสร็จแล้วนำไปตากแดดประมาณ 2-3 ชั่วโมงสามารถนำมาใช้งานได้

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปจากต้นคลุ้มของกลุ่มหัตถกรรมคนพิการบ้านคีรีวง   ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช   

 

 

 

 

1.  โตร๊ะ                ภาชนะจักสานที่เรียกตามสภาพการใช้งาน คือ เอาทุกอย่างตั้งแต่ประเภท พืช ผัก ผลไม้ ใส่ลงไปเรียกว่า โตร๊ะ   

 

2.  กระเช้า            ภาชนะใช้ใส่ของขวัญ ผลไม้ หรือของฝากที่จะนำไปเยี่ยมหรือให้ผู้ใหญ่ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ

 

3. ตะกร้า               ภาชนะจักสานที่ใช้ใส่ผัก ผลไม้ จากสวนสมรม เพื่อช่วยในการเบาแรงเวลาชาวสวนแบกหามผักผลไม้กลับบ้าน หรือพาไปขายในตลาด

 

4. กระด้ง              ภาชนะจักสานใช้ตากข้าว   ฟัดข้าว  ในช่วงเวลาทำนา

 

5. ตะข้อง              ภาชนะจักสาน  เพื่อเป็นภาชนะใส่ปลาในช่วงเวลาที่ชาวคีรีวงว่างจากงาน แล้วชวนกันเอาเวลาว่างที่เหลือจากการทำงานในสวน หรืองานจักสานต่าง ๆ   ไปหาปลาที่ลำคลองเพื่อนำปลาที่ได้มาใช้ประกอบอาหาร เพื่อช่วยลดรายจ่ายในการซื้อกับข้าวของครอบครัว 

 

คำสำคัญ (Tags): #นานาสาระชุมชน
หมายเลขบันทึก: 386696เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2010 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

อ๋อ...พอนึกภาพออก...คล้ายๆกับจักสานย่านลิเภาหรือเปล่าคะ...แต่อยากเห็นภาพค่ะ...

บ้านเพื่อนอยู่ลานสกาหลายคนค่ะ...ขอบคุณที่นำสิ่งดีดีมาฝาก

ขอโทษนะครับคุณภัทรานิษฐ์

ผมพยายามใส่รูปลงไปด้วยแล้วแต่ทำไม่ได้ อาจจะพูดได้ว่าทำไม่เป็นจะถูกกว่า ขออนุญาติไปหาความรู้เพิ่มเติมก่อนนะครับว่าเค้าทำกันอย่างไร สัญญาว่าครั้งหน้าจะมีรูปแน่นอนครับ การจักรสานคลุ้มแตกต่างจากย่านลิเพาตรงที่ว่าผลิตภัณฑ์จากคลุ้มจะมีขนานใหญ่กว่า เส้นใยที่เรียกว่าตอกก็ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ย่านลิเพาจะมีลักษณะกลมแต่คลุ้มจะต้องทำให้แบนครับ การสานคลุ้มก็เหมือนกับการทำเครื่องจักรสานจากไม้ไฝ่นั้นแหละครับ

ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านข้อเขียนของผมนะครับ

ขอแจ้งข่าวหน่อยนะครับ ตอนนี้จะมีการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการระดับตำบล ตั้งศุนย์ที่ รพ.สต.บ้านย่านยาวตอนนี้อยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการครับ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อที่ รพ.สต.บ้านย่านยาวได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท