RFID (Radio Frequency Identification)


RFID (Radio Frequency Identification)

 

 

 

 

ความเป็นมาของ ระบบ RFID (Radio Frequency Identification)

    

               RFID (Radio Frequency Identification) คือ ระบบเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการคำนวณ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยจะส่งกำลังด้วยคลื่นแม่เหล็ก หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แทนการสัมผัสทางกายภาพ มีการคาดการณ์กันว่าเทคโนโลยีดังกล่าว จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจ และการใช้ชีวิตประจำวันในระดับเดียวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ,อี-คอมเมิทสร์ (e--commerce) หรือแม้กระทั่งระบบสื่อสารไร้สายเลยก็ว่าได้

                เทคโนโลยี RFID นั้น ในปัจจุบันมีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ในส่วนของบ้านเรา ก็ได้นำเทคโนโลยีมาใช้กันให้เห็นมากขึ้นครับ จะเห็นได้จากการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้กับบัตรเครดิต, บัตรสมาร์ทการ์ด, ระบบจ่ายเงินรถไฟฟ้า BTS หรือ MRT ในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัวของเราก็มีเหมือนกันครับ เช่นเครื่องสำอางค์,ครีมทาผิว ทาหน้า ก็จะติดชิปไว้กับแพคเกจของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงของท่าน ก็เริ่มจะนำมาใช้ในประเทศไทยบ้างแล้ว ก็คือ การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยงเพื่อเก็บประวัติ ติดตามกรณีสัตว์เลี้ยงสูญหาย หรือไปสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นครับ และที่สร้างความฮือฮาในบ้านเราในปัจจุบัน ซึ่งมีการเปิดตัวกันไปไม่นานมานี้ก็คงจะเป็น นวัตกรรมใหม่ของทรูมูฟ ก็คือ “ทัชซิม” Touch SIM ซิมการ์ดที่ทำงานด้วยระบบ RFID ถือว่าเป็นการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้งานบนมือถือครั้งแรกของประเทศไทย โดยทัชซิม จะใช้สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินทุกประเภท เสมือนบัตรเครดิตการ์ด โดยที่ซิมจะมีทั้งระบบเติมเงิน และรายเดือน

                  หากแต่ความสะดวกสบายก็แฝงมากับภัยร้ายที่กำลังจะมาถึงเช่นกัน นั่นก็คือ การแฮกข้อมูลส่วนตัวในบัตรเครดิตต่างๆ ดังเช่น กรณีของบัตร American Express ที่เป็นข่าวในต่างประเทศ โดยแฮกเกอร์สามารถแฮกเอาข้อมูลส่วนตัวในบัตรออกมาได้ด้วยเครื่องอ่านราคาเพียงไม่กี่ร้อยบาท ข้อมูลที่อ่านได้นั้นรวมถึงหมายเลขบัตรเครดิต, ชื่อเจ้าของบัตร, และข้อมูลอื่นๆ ที่บรรจุไว้ในบัตร ซึ่งมากพอที่ผู้ที่ได้รับข้อมูลนี้จะนำไปใช้ในการโจรกรรมได้ โดยการแฮกนี้อาศัยความหละหลวมของการออกแบบโพรโตคอลในการถอดรหัสข้อมูลบนบัตรที่แทนที่จะมีการส่งข้อมูลกลับไปที่ธนาคารเพื่อถอดรหัส ธนาคารกลับไว้ใจให้เครื่องอ่านตามเคาท์เตอร์จ่ายเงินสามารถถอดรหัสข้อมูลบนบัตรได้เอง จะเห็นได้ว่า การโจรกรรมข้อมูลจากบัตร RFID มีความน่ากลัวค่อนข้างมาก ผู้ร้ายไม่จำเป็นต้องแตะตัวเราแม้แต่น้อย เพียงแค่คนร้ายสามารถเข้าใกล้เราในระยะที่ RFID ทำงานก็เพียงพอแล้ว

ประเภทของ RFID

             คงจะได้ทราบกันแล้วนะครับว่า เทคโนโลยี RFID เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ผมเชื่อว่าทุกคนที่ไปที่ห้างสรรพสินค้าคงจะเคยเห็นช่องประตูที่มีเสาสูงขึ้นมาตรงทางเข้าออกห้างสรรพสินค้า นี่ก็เป็นการนำเทคโนโลยี FRID มาใช้งานอีกรูปแบบหนึ่ง เอาละครับเมื่อเราได้ทราบกันแล้วว่าเทคโนโลยี RFID คืออะไร ต่อไปเรามาทำความรู้จักให้มากขึ้นอีกนิดกันดีกว่า โดยเราจะมาทำความรู้จักกันว่าเจ้า RFID ตัวนี้มันมีกี่ประเภทกัน

           ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จักว่า RFID มี่กี่ประเภท ผมจะขอพูดถึงส่วนประกอบของ RFID ก่อนนะครับ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทคือ

 1.ป้าย (Tags)
          ป้าย (Tag, Transponder[transceiver-responder]) ตัวอย่างเช่น ป้ายที่ติดสินค้า และ ตั๋วรถไฟฟ้าที่เป็นเหรียญกลมๆสีดำ สิ่งเหล่านี้ก็คือ Tags ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ภายในจะประกอบด้วย เสาอากาศ และ ตัวไมโครชิป ในส่วนของตัวเสาอากาศนั้น จะทำหน้าที่รับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุระหว่าง ป้าย(Tags) กับ เครื่องอ่าน(Reader) นอกจากนั้นแล้วมันยังสามารถทำหน้าที่สร้างพลังงานเพื่อป้อนให้กับไมโครชิปได้อีกด้วย

  

 

            ตัวอย่าง  ตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินที่ใช้เทคโนโลยี RFID

 

2. เครื่องอ่านป้าย (Reader)

                 เครื่องอ่านป้าย (Reader) โดยหน้าที่ของเครื่องอ่านป้ายคือ จะทำการเชื่อมต่อกับป้ายเพื่อทำการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงในป้ายโดยใช้สัญญาณวิทยุ ซึ่งภายในเครื่องอ่านจะประกอบด้วย เสาอากาศ เพื่อใช้รับ-ส่งสัญญาณ, ภาครับภาคส่งสัญญาณวิทยุ, วงจรควบคุมการอ่าน-เขียนข้อมูล และส่วนที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกันกับในส่วนของป้าย เครื่องอ่านนั้นจะมีชนิด และลักษณะรูปร่างหลากหลายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน เช่น แบบมือถือ แบบติดหนัง จนไปถึงแบบขนาดใหญ่เท่าประตุ เป็นต้น

 

3. ฮาร์ดแวร์ หรือ ระบบที่ใช้ประมวลผล

 

               คือส่วน ฮาร์ดแวร์ หรือ ระบบที่ใช้ประมวลผล เป็นส่วนที่จะทำการประมวลผลข้อมูลที่ได้มาจากป้าย (Tag) หรือ จะสร้างข้อมูลเพื่อส่งไปยังป้าย (Tag) หรือว่าจะเป็นที่เก็บระบบฐานข้อมูล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบที่เรานำเอาไปใช้นะครับ ตัวอย่างอย่างเช่น ระบบการจัดการฟาร์มปศุสัตว์ ระบบคลังสินค้า ระบบขนส่ง ระบบการบริหารทรัพยากรต่างๆ เป็นต้น

 

 

รูปแสดงส่วนประกอบของ RFID 

ประเภทของระบบ RFID

 
           ระบบ RFID สามารถจำแนกประเภทได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับว่าจะถูกจำแนกจากคุณสมบัติอะไร เช่น ความถี่ที่ใช้งาน ชนิดของ Tags เป็นต้น ในที่นี้เราจะทำการจำแนกประเภทของระบบ RFID ออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ 


1. จำแนกตามขนาดของหน่วยความจำ ซึ่งสามารถแยกย่อยได้อีกดังนี้


  1.1 ชนิด 1 บิต (1 Bit Type) 

              RFID ชนิดนี้เรียกอีกอย่างว่า EAS (Electronic Article Surveillmce) เป็น RFID ที่ใช้ Tags แบบที่ไม่มีไมโครชิพ มีเฉพาะเสาอากาศอย่างเดียว โดยการทำงานจะทำการตรวจสอบเฉพาะว่ามี Tags อยู่ในพื้นที่สัญญาณหรือไม่ ซึ่งจะแสดงสถานะเป็น 0 หรือ 1 (มีหรือไม่มี)

 

 

 

               รูปแบบของ RFID ชนิดนี้ได้ถูกนำมาใช้งานในทางธุรกิจอย่างเช่น นำมาใช้กับสินค้าเพื่อป้องกันสินค้าสูญหาย เช่นตามห้างสรรพสินค้า RFID จะถูกนำไปติดที่สินค้าหรือหลังบาร์โค้ดสินค้า และจะมีเสาตรวจจับสัญญาณที่ด้านหน้าประตูทางออก หากสินค้าถูกนำออกมาโดยไม่ได้ชำระเงินเครื่องจะสามารถตรวจจับสัญญาณได้ ซึ่งหากสินค้าถูกนำไปชำระเงินที่เค้าเตอร์ tags จะถูกดึงออกหรือถูกทำลายสนามแม่เหล็กในตอนชำระเงิน เสาอากาศด้านหน้าประตูก็ไม่สามารถตรวจจับสัญญาณได้ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้า เช่น บิ๊กซี, โลตัส, คาร์ฟูล เป็นต้น

 

 

      1.2 ชนิดหน่วยความจำมากกว่า 1 บิต (Data Carrier Type)
         RFID ชนิดนี้จะใช้ Tags ที่มีไมโครชิพและหน่วยความจำเป็นส่วนประกอบสำคัญ โดยบางชนิดสามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุดถึง 64 กิโลไบต์ มักใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมหรืองานทั่วไปที่ต้องใช้ Tags ในการเก็บข้อมูล

      2. จำแนกโดยลักษณะการคล้องของสัญญาณ
 


          2.1 Close Coupling เป็นระบบ RFID ที่มีระยะในการอ่าน / เขียนข้อมูลสั้นมากประมาณ 0-1 เซนติเมตร ดังนั้น Tags จะต้องอยู่ใกล้หรือวางอยู่บนเครื่องอ่าน คลื่นความถี่ที่ใช้เริ่มตั้งแต่ 0 Hz จนถึง 50 MHz โดยระบบนี้จะนิยมนำมาใช้กับงานที่ต้องการความปลอดภัยค่อนข้างสูง แต่ไม่ต้องการการติดต่อในระยะที่ไกล ตัวอย่างเช่น ประตูอัตโนมัติ

          2.2 Remote Coupling เป็นระบบที่มีระยะการอ่าน/เขียนสูง ไกลถึง 1 เมตร ซึ่งจะใช้หลักการคล้องสัญญาณแบบ Inductive (Magnetic) Coupling ระหว่างเครื่องอ่านกับ Tags ในปัจจุบันระบบ RFID ใช้หลักการนี้ประมาณ 90-95% ของระบบทั้งหมด โดยความถี่ที่ใช้อยู่ที่ต่ำกว่า 135 KHz หรือ 13.56 MHz และ 27.125 MHz ระบบนี้พบมากในลักษณะงานอุตสาหกรรมเช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออิเล็คทรอนิกส์ เป็นต้น

           2.3 Long Range เป็นระบบที่มีระยะการอ่าน/เขียนอยู่ระหว่าง 1 ถึง 10 เมตรหรือบางระยะอาจไกลกว่านี้ ความถี่ที่ใช้ไมโครเวฟ (Microwave) ซึ่งอยู่ที่ความถี่ 2.45 GHz บางครั้งจะพบที่ระดับ 915 MHz, 5.8 GHzและ 24.125 GHz ลักษณะงานที่ใช้ระบบ RFID แบบนี้จะเป็นงานที่ต้องการการสื่อสารระยะไกล เช่น ระบบชำระเงินอัตโนมัติของทางด่วน

        3. จำแนกตามความสามารถของระบบ
        
      
3.1 ระบบอ่านอย่างเดียว (Read Only System)
ถือว่าเป็นระบบที่ Low end ที่สุด Tags มีข้อมูลซึ่งจะอยู่ในรูปแบบ Serial Number และไม่สามารถเขียนข้อมูลใหม่ลงไปได้ เหมาะกับงานที่ต้องการอ่านอย่างเดียวเช่น แยกแยะความแตกต่างของสินค้า ความถี่ที่ใช้งานจะอยู่ที่ต่ำกว่า 135 KHz หรือ 2.45 GHz

        3.2 ระบบอ่านเขียน (Read-Write System)
จะจัดอยู่ในระดับ Mid-range ของระบบ RFID Tags โดยสามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้ โดยมีความจุอยู่ที่ 16 byte จนถึง 16 Kb หน่วยความจำที่ใช้จะเป็นชนิด EEPROM หรือ SRAM ความถี่ที่ใช้อยู่ที่ 135 KHz, 12.56 MHz, 27.125 MHz และ 2.45 GHz

        3.3 ระบบไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor System)
เป็นระบบที่จัดอยู่ในระดับ High end เพราะมีไมโครโปรเซสเซอร์เป็นตัวประมวลผล Tags ระบบนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายและมีฟังก์ชันการสร้างรหัสลับ (Cryptological Functions) สามารถนำไปใช้งานที่เกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัย ย่านความถี่ที่ใช้จะอยู่ที่ 13.56 MHz หน่วยความจำที่ใช้งานจะมีขนาดตั้งแต่ น้อยๆ จนถึง 16 Kb และหน่วยความจำจะเป็นชนิด EEPROM 

ความปลอดภัยของข้อมูล กับเทคโนโลยี RFID 

 

 

เทคโนโลยี RFID ในปัจจุบันได้ถูกนำเข้ามาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลลงในบัตรเช่น บัตรพนักงาน บัตรรถไฟฟ้า หรือนำมาใช้ในระบบขนส่งสินค้า ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับไปได้ถึงเส้นทางการขนส่งและรายละเอียดอื่น ๆ ซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์มาก

แล้วความปลอดภัยของข้อมูลละ จะเชื่อได้อย่างไรว่าคนอื่นจะไม่สามารถอ่านข้อมูลเหล่านั้นได้

การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ RFID มีประสิทธิภาพสูงมาก เนื่องจากจะต้องผ่านการเข้ารหัสลับและการพิสูจน์ตัวจริง (Authentication) ซึ่งมีรูปแบบหลัก ๆ อยู่ 2 รูปแบบคือ การใช้

  1. อัลกอลิทึมแบบสมมาตร (Symmetric algorithm)

  2. อัลกอลิทึมแบบอสมมาตร (Asymmetric algorithm)

ซึ่งทั้งสองระบบนี้เป็นการเข้ารหัสแบบอาศัยกุญแจลับ เมื่อมีการนำส่งข้อมูลที่มีความสำคัญมาก ก็จะมีการเข้ารหัสแนบไปกับตัวข้อมูล เรียกว่า Encrypt และ เมื่อผู้รับได้รับก็จะมีการถอดรหัสที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน เรียกว่า Decrypt

 การเข้ารหัสแบบสมมาตร (Secret-key algorithm)เมื่อ A ทำการส่งข้อความ ข้อความนั้นก็จะถูกนำเข้ารหัสด้วยกุญแจส่วนตัว (Private Key)กลายเป็นข้อความลับ (Cipher text)เมื่อ B ได้รับข้อมูลก็จะใช้กุญแจชุดเดียวกันถอดรหัสข้อมูล แต่ถ้าระหว่างทาง C แอบฟังข้อมูลอยู่ C จะเห็นว่าเป็นข้อความลับแต่ไม่ทราบรหัสกุญแจก็ไม่สามารถตีความได้

 สมมุติตัวอย่างง่าย ๆ A ต้องการส่งข้อความให้ B โดยส่งสัญญาณเป็น ไบนารี่โค้ด 1001 ค่ากุญแจ 1101 โดยจะมีการเข้ารหัส XOR (1001 กับ 1101 จะได้ 0100 ซึ่งเป็นค่าที่ C ได้เห็น แต่ B มีโค้ดกุญแจในการถอดรหัส ก็จะถอดออกมาเป็น 1001 XOR กับ 0100 เท่ากับ 1101 ซึ่งเป็นข้อความที่ถูกต้อง

 การเข้ารหัสแบบอสมมาตร คือการเข้ารหัสแบบกุญแจสาธารณะ (Public-Key algorithm)จะต่างจากแบบแรกตรงการเข้ารหัสลับและใช้กุญแจถอดรหัสลับต่างกัน คือจะเข้าโดยใช้รหัสกุญแจสาธารนะ ซึ่งผู้ใช้กุญแจสาธารณะก็จะต้องมีกุญแจส่วนตัวซึ่งเป็นคู่เฉพาะจึงจะสามารถเปิดได้ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากในการคาดเดารหัสลับ(กุญแจส่วนบุคคล)นับว่าการเข้ารหัสแบบนี้มีความซับซ้อนสูง และมีความปลอดภัยสูงเช่นกัน

 การเข้ารหัสแบบนี้เหมาะกับงานรักษาความปลอดภัยแบบกระจาย (Many-to-many) เช่นระบบการขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต จะใช้ระบบกุญแจสาธารณะซึ่งสามารถมีจำนวนมากในการเข้าสลักการสั่งสินค้าได้ ส่วนการถอดสลักโดยบริษัทจะมีกุญแจส่วนตัวเฉพาะของบริษัทเท่านั้น

การพัฒนาระบบ RFID


           การพัฒนาระบบ RFID เป็นการนำแนวความคิดในการนำคลื่นวิทยุมาใช้ เพื่อแสดงตำแหน่ง โดยการนำข้อมูลที่ต้องการส่ง มาทำการมอดูเลต(Modulation)กับคลื่นวิทยุแล้วส่งออกผ่านทางสายอากาศที่อยู่ในตัวรับข้อมูลและได้พัฒนามาเพื่อแทนระบบบาร์โค้ด(Barcode)ในปัจจุบันได้มีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานด้านอื่นๆนอกเหนือจากการนำมาใช้ในระบบบาร์โค้ดแบบเดิม เช่น ใช้ในบัตรชนิดต่างๆ (บัตรสำหรับเข้าออกตามหอพัก บัตรจอดรถตามศูนย์การค้า) บางครั้งอาจพบอยู่ในรูปของแท็กสินค้าซึ่งมีขนาดเล็กจนสามารถแทรกลงระหว่างชั้นของเนื้อกระดาษได้ หรือาจจะเป็นแคปซูลขนาดเล็กฝังอยู่ในตัวสัตว์ เพื่อบันทึกประวัติต่างๆ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของการพัฒนา RFID


           โครงการ RFID เป็นโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์วงจรรวม Chip เดี่ยวเพื่อใช้ในบัตรอัจฉริยะ (Smart Card Chip) ชนิดไร้สัมผัส (Contactless) เพื่อสร้างต้นแบบให้กับผู้ประกอบการ RFID และ Smart Card ในประเทศไทย นำไปพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์ เป็นการยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนา ออกแบบ และผลิตอุปกรณ์ด้านวงจรรวม และสนับสนุนให้เกิดผลผลิตทางการออกแบบวงจรรวมของสถาบันวิจัยในประเทศ ซึ่งเป็นฐานสำหรับการพัฒนาบุคลากรทางด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง ทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างมากให้กับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

คลื่นพาหะในระบบ RFID

 
         ในปัจจุบันคลื่นพาหะที่ใช้งานกันในระบบ RFID จะอยู่ในย่านความที่ ISM (Industrial-Scientific-Medical) ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่กำหนดในการใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และการแพทย์ สามารถใช้งานได้โดยไม่ตรงกับย่านความถี่ที่ใช้งานในการสื่อสารโดยทั่วไป โดยมี 3 ย่านความถี่ใช้งาน คือ สำหรับคลื่นพาหะที่ใช้กันในระบบ RFID อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ย่านหลักๆ ได้แก่
♦ ย่านความถี่ต่ำ (Low Frequency : LH) ต่ำกว่า 150 KHz
♦ ย่านความถี่สูง (High Frequency : HF) 13.56 MHz
♦ ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency : UHF) 433/868/915 MHz


              ในแง่การใช้งาน 2 ย่านความถี่แรกจะเหมาะสำหรับใช้กับงานที่มีระยะการสื่อสารข้อมูลในระยะใกล้ (LH ระยะอ่านประมาณ 10-20 ซม. และ HF ระยะอ่านประมาณ 1 เมตร) เช่น การตรวจสอบการผ่านเข้าออกพื้นที่ การตรวจหาและเก็บประวัติในสัตว์
        ส่วนย่านความถี่สูงยิ่งจะถูกใช้กับงานที่มีระยะการสื่อสารข้อมูลในระยะไกล (UHF ระยะอ่านประมาณ 1-10 เมตร) เช่นระบบเก็บค่าบริการทางด่วน ซึ่งในปัจจุบัน ระบบ RFID กำลังถูกวิจัย และพัฒนาในย่านความถี่ไมโครเวฟที่ความถี่ 2.4 GHz และความถี่ 5.8 GHz เพื่อใช้งานที่ต้องการอ่านในระยะไกลกว่า 10 เมตร
           ในแง่ของราคาและความเร็วในการสื่อสารข้อมูล เมื่อเทียบกันแล้ว RFID ซึ่งใช้คลื่นพาหะย่านความถี่สูงเป็นระบบที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดและมีราคาแพงที่สุดด้วยเช่นกัน ส่วน RFID ที่ใช้คลื่นพาหะในอีกสองย่านความถี่จะมีระดับราคาและความเร็วลดหลั่นกันไป

อัตราการรับส่งข้อมูลและ Bandwidth

         อัตราการรับส่งข้อมูล (Data Transfer Rate) จะขึ้นอยู่กับความถี่ของคลื่นพาหะ โดยปกติถ้าความถี่ของคลื่นพาหะยิ่งสูง อัตราการรับส่งข้อมูลก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย ส่วนการเลือก Bandwidth หรือย่านความถี่นั้นก็จะมีผลต่ออัตราการรับส่งข้อมูลเช่นกันโดยมีหลักว่า Bandwidth ควรจะมีค่ามากกว่าอัตราการรับส่งข้อมูลที่ต้องการอย่างน้อยสองเท่า เช่น ถ้าใช้Bandwidth ในช่วง 2.4-2.5 GHz ก็จะสามารถรองรับอัตราการรับส่งข้อมูลได้ถึงประมาณ 2 megabits ต่อวินาที เป็นต้น แต่การใช้ Bandwidth ที่กว้างเกินไปก็อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณรบกวนมาก หรือทำให้ S/N Ratio ต่ำลงนั่นเอง ดังนั้นการเลือกใช้ Bandwidth ให้ถูกต้องก็เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณา

ตัวอย่างและประสบการณ์การนำเทคโนโลยี RFID มาใช้




         Wall Mart ร้านค้าปลีกชื่อดังของสหรัฐฯ ซึ่งมียอดขายปีละกว่า 250,000 ล้านดอลลาร์ ได้ออกระเบียบกำหนดให้ Suppliers รายใหญ่ 100 ราย เช่น Gillette, Nestle’, Johnsons & Johnsonsและ Kimberly Clark ติด RFID Chip บนหีบห่อ และกล่องบรรจุสินค้าให้เรียบร้อยก่อนส่งมาถึงห้าง ส่วน Suppliers รายเล็กๆ จะต้องติดชิปในรถส่งสินค้าให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2549 WallMart มองว่า เมื่อระบบดังกล่าวเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์จะช่วยให้บริษัททราบถึงการเดินทางของสินค้าได้ทุกระยะ ตั้งแต่โรงงานของ Suppliers จนถึงศูนย์กระจายสินค้าของห้าง และเมื่อใดที่สินค้าถูกหยิบออกจากชั้นไป RFID ก็จะส่งสัญญาณเตือนไปยังพนักงานให้นำสินค้ามาเติมใหม่ ทำให้ Wall Mart ไม่จำเป็นต้องเก็บสต็อกสินค้า แต่สามารถสั่งให้ Suppliers มาส่งของได้ทันทีรวมทั้งจะช่วย guarantee ว่าสินค้ามีวางจำหน่วยตลอดเวลา และประโยชน์ที่สำคัญอีกประการ
หนึ่งก็คือ จะช่วยลดปัญหาการโจรกรรมสินค้า และปลอม
แปลงสินค้าได้อีกด้วย

        Extra Future Store ซึ่งเป็น Supermarket ในเยอรมนี ก็ได้นำเทคโนโลยี RFID มาใช้งานแล้ว หากลูกค้าต้องการซื้อชีส ลูกค้าก็เพียงป้อนคำสั่งลงในหน้าจอระบบสัมผัสที่อยู่หน้ารถเข็น จากนั้นหน้าจอก็จะปรากฏแผนที่บอกทางไปสู่ชั้นวางชีส ทันทีที่ลูกค้าหยิบชีสจากชั้นวาง ชิปที่ติดอยู่บนห่อชีสก็จะส่งสัญญาณข้อมูลไปยังแผ่นเก็บข้อมูลหนา 2 มิลลิเมตรที่อยู่ใต้ชั้นวาง และอุปกรณ์ตรวจจับที่อยู่บนแผ่นดังกล่าวก็จะส่งสัญญาณแจ้งไปยังฐานข้อมูลของคลังสินค้าว่า ชีสห่อนั้นถูกหยิบออกจากชั้นไปแล้ว ขณะเดียวกันข้อมูลดังกล่าวก็จะถูกส่งต่อไปยังบริษัทผู้ผลิตชีสด้วย และเมื่อข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคถูกเก็บรวบรวมไว้มากพอสมควรจนสามารถกำหนดเป็นพฤติกรรมการบริโภคได้แล้ว บริษัทผู้ผลิตและร้านค้าก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ในการวางแผนการตลาดที่เหมาะสมและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น

   ห้าง PRADA ที่อยู่กลางกรุงนิวยอร์ก ก็ได้ทดลองนำชิปไปติดไว้กับเสื้อผ้า เมื่อใดที่ลูกค้าหยิบชุดขึ้นมา และถือไว้ใกล้ๆ กับ RFID Reader จอภาพก็จะปรากฎภาพนางแบบที่สวมชุดนั้นอยู่เพื่อให้ลูกค้าดูเป็นตัวอย่างอีกด้วย

การประยุกต์ใชเทคโนโลยี RFID ในห่วงโซ่อุปทาน และระบบลอจิสติกส์

      การนำเทคโนโลยี RFID เข้ามาประยุกต์ใช้ในโลกธุรกิจ สามารถทำได้มากมาย แต่ตัวอย่างที่ชัดเจนและมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดก็คงหนีไม่พ้นในห่วงโซ่อุปทาน และระบบลอจิสติกส์ด้วยเทคโนโลยี RFID ที่ติดไว้ในผลิตภัณฑ์ จะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆสื่อสารระหว่างกันได้ และยังสามารถสื่อสารไปยังหน่วยธุรกิจและผู้บริโภคได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นการปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในกระบวนการผลิต การขาย และการจับจ่ายซื้อสินค้า โดยมีตัวอย่างวิธีการทำงานดังนี้ 
       เริ่มต้นที่ในโรงงานผลิตน้ำอัดลมกระป๋อง ซึ่งจะมีการนำแถบ RFID( RFID Tags) ไปติดไว้ที่น้ำอัดลมทุกกระป๋อง โดยแต่ละแถบ RFID ก็จะเก็บระหัสสินค้าที่ต่างกันไว้ ซึ่งแถบ RFID เหล่านี้เองจะช่วยให้สามารถระบุถึงรายละเอียดของสินค้าแต่ละกระป๋องได้ ดังนั้นการนับจำนวน และการติดตามสินค้าจึงเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากนั้นกระป๋องน้ำอัดลมเหล่านี้จะถูกบรรจุใส่ลังที่มีแถบ RFID ที่มีรหัสต่างกันติดไว้เช่นกันแล้วจึงขนเข้าไปในรถบรรทุกเพื่อรอการขนส่งต่อไป 


       เมื่อรถบรรทุกน้ำอัดลมกระป๋องเดินทางมาถึงศูนย์กระจายสินค้า เครื่องอ่าน RFID ซึ่งอยู่ในบริเวณที่รับสินค้าก็จะทำการตรวจสอบน้ำอัดลมทุกกระป๋องโดยไม่ต้องเปิดบรรจุภัณฑ์ออกมาจึงสามารถทำให้การจัดส่งน้ำอัดลมกระป๋องไปยังรถบรรทุกคันคันที่เหมาะสมในการขนถ่ายไปยังร้านค้าปลีกไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

     ร้านค้าปลีกจะสามารถติดตามสถานการณ์ขนส่งของน้ำอัดลมกระป๋องที่ตนสั่งให้ตลอดเวลา เมื่อน้ำอัดลมกระป๋องมาถึงก็จะผ่านโกดังสินค้าที่ติดเครื่องอ่าน RFID ไว้ ดังนั้นระบบการซื้อขายปลีกก็จะสามารถอัพเดทข้อมูลของน้ำอัดลมกระป๋องที่มาถึงได้โดยอัตโนมัติ และยังสามารถระบุตำแหน่งการจัดเรียงน้ำอัดลมกระป๋องทั้งหมด ในคลังสินค้าได้โดยอัตโนมัติเช่นกัน ทำให้การจัดเก็บสินค้ามีความถูกต้อง และประหยัดค่าใช้จ่าย

       ภายในร้านค้าปลีก ก็มีการติดตั้งเครื่องอ่าน RFID ไว้ที่วางของเช่นกัน เมื่อน้ำอัดลมกระป๋องถูกนำมาวาง ชั้นวางของก็จะทราบโดยอัตโนมัติว่ามีสิ่งใดมาวางที่ชั้น และเมื่อลูกค้ามาหยิบน้ำอัดลมกระป๋องออกไปจากชั้นวาง เครื่องอ่าน RFID ก็จะส่งข้อความไปยังระบบของทางร้านค้าปลีกโดยอัตโนมัติ ว่าสินค้าที่อยู่ในชั้นมีจำนวนลดลงให้นำสินค้าเข้ามาเติมให้เต็มอีกครั้ง ซึ่งในตัวระบบเองก็จะสามารถทำการสั่งซื้อไปยังโรงงานผลิตน้ำอัดลมกระป๋อง จึงจะส่งผลให้ต้นทุนในการรักษาสินค้าคงคลังถูกจำกัดลง 


       ในส่วนของผู้บริโภคก็จะได้รับความสะดวกสบาย มากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องไปเข้าคิวเพื่อรอการจ่ายเงินที่แคชเชียร์ ผู้ซื้อสามารถเดินออกจากประตูพร้อมกับสิ่งของที่ต้องการ แล้วเครื่องอ่านที่อยู่ที่ประตูทางออกจะสามารถจำแนกสินค้า ที่อยู่ในรถเข็นตามรหัสเฉพาะของสินค้าแต่ละชิ้นเพื่อการจ่ายเงิน โดยจะสามารถหักจากบัตรเครดิต หรือเดบิตก็ได้ เมื่อกลับถึงบ้านแล้วนำน้ำอัดลมกระป๋องที่ซื้อมาไปเก็บในตู้เย็น ในตู้เย็นก็จะมีการอัพเดทปริมาณน้ำอัดลมกระป๋องที่นำไปแช่เพิ่ม เมื่อใดก็ตามที่น้ำอัดลมกระป๋องหมดลง ตู้เย็นก็จะเพิ่มรายการเครื่องดื่มที่ต้องการซื้อจากราคาปลีกให้โดยอัตโนมัติ
ในส่วนของการทำลาย เมื่อกระป๋องน้ำอัดลมมาถึงศูนย์รีไซเคิล เครื่องอ่าน RFID ก็จะทำงานอัตโนมัติในการจัดกลุมของการทำรีไซเคิล ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงจากกระบวนการเดิมที่ทำด้วยมือ แล้วกระป๋องเหล่านี้ก็จะถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิตอีกครั้ง

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID ในอุตสาหกรรมรถยนต์

           การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID กับอุตสาหกรรมรถยนต์มีงานหลัก ๆ คือ การติดตามส่วนประกอบรถยนต์ ก็จะประกอบไปด้วย การบริหารสินค้าคงคลัง การประกอบรถยนต์ การป้องกันการขโมย การยืนยันความถูกต้องของตัวสินค้าว่าเป็นของแท้ไม่ได้มีการทำลอกเลียนแบบ การบำรุงรักษา และ การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle ) อีกด้านหนึ่งในส่วนของการประยุกต์ใช้กับตัวรถยนต์ ก็จะให้ความสำคัญในเรื่อง การแสดงตัวของรถยนต์แต่ละคัน การอนุญาตการเข้า-ออก ( การฝัง RFID ไว้กับกุญแจ หรือ คีย์การ์ดสำหรับเปิดประตูรถ ) และการติดตามวัดแรงดันของยางรถยนต์ เป็นต้น

บรรณานุกรม
Suksmith, Smith. “Introduction to RFID Technology.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www2.sipa.or.th/main/index.php?option=com_docman&task=doc_download&gid=20&Itemid=91. สืบค้น 15 ธันวาคม 2549.
ทวีศักดิ์ กออนันตกูล. “เทคโนโลยี RFID กับผลกระทบต่อประเทศไทย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://ict.moph.go.th/content/RFID.pdf. สืบค้น 15 ธันวาคม 2549.
“เทคโนโลยี RFID.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://angsila.compsci.buu.ac.th/~sc440061/%CB%D1%C7%A2%E9%CD%CA%D1%C1%B9%D2/%C3%D2%C2%A7%D2%B9%CA%D1%C1%C1%B9%D21/TECHNOLOGY_RFID1.doc.. สืบค้น 14 มกราคม 2550.
ธวัช วราไชย. “เอกสารเชิงวิเคราะห์ : ปัญหาที่เกิดจากการใช้งานเทคโนโลยี RFID.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.lib.tsu.ac.th/index.php?option=com_docman&task=cat_view&gid=28&Itemid=60. สืบค้น 15 มกราคม 2550.
นฤมล นำจันทร์. “RFID เทคโนโลยีฉลากแห่งอนาคต.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://angsila.compsci.buu.ac.th/~sc440061/%CB%D1%C7%A2%E9%CD%CA%D1%C1%B9%D2/RFID.ppt. สืบค้น 16 มกราคม 2550.
บุรินทร์ อรุณโรจน์. “RFID เทคโนโลยีที่ต้องตามให้ทัน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/pep_11_2548_rfid.pdf. สืบค้น 15 ธันวาคม 2549.
ลัคน์ มูสิกะนุกูล. “RFID วิวัฒนาการอีกก้าวของโลกไอทีไร้สาย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://itmc.tsu.ac.th/paper/it002.doc. สืบค้น 15 ธันวาคม 2549.
วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์. “เทคโนโลยี RFID กับห้องสมุด.” วารสารบรรณารักษศาสตร์ 26, 2 (2549) : 11-20.
วัชรากร หนูทอง และ อนุกูล น้อยไม้. “RFID หนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.nectec.or.th/pressnews/bid/RFID/RFID_technology_final2.pdf. สืบค้น 15 ธันวาคม 2549.
วีรพล พัวพันธ์.”เทคโนโลยี RFID.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://industrial.se-ed.com/itr93/itr93_107.asp#3สืบค้น 15 มกราคม 2550.
สมนึก สมชัยกุลทรัพย์. “ตัวอย่างแล

คำสำคัญ (Tags): #rfid1
หมายเลขบันทึก: 385659เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2010 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท