IS


IS

 

                                                                  บทที่ 1   

 

บทนำ

 

ภูมิหลัง   

 

                การพัฒนาประเทศชาติ  จะเป็นไปอย่างรวดเร็วหรือล่าช้าย่อมขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่จัดการศึกษาให้กับประชากรของประเทศนั้น ๆ เพราะการจัดการศึกษาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้ประชากรได้รับการศึกษา  เพื่อมุ่งผลไปสู่การพัฒนาประเทศและที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาประเทศ  การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้านั้น  สิ่งสำคัญที่สุดคือการที่จะต้องพัฒนาด้านการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ  การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต  เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ ตลอดช่วงชีวิต  ตั้งแต่การวางรากฐานพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่แรกเกิด  การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านต่าง ๆ ที่จะดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข

                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐ จะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
               
มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
                 มาตรา 52 เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็ก และเยาวชนเป็นสำคัญ เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม ทั้งมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟู ในกรณีที่มีเหตุดังกล่าวการแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้นเด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ
               
มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้

                                (1) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา ปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบัน ครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือ ทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้

                                (2) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มี มาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา สุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐาน วิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

                                (3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมาย เพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้า ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทยมีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

                                (4) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพ การศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

                                (5) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ และเผยแพร่ข้อมูล ผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ

                                (6) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก และเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดความมุ่งหมายและ

หลักการของการจัดการศึกษาไว้ในมาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การศึกษาจะช่วยสร้างความเจริญทางความคิด จิตใจ ทั้งยังพัฒนาตนเองด้านต่างๆ ตลอดช่วงชีวิตเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลระหว่างความเจริญทางจิตใจกับและความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ในการพัฒนาคนนั้นจะต้องให้มีความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมต้องควบคู่กันไปเสมอ เพราะเมื่อบุคคลหนึ่งมีความรู้ แต่มีความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมจะนำไปสู่การใช้ความรู้ในทางที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งตนเอง และส่วนรวม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2542 : 5)

                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อมความเหมาะสม  และความต้องการภายในท้องถิ่น โดยกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีหน้าที่ในการประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและได้มาตรฐานการศึกษา รวมทั้งเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542  มาตรา 16 ข้อ (6) เรื่องการจัดการศึกษา ให้องค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง

                ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครู  มีความสนใจเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อที่จะได้พัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า  

 

เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนชุมชนบ้านโนนสวาง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

 

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า      

               

                1. ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง  พัฒนา  การดำเนินงานของโรงเรียนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

                2.  นำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้เป็นไปอย่างมีระบบ 

                3.  นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนต่อไป

                4. เป็นข้อมูลพื้นฐานให้สามารถจัดโครงการประเมินผลการดำเนินงานของผู้บริหาร  ครู  และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า  

 

1.  เนื้อหา 

การศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้  มุ่งศึกษาการบริหารงานโรงเรียนชุมชนบ้านโนนสวาง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2  ดังนี้

                            1. ด้านการบริหารงานวิชาการ

                            2. ด้านการบริหารงานบุคคล

                            3. ด้านการบริหารงบประมาณ

                            4. ด้านการบริหารทั่วไป

                               

                2.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

 

กลุ่มตัวอย่างผู้ศึกษากำหนดขนาดของตัวอย่างจากตามรางกำหนดขนาดตัวอย่างของ Robert V.Krejcie and Earyle W.Morgan  ได้จำนวน  162  คน ทำการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลาก

 

3.  ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

 

                        3.1  ตัวแปรอิสระ  ได้แก่

                                       3.1.1  เพศ 

                                       3.1.2  อาชีพ 

                                3.2  ตัวแปรตาม  ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนชุมชนบ้านโนนสวาง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2  จำแนกเป็น  4 ด้าน คือ

                                             3.2.1  ด้านการบริหารงานวิชาการ

                                            3.2.2  ด้านการบริหารงานบุคคล

                                            3.2.3  ด้านการบริหารงบประมาณ

                                            3.2.4  ด้านการบริหารทั่วไป

 

 

 

                               

 

นิยามศัพท์เฉพาะ 

 

1. ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษา   หมายถึง ความรู้สึกที่ดี  ความรู้สึกชอบ  ที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนชุมชนบ้านโนนสวาง  ในสภาพการจัดองค์ประกอบที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน  การจัดกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนของผู้ปกครอง  4  ด้าน  ดังนี้

1.1  ด้านการบริหารงานวิชาการ  หมายถึง  การดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดระบบการเรียนการสอน  การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร  การวัดผลและประเมินผลการเรียน  รวมทั้งการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและส่งเสริมความสามารถทางวิชาการของนักเรียน  อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของภารกิจของสถานศึกษา

1.2  ด้านการบริหารงานบุคคล  หมายถึง  การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านบุคลากรที่มีอยู่ให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ประกอบด้วย  การจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงาน  การพัฒนาบุคลากร  เช่น  การอบรม  การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานต่าง ๆ

1.3  ด้านการบริหารงบประมาณ  หมายถึง  การจัดทำและเสนองบประมาณการจัดสรรงบประมาณ  การตรวจสอบ  ติดตาม  ประเมินผล  รายงานผลการใช้เงินผลการดำเนินงานการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา  การบริหารการเงิน  การบริหารบัญชี  การบริหารพัสดุและการคุมค่าใช้จ่ายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดจนดูแลความสะดวกต่าง ๆ

1.4  ด้านการบริหารทั่วไป  หมายถึง  การดำเนินงานเกี่ยวกับตัวนักเรียนโดยมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์แก่นักเรียน  เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนในหลักสูตรให้บรรลุสำเร็จยิ่งขึ้น  รวมทั้งมีการประสานสัมพันธ์ระหว่างชุมชนในด้านการรับ – ส่ง ข่าวสารข้อมูลถึงผู้ปกครอง พร้อมรับข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากชุมชน

2.  ผู้ปกครองนักเรียน  หมายถึง  บิดา  มารดา  หรือผู้ปกครองที่ไว้วางใจจนฝากบุตร – ธิดา  มาอยู่ด้วยและส่งเข้าเรียนในโรงเรียนชุมชนบ้านโนนสวาง    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

3.  การจัดการศึกษา  หมายถึง  การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนของโรงเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

กรอบแนวคิดในการศึกษาค้นคว้า

 

                การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษา ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนชุมชนบ้านโนนสวาง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2   ตามแผนภูมิแสดงกรอบแนวคิดในการศึกษาค้นคว้าดังนี้

 

แผนภูมิแสดงกรอบแนวคิดในการศึกษาค้นคว้า

 

 

ตัวแปรอิสระ                                                                        ตัวแปรตาม

 

1.  เพศ 

2.  อาชีพ 

 

การบริหารงานโรงเรียน  4  ด้าน

     1. ด้านการบริหารงานวิชาการ

     2. ด้านการบริหารงานบุคคล

     3. ด้านการบริหารงบประมาณ

    4. ด้านการบริหารทั่วไป

 

 

 

 

               

 

 

 

 

 

บทที่  2

 

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

 

                ในการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ เรื่อง  ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนชุมชนบ้านโนนสวาง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2   ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยลำดับเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1.  สภาพทั่วไปของโรงเรียนชุมชนบ้านโนนสวาง  อำเภอกุดข้าวปุ้น  จังหวัดอุบลราชธานี
2.  ทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษา

3.  ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

                4.   ขอบข่ายของการบริหารการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

                5.  ทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ

                6.  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                                งานวิจัยในประเทศ

                                งานวิจัยต่างประเทศ

               

สภาพทั่วไปของโรงเรียนชุมชนบ้านโนนสวาง

 

                โรงเรียนชุมชนบ้านโนนสวาง  ตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน  2478  ครั้งแรกตั้งขึ้นเป็นสาขาของโรงเรียนบ้านโคกเลาะ  เขตบริการของโรงเรียนคือ  หมู่ที่ 1  บ้านโนนสวาง  หมู่ที่  2  บ้านหนองยาง  หมู่ที่  3  บ้านโนนสังข์  หมู่ที่  15  บ้านโนนสวางน้อย  หมู่ที่  18  บ้านโนนสวางบูรพา  หมู่ที่  19  บ้านโนนสังข์ 

                ที่ตั้งเลขที่  231  หมู่ที่  1  ตำบลโนนสวาง  อำเภอกุดข้าวปุ้น  จังหวัดอุบลราชธานี  รหัสไปรษณีย์  34270  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  อุบลราชธานี  เขต  2 

               

 

 

 

 

ตารางที่  2.1  ข้อมูลแสดงจำนวนนักเรียน  ปีการศึกษา  2553  โรงเรียนบ้านโนนสวาง

 

ที่

ระดับ

จำนวนนักเรียน

หมายเหตุ

1

อนุบาล 2

40

 

2

ประถมศึกษาปีที่ 1

38

 

3

ประถมศึกษาปีที่ 2

27

 

4

ประถมศึกษาปีที่ 3

40

 

5

ประถมศึกษาปีที่ 4

36

 

6

ประถมศึกษาปีที่ 5

52

 

7

ประถมศึกษาปีที่ 6

47

 

รวม

280

 

 

ข้อมูลข้าราชการครูและบุคลาการทางการศึกษา

                ผู้บริหาร                                2   คน

                ครู                                           14  คน

                ลูกจ้างประจำ                         2  คน

                                รวม                        18  คน

 

ทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษา

 

            พนม พงษ์ไพบูลย์ (2546 : 321 - 335) ได้กล่าวถึง แผนการศึกษาแห่งชาติที่กำหนดแนวนโยบายพัฒนาคุณภาพของการศึกษาเพื่อการดำเนินการ ดังนี้

                การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยให้สถานศึกษาปฏิบัติ ดังนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2541 : 55 - 56)

1. จัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น ให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เลือกเรียนในสิ่งที่สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด ความสามารถแสวงหาความรู้และฝึกการปฏิบัติในสภาพที่เป็นจริง รู้จักคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยครูทำหน้าที่เป็นผู้นำ จัดบรรยากาศ ใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมความรู้และการเรียนรู้ของผู้เรียน

2. จัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการส่งเสริมคุณลักษณะ ความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองดีของชาติ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อ โดยศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ทั้งนี้ เพื่อให้สาระของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น

3. สนับสนุนพ่อแม่ ผู้ปกครอง คนในชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน พระภิกษุ นักบวช ผู้นำทางศาสนา และผู้ประกอบอาชีพต่างๆ ให้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งประโยชน์แก่ผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อพัฒนาให้นักเรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข

4. จัดระบบประเมินการเรียนรู้ตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีที่หลากหลาย ทั้งในระดับบุคคล ห้องเรียน โรงเรียน ท้องถิ่น เขตพื้นที่และระดับชาติโดยมีการประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างได้สัดส่วนกับการประเมินผลด้านวิชาการ

5. จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งในด้านความถูกต้องและความเหมาะสมของเนื้อหาที่สอน วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมและผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการสอนให้ทันสมัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

6. สถาบันผลิตครูต้องปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการผลิต การบริหาร การจัดการและการพัฒนา เพื่อให้สามารถผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของหน่วยงานใช้ครู เช่น ครูและบุคลากรทางการศึกษาสำหรับการศึกษาพิเศษ ครูและบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งความต้องการของชุมชนและของประเทศโดยรวม

7. สถานศึกษาในฐานะหน่วยงานใช้ครูดำเนินการให้มีการบริการ งานบุคคลที่สอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนด และจัดระบบ การประเมินคุณภาพภายในของครู เพื่อให้ประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้เรียนและการพัฒนาตนเองของครูและบุคลากรทางการศึกษา

8. สถานศึกษาในทุกระดับการศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาและจัดทำรายงานประจำปีเปิดเผยต่อสาธารณชน รวมทั้งจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก

 

 

 

 

 

 

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542

 

การปฏิรูปการศึกษามีความมุ่งหมายที่จะจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถและมีความสุข การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องมีการกระจายอำนาจ และให้ทุกฝ่าย มีส่วนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (2546 : 6) การที่ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษาอย่างเข้มแข็งจะนำมาซึ่งกระบวนการประชาคมในท้องถิ่นนั้นก็เข้มแข็งด้วยเช่นกัน เพราะจะทำให้เกิดพลัง อาจต่อยอดไปสู่กิจกรรมชุมชนที่ดีอื่นๆ อีกมากมาย สำนักงานปฏิรูปการศึกษา  (2545  :  84)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนด ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาและกำหนดหลักการจัดการศึกษาไว้ในมาตรา 6 และมาตรา 8 ดังนี้

“การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”

การจัดการศึกษาต้องยึดหลัก เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับ ประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และมีการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ความสำเร็จ ในการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2542 จำเป็นต้องมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาและเพิ่มการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจากทุกส่วนของสังคม

มาตรา 9 ได้วางหลักการพื้นฐานสำคัญในการปรับเปลี่ยนระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการที่มีจุดมุ่งหมายไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ไว้ 6 ประการ คือ

1. การมีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ

2. การกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาและการจัดระบบการประกัน คุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา

4. การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทาง การศึกษาและการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

5. การระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา

6. การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

ในมาตรฐาน 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสารและ รู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการรวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่าง ชุมชน

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนที่แวดล้อมนักเรียน องค์กรรัฐหรือองค์กร เอกชนสถานประกอบการ จะเห็นว่า สถาบันเหล่านี้มีส่วนช่วยสนับสนุนและส่งเสริม การจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาดังกล่าว อย่างมีประสิทธิภาพ

                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 มาตรา 41 บัญญัติ ไว้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น  (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ,2542  :   22)

                การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิ์ และโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากรัฐ เอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นๆ มีสิทธิ์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยมีการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น ในการนี้ให้กระทรวงมีหน้าที่ประสานและส่งเสริม ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและได้มาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงินและทรัพย์สินจากทั้งรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจเก็บภาษี เพื่อการศึกษาได้ตามความเหมาะสม มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาการบริจาคทรัพย์สินตลอดจนการมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรด้วย

 

 

 

 

 

ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

 

               แนวนโยบายการจัดการศึกษาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2545–2559

วิสัยทัศน์

                 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ และศักยภาพคนในท้องถิ่น ให้มีคุณลักษณะที่สามารถบูร

คำสำคัญ (Tags): #is
หมายเลขบันทึก: 385632เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2010 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท