บรรยายการจัดการความรู้ "โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา"


โดย ดร.ตวงอัฐ ชัยกิจโกสีย์

โดย ดร.ตวงอัฐ ชัยกิจโกสีย์

กลับมาอีกครั้งกับการบรรยาย KM โรงพยาบาลให้กับ "โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา" ก่อนอื่นคงต้องขอเล่าประวัติการทำ KM ของทางผู้ฟังที่เข้าร่วมสัมมนาอย่างคร่าวๆก่อนครับ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้เริ่มต้นทำ KM มาได้หลายปีเเล้วโดย ดร.เพ็ญศรี รักษ์วงศ์ (ผู้ที่ได้เชิญผมมาบรรยายที่นี่) เป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อน โดยจะมีการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) จากพยาบาลกลุ่มต่างๆ มาร่วมกันสร้าง Best practice เพื่อเเก้ไขปัญหาในการทำงาน ที่เกิดขึ้นซ้ำเเล้วซ้ำเล่า รวมถึงการสร้างนวัตกรรมด้านการเเพทย์เเละการพยาบาลใหม่ๆจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้ทดลองทำด้วยตนเองมาเเล้วทั้งสิ้น สมาชิก CoPs เเต่ละกลุ่มให้ความร่วมมือในการทำ KM เป็นอย่างดี ทั้งเสียสละเวลาที่ต้องทำนอกเหนือจากภาระหน้าที่หลักที่ต้องดูเเลผู้ป่วยซึ่งก็ถือว่ารับภาระหนักพออยู่เเล้ว เเต่ด้วยมองเห็นความสำคัญในการทำ KM ทั้งพยาบาลเเละหมอจึงได้ร่วมเเรงร่วมใจผลักดัน KM ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

บรรยากาศในงานสัมมนาคราวนี้เป็นไปด้วยความสนุกสนานตาม Concept "ตลาดนัดความรู้" ที่ทางผู้จัดได้ให้พยาบาลเเต่ละกลุ่มออกบูธขายของเป็นร้านๆ ซึ่งของที่ว่านี้ไม่ใช่อะไรที่ไหนเเต่เป็นความรู้ที่ผู้ที่เข้าไปชมเเต่ละร้านต้องใช้เงินซื้อ (เงินปลอมที่ทางทีมงานเเจกให้) ท่านใดสนใจความรู้จากร้านค้าไหนก็ให้ไปร้านค้านั้นเเล้วเอาเงินเเลกความรู้กลับมา จะเห็นได้ว่าการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ลักษณะเเบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ที่ต้องการเรียนรู้ได้เห็นประโยชน์จากสิ่งที่เรียน ซึ่งถ้ามองตามทฤษฎีการเรียนรู้เเบบผู้ใหญ่ หรือ Andragogy (Adult Learning) เเล้วจะพบว่าผู้ใหญ่จะมีลักษณะการเรียนรู้ที่เเตกต่างไปจากที่เด็กเรียน กล่าวคือ ผู้ใหญ่จะเรียนรู้เมื่อเขาเหล่านั้นรู้สึกเห็นถึงประโยชน์ในองค์ความรู้นั้นๆ ไม่ว่าจะนำความรู้นั้นมาใช้ในการทำงานหรือในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเเตกต่างจากการเรียนรู้ของเด็กที่เรียนรู้เเบบชั้นเรียนมีอาจารย์สอนหนึ่งคน เรียนโดยที่ไม่ได้คิดว่าชอบหรือไม่

สิ่งหนึ่งที่ผมอดภาคภูมิใจเเทนองค์กรนี้ไม่ได้คือ บุคคลากรทั้งหมอเเละพยาบาลได้ให้ความสำคัญในการทำ KM เเละร่วมมือร่วมใจกันเป็นอย่างดี ทุกคนคิดเสมอว่าองค์กรเป็นของทุกคนไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ทำให้การทำ KM เริ่มต้นออกมาอย่างเป็นรูปธรรม

เเละผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่องเล่านี้คงเป็นประโยชน์ให้ใครหลายๆคนได้นำไปคิด ว่าอย่างน้อยก็มีองค์กรดีๆอีกมากที่เห็นประโยชน์ในการบริหารจัดการองค์ความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลากรที่มีความรู้ คือทรัพย์สินที่มีค่าต่อองค์กรที่ควรได้รับการพัฒนาต่อยอดเพื่อนำองค์กรไปสู่ "องค์กรเเห่งการเรียนรู้เเบบยั่งยืน" ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 385619เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2010 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นกำลังใจให้ครับ ประโยชน์เกิดกับการทำงาน สุดท้ายคนที่ได้รับก็คือผู้ป่วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท