Dr Nafi เยี่ยมและสัมภาษณ์ Nurse facilitators โครงการวิจัยระงับปวดในเด็ก


Dr Nafi Diop เยี่ยมและสัมภาษณ์ Nurse facilitators โครงการวิจัยระงัปวดในเด็ก Pediatric pain management in Urban and rural Thailand, Agu 16, 2010 ณ แผนกการพยาบาลโรงพยาบาลศรีนครินทร์

การจัดการความปวดในเด็กเป็นสิ่งท้าทายที่ได้รับการกล่าวถึงและให้ความสำคัญมากขึ้นในวงการแพทย์และพยาบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กบรรเทาความทุกข์ทรมานจากความปวด รวมทั้งช่วยเหลือดูแล การจัดการ ให้แนวทาง และให้การประคับประคองเด็กและครอบครัวให้พ้นจากความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นมากที่สุด วันที่ 16 สิงหาคม 2553 ภาคเช้า Dr Nafi เข้าพบปะเยี่ยมชมกิจกรรมและผลลัพธ์การจัดการความปวดในเด็ก โรงพยาบาลขอนแก่น ในความร่วมมือกับโครงการระงับปวด  Pediatric pain management in Urban and rural Thailandระหว่างประเทศไทย และ แคนาดา โดยคุณปราณี สื่อเจริญ (น้องปู) project manager ทีมไทย ได้นำ Dr Nafi ไปที่โรงพยาบาลขอนแก่น  Dr Nafi เล่าว่าได้เข้าสัมภาษณ์ NFs และแพทย์เด็ก เห็นภาพรวมการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่น่าพอใจ

บ่ายฉันรอที่แผนกเด็ก โดยมีผู้ตรวจการ พี่สุชีลา เกษตรเวทิน ซึ่งอยู่ในทีมวิจัยด้วย พี่หัวหน้าตึก พี่คำหยาด ไพรี พี่สุดารัตน์ สุภาพงษ์ และทีม NFs ศรีนครินทร์ 5ท่าน  และมีแพทย์เด็ก 3 ท่าน รอรับ หลังจากทักทายแนะนำทำความรู้จัก NFs โดยพี่สุดารัตน์ นำเสนอ outcome ของ Srinagarind NFs เกิดอะไรขึ้นบ้างทั้งต่อผู้ป่วย องค์กร แผ้ปฏิบัติงาน จากนั้น Dr เริ่มคำถามทีละเช่น

1. อยากให้แต่ละท่านได้บอกเล่าบทบาทที่ตัวเองทำหรือเกี่ยวข้องกับการจัดการความปวดในเด็กณ ปัจจุบัน และทำอย่างไร? (NFs และแพทย์เด็ก รวมทั้งผู้บริหารได้แลกเปลี่ยน)

2. ให้บอกถึงอะไรที่ยาก อะไรที่ง่าย ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดการความปวดในเด็กที่ท่านทำอยู่? (บอกได้ทั้ง positive และ negative)

3.  อะไรคือความท้าทาย ที่อยากจะให้เกิด หรือทำการพัฒนาการจัดการความปวดในเด็ก

4. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของพวกท่านเกี่ยวกับการจัดการความปวดในเด็ก คืออะไรบ้าง

Dsc009041

Dsc009061

Dsc009081

ทางแผนกการพยาบาลกุมาร มองหงษ์ซึ่งเป็นฝีมือของเด็กและญาติ ตามธรรมเนียมไทยค่ะ

ทั้งผู้ประเมินและทีม NFs มีความสุขทุกถ้วนหน้าค่ะ ซึ่งรายงานการประเมินครั้งนี้ ( Dr  Nafi ย้ำ ไม่ใช่การประเมิน แต่มาเรียนรู้ด้วย..ค่ะ) ทาง Dr Nafi จะส่งให้ทีวิจัยดูร่วมกันอีกที และแจ้ง NFs และผู้บริหารแผนกทราบ

 

"งานวิจัยช่วยพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาระบบการดูแลการจัดการความปวดให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป"

Kesanee, Co-investigator Pediatric paina management in urban and rural Thailand..updated Aug 17, 2010, 16:08 pm.

 

หมายเลขบันทึก: 385645เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2010 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะพี่เกด

มาชมกิจกรรมดีๆค่ะ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมแรงร่วมใจ ช่วยเด็กป่วยหายปวด ชื่นชมค่ะ

ขอบคุณค่ะ

P งานวิจัยการระงับปวดในเด็ก เป็น action research คนในพื้นที่ได้พัฒนางานไปด้วย ขณะเดียวกันเด็กได้รับการบรรเทาปวดที่ดียิ่งขึ้น ผู้ปฏิบัติทีมสุขภาพปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน และได้ถูกกำหนดเป็นนโยบายของหน่วยงานตามมา ขอบคุณค่ะอุ้ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท