รัฐศาสตร์


แนวคิด

                     แนวคิดวิชารัฐศาสตร์เบื้องต้น

ข้อที่  1      การตั้งพรรค  การเมืองขึ้นมาใหม่นั้นย่อมมี ผลดีและ ผลเสียต่อ การปฏิรูปประเทศเสอมคือ    ถ้าพูดถึงผลดีนั้นการตั้งพรรคการเมืองใหญ่ขึ้นมาประชาชนก็จะมีทางเลือกมากขึ้นมีแนวทางและวิถีทางที่กว้างมากขึ้นเช่นจากที่เคยมีสองพรรคถ้าตั้งขึ้นมาใหม่ก็จะเป็นสามพรรคทำให้ประชาชนมีทางเลือกที่ต้องการมากขึ้นหรือพรรคที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นอาจมีนโยบานหรือผลงานที่ประชาชนต้องการดีกว่าสองพรรคที่ตั้งขึ้นมาก่อน  ส่วนผลเสียที่ตามมาคือการใช้จ่ายงบประมาณที่สิ้นเปลืองต้องใช้จ่ายในการหาเสียงหรืออะไรก็ตามที่พรรคนั้นฯจะจัดทำขึ้นแทนที่จะนำเงินเหล่านั้นไปใช้จ่ายในส่วนที่ขาดหายจะดีกว่าหรืออาดจะเกิดความขัดแย้งขึ้นมาก็ได้ เช่นมีผู้สนับสนุนที่ต่างความคิดเห็นต่างแนวทาง   อุดลอุดมการณ์   ยกตัว อย่างเช่นปัจจุบันทั้งสองพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ต่างมีผู้สนับสนุนของแต่ละพรรคทำให้เกิดความขัดแย้งกันเกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน

ข้อที่  2    การชุมนุมของ    ม็อบเสื้อแดงมองสังคมไทยยังไม่ได้เกิดการพัฒนาสิ่งใดเลยตั้งแต่การรัฐประหาร 19กันยายน  ทำให้ประเทศไทยขาดการเชื้อมั่นการลงทุนกับต่างประเทศเพื่อนบ้านและทำให้สังคมเกิดการแบ่งข้างแบ่งสีการบริหารประเทศขาดการติดต่อหรือต่อเนื่องกันเช่นการเปลี่ยนผู้บริหารประเทศหรือนายกฯหลายครั้งในปีหนึ่งนั้นเองและผู้บริหารประเทศหรือคณะผู้บริหารนั้นไม่มีความเป็นธรรมและขาดหลักจริยธรรมการบริหารไม่มีหลักนิติรัฐและนิติธรรมในการบริหาร  ประชาชนยังยากจนอยู่และการบริหารแต่ละกระทรวงเกิดการ ทุจริตกันมากขึ้นการแก้ปัญหาประเทศแต่ละเรื่องไม่สิ้นสุดลงตามที่วางเป๋าหมายไว้และการเพิ่มหนี้สินให้ประเทศชาติมากยิ่งขึ้นถ้าประเทศไทยมีการพัฒนาจริงคงไม่มีใครมาเรียกร้องความเป็นธรรมหรือสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยเขาคืนดอกการบริหารประเทศไทยตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่เคยพัฒนาเลยชักนิดนับตั้งแต่ 24   มิถุนายน   2475 จนถึงปัจจุบันนี้

             

 

 

 

 ข้อที่ 3  ตามสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ  ฉบับปี พุทธศักราช 2540  ว่าด้วยการรับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบุคคลที่คุณสมบัติต้องห้ามด้วยคุณสมบัติของผู้สมัครคือดังนี้ ผมขอยกตัวอย่างรัฐธรรมนูญบางมาตรา เช่น มาตราที่ 110 สมาชิกสภาผู้ทนราษฎรต้อง

( 1 )  ไม่ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ   หน่วยงานของรัฐ     หรือรัฐวิสาหกิจหรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น  ผู้บริหารท้องถิ่น   หรือพนังงานส่วนท้องถิ่น

( 2 )  ไม่รับสัมปทานจากรัฐ      หน่วยราชการ   หน่วยงานของรัฐ   หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ  อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว

( 3 )  ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ   จากหน่วยงานราชการ   หรือหน่วยงานของรัฐ

และ  มาตรา  109   บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้    เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช่สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสภาผู้แทนราษฎร  คือ

1.  ติดยาเสพติดให้โทษ

2.  เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี

3.  ต้องคำพิพากษาให้จำคุกคุมขังอยู่โดยหมายศาล

4.  เคยถูกไล่ออก  ปลดออก    หรือให้ออกจากราชการ  หน่วยงานของรัฐ

5.  เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง

6.  เป็นสมาชิกวุฒิสภา

7.  เป็นกรรมการการเลือกตั้ง

 

 

 ข้อที่ .4 ระบบจตุสดมภ์ ว่าด้วย  วัง  หากเทียบกับระบบราชการในปัจจุบัน  คล้ายคลึงกับกระทรวงใดมากที่สุด  คือดังต่อไปนี้  วิธีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือ  กระทรวงใหญ่ๆขึ้นมา 4  กรม ปัจจุบันคล้ายคลึงกับกระทรวงดังต่อไปนี้คือ

1                 เวียง  คล้ายคลึงกับกระทรวงกลาโหมปัจจุบัน

2                 วัง     คล้ายคลึงกับกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน

3                 คลัง   คล้ายคลึงกับกระทรวงธรรมการในปัจจุบัน

4                 นา   คล้ายคลึงกับกระทรวงการคลังปัจจุบัน

 

 

ข้อที่ 5   การเมืองไทยมีปัญหาทางจริยธรรมอย่างนี้คือ

  การปกครองของไทยในยุคปัจจุบันนี้ผู้ปกครองหรือผู้บริหารไม่ได้คำนึงถึงหลังจริยธรรมและคุณธรรมไม่ได้ใส่ใจยึดหลักนิติรัฐ    และ  นิติธรรมในการบริหารปกครองคิดเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตนและเพื่อนพองมีการทุจริตคอรับชั้นกันเกิดขึ้นให้เห็นบ่อยๆผู้บริหารไม่ใส่ใจกับประชาชนผู้ยากไร่หรือไม่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมข้าราชการบางส่วนมีการรับสินบนและก้าวล้าสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

ข้อที่ 6    แนวคิดเชิงการพัฒนาการเมือง

 

เป็นที่แน่นอนว่าในการเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมจะต้องกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของสังคม เช่นโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และสังคม อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้เพราะในสังคมหนึ่ง ๆ นั้นย่อมไม่อาจสร้างเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างการเมือง เศรษฐกิจและสังคม หรือแยกไปพิจารณาแต่ละส่วนโดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

การพัฒนาการเมือง เป็นพื้นฐานทางการเมืองของการพัฒนาเศรษฐกิจ

ในแง่นี้การเมืองที่พัฒนาแล้วจะเปรียบเสมือนปัจจัยที่สำคัญที่จะเอื้ออำนวยต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ เช่น ช่วยให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้น แต่ปรากฏว่าการพัฒนาการเมืองในแง่นี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าแคบไป ทั้งความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในระบบการเมืองที่แตกต่างกัน และจากข้อเท็จริงที่ปรากฏให้เห็นในหลายประเทศปัจจุบันว่า ความเจริญทางเศรษฐกิจ หาได้มีทีท่าว่าจะเกิดขึ้นในช่วงอายุของเราไม่ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองถึงขนาดที่เราอาจจัดได้ว่าเป็นการพัฒนาการเมืองแล้วก็ตาม แนวคิดนี้ชี้ให้เห็นว่า หากระบบการเมืองมีการพัฒนาสูง จะส่งเสริมให้เกิดความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ความำสเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจจึงขึ้นอยู่กับระดับของการพัฒนาการเมืองของแต่ละสังคม

ข้อที่ 7  แนวคิดเชิงปรัชญาการเมือง
        ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) คือ ปรัชญาประยุกต์ (Applied Philosophy) แขนงหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับ แนวคิดเรื่องเกี่ยวกับส่วนรวม รัฐ (State) อำนาจทางการ (Authority) สิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรม ฯลฯ ปัญหาที่นักปรัชญาการเมืองมุ่งศึกษาจึงเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับปัจจเจก มนุษย์เป็นผู้สร้างสังคมหรือสังคมเป็นผู้สร้างมนุษย์ หรือศึกษาระบอบการปกครองที่เหมาะสมกับแต่ละสังคม เป็นต้นปรัชญาการเมืองคือแนวคิดเชิงอุดมการณ์
ปรัชญาการเมืองคือแนวคิดเชิงปรัชญาการเมืองไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีทางตรรกะ เราจะยอมรับมันก็ต่อเมื่อแนวคิดแบบหนึ่งสอดคล้องกับแนวคิดและค่านิยมหลักโดยทั่วไปของเรา แต่ ปรัชญาการเมืองก็เป็นความจริงทางสังคม เพราะ เมื่อมีคนเชื่อคล้อยตามแนวคิดนั้นๆ จะทำให้เกิดผลต่อการจัดการทางการเมือง และสังคมไปในทิศทางนั้นได้อุดมการณ์?

 

  ข้อที่8   แนวคิดเชิงพฤติกรรมการเมือง                                                                        หากได้มองย้อนไปถึงแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองโบราณเช่น อริสโตเติล (Aristotle) ปรัชญาเมธีชาวกรีกโบราณ ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์” ผู้กล่าวไว้ว่า มนุษย์ตามธรรมชาติเป็นสัตว์การเมืองต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือชุมชน อันแตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ด้วยสัญชาตญาณเป็นหลัก หากแต่มนุษย์ นอกจากจะอยู่ด้วยสัญชาตญาณแล้ว ยังมีเป้าหมายอยู่ร่วมกันอีกด้วย ดังนั้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จึงมิใช่มีชีวิตอยู่ไปเพียงวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น หากแต่เป็นการอยู่ร่วมกันเพื่อจะให้มีชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย เราก็จะมองเห็นภาพของการเมืองในแง่หนึ่งว่าการเมืองนั้นก็คือ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในชุมชนหรือสังคมเพื่อให้มี

 

 

ข้อที่ . 9   ประเทศใดมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดี

ประชาธิปไตยทางอ้อมแบบระบบกึ่งประธานาธิบดี เป็นการปกครองแบบหนึ่งซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ และผู้ใช้อำนาจบริหารผ่านทางนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เป็นระบบที่มีการผสมผสานกันระหว่างลักษณะของระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด เหนือกว่าอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร

ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข)

นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและสภานิติบัญญัติมีประธานาธิบดีที่ถูกเลือกตั้งเป็นประมุขของประเทศเพียงแต่ในนาม รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) กับคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

            ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

              สหรัฐอเมริกา

                                                                                                                                                    ในการปกครองระบบประชาธิไตยแบบนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ฝ่ายบริหาร (ประธานาธิบดี) และฝ่ายตุลาการ (ศาล) แยกอำนาจออกจากกัน

ประชาธิปไตยแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา

ระบบกึ่งประธานาธิบดีมีทั้งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมีอำนาจบริหารและเป็นประมุขของประเทศ รวมทั้งสามารถแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีได้

 

  1. ประเทศมองโกเลีย
  2. ประเทศฝรั่งเศส

ข้อที่.10 การปฏิรูปการเมืองไทยที่ผ่านมาประสบความสำเร็จหรือไม่ควรมีการปฏิรูปใหม่                                                                                 การปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 1 ล้มเหลว เพราะภาคประชาชนและสังคมนั้นอ่อนแอ ขาดการติดตามและตรวจสอบให้เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญได้รับการปฏิบัติจริงมากกว่าเพียงการบัญญัติไว้เป็นตัวหนังสือในแต่ละมาตราเท่านั้น ทำให้ฝ่ายการเมืองสามารถใช้อำนาจแทรกแซงองค์กรอิสระและบิดเบือนเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ จนทำให้การปฏิรูปการเมืองที่ผ่านมาล้มเหลวอย่างน่าเสียดาย

แต่นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีเพราะ ณ ปัจจุบันนี้ ประชาชนมีความตื่นตัวและสนใจในทางการเมืองอย่างสูง อันจะเห็นได้จากปรากฏการณ์สนธิและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มีการออกมาเปิดโปงความไม่ชอบมาพากลในการใช้อำนาจรัฐของฝ่ายการเมือง การรณรงค์ขับไล่ผู้นำทางการเมืองอันเนื่องมาจากปัญหาจริยธรรมทางการเมือง การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองรอบสอง ตลอดจนการให้ความรู้ทางการเมืองจากผู้เชี่ยวชาญผ่านการชุมนุมในเวทีสาธารณะตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผมคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็ง จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างมากมาย ตั้งแต่การประกาศยุบสภา การไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ รวมไปถึงกระแสการปฏิรูปการเมืองโดยให้มีการแก้ไขและยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ

ด้วยเหตุดังนั้น การปฏิรูปการเมืองรอบสองจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างกระแสให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว   ไม่ปล่อยให้การปฏิรูปการเมืองอยู่ในมือของนักการเมืองหรือกลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น ภาคประชาชนอาจจะรวมตัวกันโดยอยู่ในรูปแบบพันธมิตร สมัชชา สมาพันธ์ สถาบันวิชาการ โรงเรียน สถานที่ทำงาน และองค์กรต่าง ๆ ที่เชื่อมเครือข่ายระหว่างกันให้กลายเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมขนาดใหญ่และกว้างขวางมากที่สุด เพื่อที่จะทำให้สังคมไทยเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองและสังคม

คำสำคัญ (Tags): #แนวคิด
หมายเลขบันทึก: 385836เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2010 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท