แนวข้อสอบอาจารย์พรชัย


แนวข้อสอบอาจารย์พรชัย

  

1.การศึกษาแบบ historico- structural approach  คือ การพยายามวิเคราะห์วิวัฒนาการเมืองการปกครองของไทยตามมรดกตกทอดของอดีต โดยเน้นที่การต่อเนื่องของโครงสร้างกระบวนการและค่านิยม ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของคนไทยในปัจจุบัน

2.ลักษณะการปกครอง

                สมัยพ่อขุนราม อาศัยหลักการปกครองแบบครอบครัว โดยขยายการปกครองบ้านเมืองแบบครอบครัวใหญ่ คือ มีลักษณะพ่อปกครองลูก ( คือ พ่อจะให้ความเมตตาต่อลูกซึ่งเป็นประชาชนให้มีความสุข

                สมมติเทพ คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของการเมืองการปกครองและการบริหารความรุ่งเรืองของราชอาณาจักรจึงขึ้นอยู่กับความเจริญรุ่งเรืองของสถาบันพระมหากษัตริย์

3.ระบบศักดินา คือ เครื่องมือจัดแบ่งประเภทประชาชนตามระดับสถานภาพทางสังคมมากว่าจะเป็นการถือครองที่ดินตามจำนวนตัวเลขจริง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยและพื้นฐานของการผลิตทางด้านเกษตรกรรม

4.ไพร่หลวง..........ไพร่ที่ขึ้นต่อพระเจ้าแผ่นดินหรือกรมกองของรัฐบาล

5.ไพร่สม (หรือไพร่สะสมกำลัง)......ไพร่ที่ขึ้นต่อราชวงศ์หรือตระกูลขุนนาง

6.ไพร่ส่วย.......ไพร่ที่จ่ายสวยแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน

                ไพร่หลวง ไพร่สม ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน เพราะพวกไพร่ต้องใช้แรงงานรับใช้นายของตนทุกเดือนเว้นเดือน (เข้าเดือนออกเดือน) ยกเว้นแต่ว่า จะจ่ายเงินหรือหาของป่าเพื่อแทนการใช้แรงงานไพร่ ที่ถูกมอบหมายให้จัดทำผลผลิตบางอย่างมาส่งซึ่งจะถูกใช้ไปในด้านการค้าการบริโภคหรืองานของรัฐบาล

                ดังนั้น ประชาชนเพศชายทั้งหมดที่มีศักดินาตั้งแต่ 25 ไร่ ลงมา ซึ่งตกอยู่ภายใต้ระบบเกณฑ์แรงงาน การเก็บภาษีเป็นเงินตราและเป็นสิ่งของและการรับราชการทหาร

7.การจัดระเบียบทางสังคม คือ การใช้ระบบศักดินาเป็นระบบที่แบ่งปันที่นาให้กับคนในสังคมตามสถานะ

                พระมหากษัตริย์

                กรมพระราชวังบวร

                สมเด็จเจ้าพระยา

ผู้รับใช้พระมหากษัตริย์.......ขุนนาง

ไพร่ (10-25)

ทาส ยาจก วณิพก (5)

8.การสร้างชาติ( nation – building ) คือ การใช้ระบบการศึกษา หรือภาษากลาง เป็นสื่อกลางการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดการผสมผสานกลมกลืน คือ การใช้ภาษากลางเป็นภากลางสื่อสารประจำชาติ

                -การสร้างอำนาจ ( state-building)  คือ การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นเอกรัฐมีการรวมศูนย์อำนาจ

                -การสร้างรัฐชาติแบบสมัยใหม่

                                การพัฒนารัฐชาติ ( nation-state) เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการพัฒนาการเมือง ดังนั้นจะต้องมีการพัฒนาสถาบันการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ กล่าวคือ มีการปฏิบัติการในรูปแบบของรัฐชาติเป็นลักษณะหนึ่งของการพัฒนาการเมือง อำนาจอธิปไตยจะอยู่ที่ส่วนกลาง

9.ดุสิตธานี คือ การจำลองเมืองขึ้นมาเพื่อเป็นการทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย จุดสำคัญอยู่ที่ เป็นการสะท้อนให้เห็นความสนใจหรือบรรยากาศทางการเมืองซึ่งกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง

10.อธิบายวงจรอุบาทว์

                หลังจากที่การรัฐประหารสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติจะปกครองประเทศอยู่ในระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะมีการประกาศรัฐธรรมนูญ เนื่องจากความกดดันทางการเมือง แล้วให้มีการเลือกตั้ง( อาจจะตีความได้ว่าเป็นการทดลองระบอบประชาธิปไตย หรือเป็นการยอมจำนนต่อระบบที่เปิด ) หลังจากการเลือกตั้งจัดให้มีการประชุมรัฐสภากับรัฐบาลแล้วเกิดข้อขัดแย้งขึ้น และไม่มีทางแก้ไข ทำให้กระบวนการสับสนไปสู่วิกฤตการณ์ทำให้รัฐบาลปฏิบัติการไม่ได้ แล้วจะมีการทำรัฐประหารโดยทหาร กระบวนการก็จะครบวงจร

                แต่ลักษณะที่เห็นเด่นชัดของช่วงวงจรนั้น คือ การขัดแย้งที่แก้ไม่ได้ภายในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย การขัดแย้งที่ไม่ได้แก้ดังกล่าว กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย เช่น การขัดแย้งกันทางอำนาจ  การขัดแย้งกันในทางนโยบาย  การขัดแย้งระหว่างกลุ่มเก่า – กลุ่มใหม่  การขัดแย้งระหว่างทหารร่วมกัน  การขัดแย้งระหว่างทหารกับตำรวจ เป็นต้น

11.ทฤษฏีการพัฒนาการเมืองและความผุกร่อนทางการเมือง (political development and political decay)

                 

 

12.อำมาตยาธิปไตย.............การปกครองซึ่งช้าราชการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โดยข้าราชการจะเป็นบุคคลที่กำหนดทิศทางทางการเมือง ไม่ว่าจะด้วยการปฏิวัติรัฐประหาร หรือละด้วยกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งทำเป็นตามกติกา ที่มีหลักประกันว่ากลุ่มข้าราชการประจำจะสามารถยึดอำนาจรัฐได้ โดยมีกระบวนการการเลือกตั้งเพื่อสร้างความชอบธรรม

13.ประชาธิปไตยครึ่งใบ.........การเปิดโอกาสให้ข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือน มีบทบาททางการเมือง ( โดยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการได้รับแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก ) ขณะเดียวกันกลุ่มพลังประชาชนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ก็มีโอกาสสมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. เป็นรัฐมนตรี กล่าวคือ ระบบการเมืองที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นระบบการเมืองที่จะพยายามผสมผสานพบกันครึ่งทางในลักษณะประสานประโยชน์ความต้องการและความเรียกร้องทางการเมืองของกล่มพลังทั้งสองกลุ่ม

14.ระบบโจรปล้นบ้านปล้นแผ่นดิน( kleptocracy) คือ ...เป็นผลมาจากระบอบประชาธิปไตยที่ถูกชักจูงโดยบุคคลที่มีเงินและมองดูกระบวนการทั้งหมด ในสังคมเป็นกระบวนการซื้อ ๆ ขาย ๆ โดยจะสามารถใช้เงินซื้อได้ทุกอย่าง รวมตลอดจนยศถาบรรดาศักดิ์ ตำแหน่งอำนาจ และเมื่อได้ใช้จ่ายเงินไปแล้วก็จำเป็นที่จะทำเงินคืนด้วยการกระทำที่เรียกว่า ฉ้อราษฎร์บังหลวง โกงกินบ้านเมือง โดยไม่สนใจต่อตัวบทกฎหมาย ความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม หรือความรู้สึกของประชาชน ซึ่งส่งผลเสียต่อไป ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ความรู้สึกที่ขาดความน่าเชื่อถือ ขาดศรัทธาต่อรัฐบาลหรือบุคคลที่อยู่ในอำนาจ ผลที่เกิดตามมาคือ การสูญเสียความชอบธรรมของรัฐบาลและของนักการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ การเสื่อมศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และทำให้ระบบที่เป็นอยู่สูญเสียความชอบธรรม ขาดการสนับสนุนจากประชาชน

15.ราชาธิปไตย-รัฐกษัตริย์

                ก่อน 2475 เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช กล่าวคือ กษัตริย์อยู่เหนื่อกฎหมายการปกครองแผ่นดิน ถือเป็นการขึ้นเสวยราชสมบัติ กล่าวได้ว่า การปกครองแบบราชาธิปไตย คือ การที่สังคมมีลักษณะเป็นรัฐกษัตริย์ กษัตริย์เป็นองค์รัฐาธิปัตย์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่คลี่คลาย คือ ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และประชาชนใกล้ชิดมากขึ้น

                ในระบบราชาธิปไตย คือ การปกครองการบริหารใช้ระบบการบำบัดทุกข์บำรุงสุข

                ข้อสำคัญ คือ ได้เกิดสถาบันราชการและกลุ่มข้าราชการซึ่งเป็นชนชั้นใหม่ขึ้น และผลสุดท้ายสถาบันใหม่และกล่มคนใหม่ได้ทำการปฏิวัติ เมื่อ 24 มิย. 2475

16.อำมาตยาธิปไตย – รัฐราชการ

                เป็นการแย่งงอำนาจของกลุ่มราชการ หรืออำมาตยาธิปัตย์จากกษัตริย์  ดังนั้นหลังจากปฏิวัติกลุ่มข้าราชการก็เข้าแทนที่ช่องว่างอำนาจ เป็นต้นมา จากนั้นสังคมไทยก็แปรสภาพจากรัฐกษัตริย์ภายใต้ระบบราชาธิปไตยมาสู่รัฐราชการ คือ การปกครองโดยข้าราชการ หรือ อำมาตยาธิปไตย

                ในระบบราชาธิปไตย ได้มีการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินจนเกิดสถาบันราชการและกลุ่มข้าราชการขึ้นมาแทนที่อำนาจกษัตริย์ และนำไปสู่ระบบอำมาตยาธิปไตย

                จุดสำคัญ คือ ราชาธิปไตยปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินโดยการสร้างสถาบันราชการและตัวราชการใหม่ขึ้นมา และถูกสถาบันใหม่และตัวข้าราชการใหม่เปลี่ยนแปลงระบบ ข้าราชการที่ยึดอำนาจได้สำเร็จก็สถาปนาระบอบอำมตยาธิปไตยขึ้นมา และทำการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในกระบวนการดังกล่าว ได้สร้างชนชั้นกลางใหม่ขึ้นมา และถูกชนชั้นกลางในภาคเอกชนล้มอำนาจของตน ซึ่งมองเห็นภาพได้ว่าในอนาคตชนชั้นกลาง หรือนักธุรกิจ จะครงอำนาจต่อไปแทนข้าราชการ

 

17.ธนาธิปไตย – รัฐธุรกิจ

                ระบบการเมืองแบบธนาธิปไตย คือ การปกครองโดยคนรวย (plutocracy) การตัดสินใจนโยบายแทนที่จะกำหนดโดยมโนธรรม กลายเป็นกำหนดโดยธนาธรรมและเป็นรัฐธุรกิจเงินตรา คือ อำนาจ และคนมีเงินเป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีอิทธิพลแผ่กว้างไฟศาล แม้ระบบอุปถัมภ์ก็กลับหัวกลับหาง บริษัทใหญ่ๆ จะจ้างอดีตข้าราชการชั้นสูงเป็นผู้บริหารงานหรือที่ปรึกษา เป็นวงศ์ไพบูลย์ร่วมกันระหว่างเงินและอำนาจ พรรคการเมืองใหญ่ๆ ทุกพรรคจะถูกครอบงำโดยนักธุรกิจที่มีเงินทุนมากมายมหาศาล

สัญญาแห่งระบบธนาธิปไตย คือ การใช้เงินซื้อเสียง ซื้อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ภูมิหลังของรัฐมนตรีซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ

                ระบบธนาธิปไตยจะดำรงเพื่อผลประโยชน์ ของธนาธิปัตย์ ประชาชนคนยากจนจะหวังพึ่งได้ยาก นอกจากจะถูกอ้างเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองเท่านั้น

18.ประชาธิปไตย – ประชารัฐ

                คือ ระบอบการปกครองที่เราหวังจะให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะต้องมีการปฏิรูปการเมือง ก็พอจะมีความหวังว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่พัฒนาถึงจุดที่เรียกว่า เป็นประชารัฐ

    

                        “ นี่คือ ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ถ้าอยากจะให้ครบ ต้องเริ่ม นับ 1- 10 ”

                                                                                                                                                                S.หมอดอย 18/08/2553

                          ดาวโหลด  ได้ที่นี่        

หมายเลขบันทึก: 386646เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2010 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท