ไขปริศนาการจัดการความรู้กับสิ่งที่ซ่อนอยู่ในองค์กร ตอนที่1


โดย ดร.ตวงอัฐ ชัยกิจโกสีย์: การจัดการความรู้เเบบไร้อคติ

โดย ดร.ตวงอัฐ ชัยกิจโกสีย์: ก่อนอื่นต้องขอกล่าวคำว่าสวัสดีกับผู้อ่านทุกๆท่านนะครับหลายต่อหลายครั้งที่มีการพูดถึงเรื่องการจัดการความรู้หรือ KM ไปต่างๆนานาบ้างก็ว่า KM ทำไปแล้วผลลัพท์จับต้องไม่ได้ บ้างก็ว่ามันเป็นกระแสยังไงก็ต้องทำ ทำได้ไม่ได้ไม่รู้แต่ต้องทำไว้ก่อน ภาครัฐบางหน่วยงานถึงกับเขียนการทำ KM ในองค์กรไว้ในแผนแม่บทเลยก็มี เมื่อกระแสความฮอทของเจ้า KM มาแรงขนาดนี้กอปรกับความไม่เข้าใจในความหมายและกระบวนการจัดการความรู้ที่ถูกต้อง ทำให้ผู้บริหารหลายๆองค์กรตั้งความหวังว่าเจ้า KM นี้จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องคนในองค์กรได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้วกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์ต้องอาศัยระยะเวลา กลับมาที่ว่าทำไมผมถึงใช้หัวข้อว่าปริศนาการจัดการความรู้หรือ Mystery KM ฟังดูแล้วดูลึกลับพิกล แต่ก็เป็นเรื่องที่หลายๆองค์กรกำลังทำและกำลังจะทำ และเป็นเรื่องที่เข้าใจยากและค่อนข้างลึกลับซับซ้อนแม้แต่กูรูในสายงาน KM ยังให้คำนิยามและความหมายที่แตกต่างกันออกไป มาว่าในความเข้าใจของผู้เขียนกันว่าการจัดการความรู้คืออะไร ว่ากันว่าในองค์กรองค์กรหนึ่งมีสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็นได้ในองค์กร สิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้เราจะเรียกว่า “Tangible asset” แต่สิ่งที่มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้เรียกว่า “Intangible asset” ซึ่งทรัพย์สินที่จับต้องได้และเห็นชัดเจน เช่น โต๊ะ, เก้าอี้, notebook, โทรศัพท์ รวมถึงความรู้และข้อมูลต่างๆที่อยู่ในรูปแบบเอกสาร เป็นต้น แต่ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้และมองไม่เห็นคือพวกความรู้หรือประสบการณ์ทำงานของพนักงานในองค์กรเอง จากงานวิจัยหลายต่อหลายเล่มกล่าวว่าไอ้เจ้าสิ่งที่มองไม่เห็นนี้แหละเทียบเป็นสัดส่วนแล้วมีถึงร้อยละ 80 เทียบกับที่มองเห็นและจับต้องได้แค่ร้อยละ 20 จะเห็นได้ว่าความรู้ที่ถูกซ่อนอยู่ในตัวบุคลากรและไม่ถูกถ่ายทอดออกมาเยอะมาก ทุกวันนี้พนักงานใช้ศักยภาพในการทำงานเพื่อองค์กรและจับต้องได้แค่ร้อยละ 20 ดังนั้นจึงมีนักวิชาการหลายต่อหลายท่านนำแนวคิดการบริหารจัดการองค์ความรู้(ที่มองไม่เห็น) มาใช้เพื่อเก็บรักษา ถ่ายทอดรวมถึงการต่อยอดองค์ความรู้เหล่านี้เพื่อว่าวันหนึ่งที่ผู้ที่มีความรู้เหล่านี้ไม่ได้อยู่กับองค์กรแล้ว ผู้ที่จะมาทำงานแทนจะต้องสามารถศึกษาและเรียนรู้เทคนิคในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาต่างๆรวมถึงการสร้างทักษะในการทำงานเฉพาะบุคคลให้ดีกว่าของเดิมได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ถูกซ่อนอยู่เหล่านี้ถ้าไม่มีการบริหารจัดการที่ดีแล้วองค์กรเหล่านี้ก็จะเดินไปแบบสะเปะสะปะไม่มีทิศทาง คนเก่ามากด้วยประสบการณ์ออกไปก็รับคนใหม่เข้ามาแทนที่ต้องเสียทั้งเวลาและเงินที่ต้องลงทุนไปกับการฝึกคนให้มีความเก่งเทียบเท่าหรือมากกว่าคนเดิม สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของคำว่าการไขปริศนาการจัดการความรู้ ที่เต็มไปด้วยปัจจัยในการทำให้การทำ KM ในองค์กรล้มเหลว เนื่องจากมนุษย์เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนทั้งในแง่ของพฤติกรรมการทำงานร่วมกับผู้อื่นและความเต็มใจในการท่ายทอดสิ่งที่ตนเองรู้ให้กับเพื่อนร่วมงานเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 385604เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2010 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท