ความปลอดภัยต่อกากาศยาน


ปัญหาในการเดินอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ความปลอดภัยของอากาศยานจึงเป็นสาระสำคัญของการเดินอากาศ ตามพระราชบัญญัติเดินอากาศ พ.ศ.2497 โดยเฉพาะในการเดินอากาศของเครื่องบินพาณิชย์

ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ความปลอดภัยของการเดินอากาศจึงเป็นหัวใจสำคัญที่ต้อง

มีการคำนึงถึงเสมอ

            ปัญหาในการเดินอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น ปัญหาการจราจรทางอากาศ ปัญหาการก่อการร้าย หรือสลัดอากาศ (Hijacking) เป็นต้น

            ปัญหาการก่อการร้ายที่เกี่ยวข้องกับอากาศยาน ได้แก่ เหตุการณ์วันที่ 9 กันยายน 2544 ที่กลุ่มอัลกออิดะห์ได้ทำการจี้เครื่องบินบังคับให้พุ่งชนอาคาร World Trade Center ในประเทศอเมริกา เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คน นับว่าเป็น

โศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ที่สุดของโลกอีกครั้งหนึ่ง

            ในเรื่องของการชุมนุมปิดสนามบินนั้น พบว่าในต่างประเทศก็มีกรณีที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเช่นกัน ซึ่งสาเหตุที่ผู้ชุมนุมมักจะนำมากล่าวอ้างถึงความชอบธรรมในการชุมนุมก็ได้แก่ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในการแสดงความคิดอย่างสงบ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2551 นั้น บัญญัติไว้ในมาตรา 63 ดังนี้

บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก รวมถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วยตามมาตรา 45 คือบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจ หรือสุขภาพของประชาชน และการสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพหรือการห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพ จะกระทำไม่ได้เช่นกัน เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นให้การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้น และเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนนั้นจะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าบุคคลจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการชุมนุมโดยสงบก็ตามแต่ก็มีฝ่ายอื่นออกมาคัดค้านว่า หากการชุมนุมนั้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นแล้ว ก็อาจจะเข้าข่ายเป็นการละเมิดต่อผู้นั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ซึ่งการจะพิจารณาว่าการกระทำของผู้ชุมนุมเป็นการละเมิดหรือไม่นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนจะต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายๆ ด้านประกอบกัน เช่นสิทธิของบุคคล พฤติการณ์ในการชุมนุม ผลกระทบต่อบุคคลอื่น ความเสียหายที่เกิดขึ้นและการแก้ไขเยียวยา ซึ่งปัญหาในการปิดสนามบินนี้ย่อมมีผลกระทบต่อการเดินอากาศเช่นกัน

ในการเดินอากาศนั้น ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดบางประการต่ออากาศยาน พ.ศ.2521 ออกมาใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2521 โดยบัญญัติถึง   การกระทำความผิดต่างๆ ต่ออากาศยาน ทั้งต่อตัวอากาศยาน และตัวบุคคลผู้อยู่ในอากาศยาน (ผู้โดยสาร และผู้ควบคุมการบิน) จะต้องได้รับโทษทางอาญา ซึ่งเป็นความรับผิดตามกฎหมายเฉพาะเพิ่มเติม นอกเหนือจากประมวลกฎหมายอาญา

             อย่างไรก็ดี การกระทำความผิดต่ออากาศยานนั้น ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ชุมนุม

ของชาวบ้านผู้ประท้วงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณจากปัญหาเสียงรบกวนในการขึ้น-ลง

สนามบินซึ่งไม่ได้มาตรฐาน และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตน ที่ได้รวมตัวกันกดดันรัฐบาลด้วยการนัดปล่อยลูกโป่งให้รบกวนต่อการเดินอากาศของเครื่องบิน ในกรณีเช่นนี้หากมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง ย่อมอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่สนามบิน และ

เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้ใช้บริการสนามบินได้ การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 6 ทวิ คือ ผู้ใด

              (1) กระทำการประทุษร้ายผู้อื่นในท่าอากาศยานที่ให้บริการการบินพลเรือนจนเป็นเหตุให้หรือน่าจะเป็นเหตุให้ผู้อื่นนั้นรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตายหรือ

               (2) ทำลาย หรือทำให้เสียหายอย่างร้ายแรงต่อสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานที่ให้บริการการบินพลเรือน หรือต่ออากาศยานที่ไม่อยู่ในระหว่างบริการและอยู่ในท่าอากาศยานนั้น หรือทำให้การให้บริการของท่าอากาศยานหยุดชะงักลง

               ทั้งนี้ โดยใช้กลอุปกรณ์ วัตถุ หรืออาวุธใด ๆ และการกระทำนั้นเป็นอันตรายหรือน่าจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของท่าอากาศยานนั้น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี  [1] ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดบางประการต่ออากาศยาน พ.ศ.2521 ด้วย

            เป็นที่น่าสังเกตว่า “กลอุปกรณ์ วัตถุ หรืออาวุธใด ๆ” ตามวรรค 2 ของมาตราดังกล่าวนั้น ว่าหมายถึงสิ่งใด เพราะในบทนิยามในมาตรา 4 มิได้ให้คำจำกัดความไว้

จึงอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ เช่น ในวิถีชีวิตของคนไทยนั้น มีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยวัตถุลอยฟ้ามากมาย อาทิ การปล่อยโคมลอยของชาวเหนือ หรือการปล่อยบั้งไฟของชาวอีสาน การลอยบอลลูนในการโฆษณา และการเล่นพารามอเตอร์ (Para motor)หรือร่มบินด้วย เป็นต้น ซึ่งหากมองในภาพกว้างแล้ว สิ่งเหล่านี้ย่อมมีความหมายไปถึงคำว่า วัตถุใดๆ ด้วย อันอาจจะทำให้การกระทำดังกล่าวต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ได้ และในปัจจุบันก็ไม่มีกฎหมาย หรือคำพิพากษาฎีกาใดที่จะออกมาเป็นแนวบรรทัดฐานในเรื่องดังกล่าว อันเป็นผลการเดินอากาศด้วย

 นอกจากนี้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดบางประการต่ออากาศยาน พ.ศ.2521 เป็นการคุ้มครองแต่การกระทำต่ออากาศยานเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระทำต่อท่าอากาศยาน (สนามบิน) ด้วย จึงอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เช่น การปิดสนามบิน หรือการวางระเบิดสนาม เป็นต้น


            [1] พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดบางประการต่ออากาศยาน พ.ศ.2521มาตรา 6 ทวิ 

 

หมายเลขบันทึก: 386004เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2010 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท