เงินเดือนข้าราชการ


เงินเดือนข้าราชการ

จากรายงานผลการสำรวจอัตราค่าจ้างและสวัสดิการสำหรับการบริหารค่าจ้าง ประจำปี 2552-2553 ของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศพบว่า เงินเดือนแรกบรรจุของภาคเอกชนสูงกว่าภาครัฐ 6-86% ไม่เพียงเท่านั้น หากย้อนกลับไปดูสถิติการ “ลาออก” ของข้าราชการพลเรือนสามัญช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็จะพบว่าตัวเลขสูงอย่างน่าตกใจ โดยในปี 2549 มีจำนวนผู้ลาออกราชการ 3,136 คน จากข้าราชการพลเรือนสามัญทั้งหมด 3.6 แสนคน ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มข้าราชการที่ทำงานด้านการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข ลาออก 1,806 คน ขณะที่อีกสาขาที่ลาออกมากคือ ข้าราชการในด้านการคลัง เศรษฐกิจ พาณิชย์ และอุตสาหกรรม ยื่นใบลาออกถึง 329 คน ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น  2 ปี  อัตราการลาออกของข้าราชการพลเรือนสามัญ ปี 2547 ยังมีจำนวน 1,099 คน แต่น่าสังเกตว่าข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขยังคงเป็นแชมป์การลาออกมากที่สุด 614 คน ก.พ.จึงเสนอให้รัฐบาล ปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของภาคราชการให้ใกล้เคียงกับเอกชนใน 5 ปี โดยเริ่ม “คิกออฟ” ปีงบประมาณ 2544 ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 สำหรับการปรับปรุงค่าตอบแทนเพื่อเพิ่มความสามารถในการดึงดูดและรักษาความเก่งคนดีไว้ในราชการและยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของข้าราชการ จึงมีการเพิ่มบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญและเงินเดือนข้าราชการพลเรือน ให้เข้าสู่อัตราในบัญชีที่ปรับใหม่โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 โดยให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งกฎ ก.พ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ.2551 และให้ใช้ข้อความข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิและตำแหน่งประเภท สายงานและระดับอื่น ก.พ.กำหนดให้ได้รับเงินเดือนดังนี้

    1. ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุธโส ให้ได้รับเงินไม่เกิน 37,830 บาท หรือที่ ก.พ. กำหนด เว้นแต่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในสายงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูง กรณีที่ผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าอัตรา 37,830 บาท ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่

   2. ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 67,560 บาท หรือที่ ก.พ. กำหนดเว้นแต่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในสายงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูง กรณีที่ผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าอัตรา 67,560 บาท ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ได้รับอยู่ และ

   3. ผู้ดำรงตำแหน่งประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ. กำหนดให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ ก.พ. กำหนด

โดยข้าราชการที่จะเข้ารับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณต้องมีเหตุผล ความจำเป็นเพื่อประโยชน์กับทางราชการ ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวจะต้องเป็นตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เป็นตำแหน่งที่มีความขาดแคลนบุคลากรในเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพและหาผู้อื่นปฏิบัติงานแทนได้ยากและเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางราชการหรือหน้าที่ที่จะต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวและตำแหน่งที่จะให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะต้องเป็นตำแหน่งที่ผู้นั้นครอบครองอยู่เดิม โดยกำหนดเวลาที่จะให้รับราชการต่อไปตามกฎ ก.พ.นั้นกระทำได้ตามความจำเป็นในครั้งแรกให้สั่งให้รับราชการต่อไปได้ไม่เกิน 4 ปี และถ้าเหตุผลและความจำเป็นจะให้รับข้าราชการต่อไปอีกครั้งละไม่เกิน 3 ปี แต่เมื่อรวมกันแล้วระยะเวลาต้องไม่เกิน 10 ปี และการจะให้ข้าราชการพลเรือนสามัญคนใดรับราชการต่อไปได้นั้น อ.ก.พ.กระทรวงเป็นผู้พิจารณา

หมายเลขบันทึก: 386560เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2010 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท