ดูงาน สำนักประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


   มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ขอเข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่10 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมานั้น นำทีมโดย ผอ. ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา คุณพนมพร  ปัจจวงษ์  ซึ่ง คุณวิไลลัตน์  วิริยะวิบูลย์กิจ ผอ. สำนักประกันคุณภาพ และบุลากรสำนักฯ มก มาให้การต้อนรับและร่วม ลปรร. โดย มก นี้เริ่มการประกันคุณภาพภายในปี 2539

  การประกันฯ มก ก็มีลักษณะคล้ายๆ กันกับ มมส เห็นพี่แจ็คเฉลยว่า มก เป็นแม่แบบของ มมส ดังนั้นจึงมีลักษณะการดำเนินงานคล้ายคลึงกัน เช่น การประกันคุณภาพภายใน มก มี 2 Model คือ Model I ระบบประกันคุณภาพสำหรับคณะวิชา และ Model II สำหรับหน่วยงานสนับสนุน โดยหน่วยงานสนับสนุนจะเพิ่ม ภารกิจหลักเข้ามา นั่นคือ การวิจัย หรือการบริการวิชาการแก่สังคม หรือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คือตามภารกิจหลักที่ทำและกำหนดตัวบ่งชี้ขึ้นเอง อีกทั้ง ยังมีกระบวนการประเมินคุณภาพฯ ที่คล้ายคลึงกันด้วย

  สิ่งที่แตกต่างกัน คือ มก จะเลือกอยู่กลุ่ม ง สถาบันที่เน้นการวิจัยขั้นสูงและผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะปริญญาเอก ส่วน มมส เลือกลุ่ม ข สถาบันที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี และพัฒนาสังคม ซึ่ง มก จะรับการประเมินคุณภาพฯระดับสถาบัน ในเดือนกันยายน 2553 โดยมีคณะกรรมการทั้งหมด 10 คน กรรมการภายนอก 6 คน และภายใน 4 คน โดยมีอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) คุณสมบัติ  ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานคณะกรรมการประเมินฯ ส่วน มมส ได้ประเมินคุณภาพฯระดับสถาบัน เรียบร้อยแล้ว โดยได้ผลการประเมินที่ 2.63

แนวปฏิบัติที่ดี

1. มก มีกระบวนการกระตุ้นให้ผู้บริหารทุกคนตระหนักถึงความเข้าใจของการประกันคุณภาพฯ เช่น ให้คณบดีทุกคณะทุกวิทยาเขตได้รับการอบรมเป็นผู้ประเมินฯ

2. สำหรับการประเมินคณะที่เหมือนกันหรือคล้ายกันในแต่ละวิทยาเขต เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก็จะใช้คณะกรรมการประเมินคนเดียวกัน เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กำแพงแสน ศรีราชา และเฉลิมพระเกียรติ คณะกรรมการประเมินคือ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ทุกวิทยาเขต และกรรมการจากภายนอก

3. สำนักประกันฯ มก มีการดำเนินงานเชิงรุก โดยการเดินสายไปพูดคุยถึงปัญหา อุปสรรค ลปรร กับคณะและหน่วยงาน ทุกวิทยาเขต

4. มีหลักสูตรอบรมเลขาคณะกรรมการประเมินฯ เพื่อให้เลขาฯ ได้เข้าใจกระบวนการประเมิน ตัวชี้วัดและเกณฑ์ต่างๆ โดยหลักสูตรนี้ได้ปรับปรุงมาจาก สมศ. ซึ่งจะคล้ายๆกับหลักสูตรอบรมการเป็นผู้ประเมิน โดยจะใช้ระยะเวลา 2 วัน เพื่อให้ฝึกทำ work sheet ป.1 การเขียน SAR ฝึกการหาข้อมูล ดูหลักฐานและเอกสารให้ตรงกับ ตชว.

  การดูงานในครั้งนี้ มมส ได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก และจะมาปรับปรุงใช้ต่อไปคะ ต้องขอขอบคุณสำนักประกันคุณภาพ มก มากคะ ^^

น้ำหนึ่ง

20 ส.ค. 53

หมายเลขบันทึก: 386491เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2010 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แน่นอนว่าได้หลักสูตรฝึกอบรมผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการผู้ประเมินฯติดไม้ติดมือมาด้วย

น่าจะนำมาปรับใช้กับ ฅน มมส พอได้ครับ

พี่แจ๊ค

ตามมาดูด้วยคนครับ

ดีคะ...พี่แจ็ค

 เราก็สร้างทีมของเราขึ้นมาเลยดีไหมคะ ทำเหมือน มก ฝึกเอง อบรมเอง เป็นวิทยากรเอง จัดการเอง ทุกอย่าง อืม...หนึ่งว่าน่าจะดีนะคะ

เรียนท่านอาจารย์เจเจ

  เขามีปรัชญาต่อท้ายชื่อมหาวิทยาลัยด้วยนะคะ ว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศาสตร์ของแผ่นดิน เหมือน มม เลยคะ ว่า มหาวิทยาลัยมหิดล ปัญญาของแผ่นดิน แต่...เมื่อหนึ่งถาม ผอ. สำนักประกัน มก ถึงที่มา เขาตอบไม่ค่อยดีเลย อืม...รึว่าหนึ่งไม่ควรถามก็ไม่รู้

เพราะหนึ่งอยากเอามาปรับใช้กับ มมส ก็เลยอยากทราบที่มาว่าเขาคิดอย่างไรบ้างคะ เฮ้อ!!!....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท