การทำ Temperature Reading ในครอบครัว


เรามองว่า การมีเวทีแบบนี้ในบ้าน ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น ทำให้เรากล้าพูด กล้าบอกความรู้สึกทั้งดี และที่ไม่ดีในขณะนั้นต่อกัน ซึ่งเราหวังว่า เมื่ออิมโตเป็นวัยรุ่นขึ้น เขาสามารถที่จะพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวของเขาให้เราฟัง เพื่อจะได้ป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

บ้านเราเป็นคริสเตียน จึงมีการนมัสการที่บ้านตอนกลางคืนทุกวันอาทิตย์ และหลังนมัสการ จะเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวในครอบครัว ซึ่งหนุ่มแฟนเรา ได้นำเครื่องมือตัวหนึ่งมาใช้ คือ Temperature Reading มันเป็นเทคนิคที่ได้มาจากการอบรม Satir โดยเราจะให้ทุกคนได้พูดคุยตามหัวข้อที่กำหนด คือ

1. Appreciate ตอนนี้เราอยากจะชื่นชมกันด้วยเรื่องอะไรบ้าง โดยให้ชื่นชมกันและกันรวมทั้งตนเองด้วย

2. Complain เราอยากจะบอกคนอื่นในเรื่องที่เรารู้สึกไม่ชอบ ไม่สบายใจอะไรบ้าง

3. Concern ความห่วงใยต่าง ๆ ที่มีต่อกัน

4. New information เรามีข่าวใหม่ ๆ อะไรที่จะบอกกันในช่วงนี้หรือไม่

โดยเราจะให้พูดกันทีละหัวข้อ ซึ่งน้องอิมจะชอบช่วงนี้มาก หลังนมัสการเขาจะต้องให้ทำแบบนี้ทุกครั้ง เพราะมันเป็นช่องทางทำให้คนในบ้านเราได้เปิดใจ ชื่นชมสิ่งที่ทำให้กัน สิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้น และได้บอกถึงเรื่องราวที่ทำให้เราไม่ชอบ เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไข และได้สื่อสารเรื่องที่เราอยากบอก

ตัวอย่างเช่น ช่วงการชื่นชม อิมก็จะชื่นชมป๊าเรื่อง การมีความรับผิดชอบในการเรื่องงาน การหาเงิน ชมม๊าเรื่องทำอาหารอร่อย ๆ ให้กิน ชื่นชมตัวเองเรื่องผลการเรียนที่ดีขึ้น หรืออื่น ๆ ที่มันเกิดขึ้นในช่วงนั้น ส่วนเรื่องไม่ชอบมันก็เป็นเวทีให้เขาได้ระบาย เช่นบางอาทิตย์เขาก็บอกว่าเขาไม่อยากให้เราหงุดหงิดบ่อย ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้มันเป็นการสะท้อนความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับเขา และสิ่งได้ให้โอกาสให้เขาได้บอกความรู้สึก ความต้องการ บางเรื่องมันทำให้เราที่เป็นพ่อและแม่ได้คิดว่าเขามีความรู้สึกนะ เราต้องปรับปรุงตัวบางอย่าง และตัวเขาก็เหมือนกัน เมื่อได้รับฟังสิ่งที่เราบอกว่าเขาต้องปรับปรุงตัวอะไร เขาก็จะได้รู้ตัวด้วย และบรรยากาศมันก็ OK เพราะเราคุยกันส่วนใหญ่บนเตียงนอน กลิ้งไปกลิ้งมาได้ มีเสียงหัวเราะ และสุดท้ายมีการให้ข้อมูลใหม่ ๆ เช่นอาทิตย์หน้า ป๊าไปราชการ หรือม๊าไม่อยู่ หรือตอนนี้อิมจะมีกิจกรรมอะไร

เรามองว่า การมีเวทีแบบนี้ในบ้าน ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น ทำให้เรากล้าพูด กล้าบอกความรู้สึกทั้งดี และที่ไม่ดีในขณะนั้นต่อกัน ซึ่งเราหวังว่า เมื่ออิมโตเป็นวัยรุ่นขึ้น เขาสามารถที่จะพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวของเขาให้เราฟัง เพื่อจะได้ป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ และเราอยากให้ครอบครัวอื่น ๆ ได้ลองนำวิธีนี้ไปใช้ดู ซึ่งเราใช้ได้ผลมาแล้ว

หมายเลขบันทึก: 385484เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2010 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดี ค่ะ

หัวข้อ น่าสนใจมาก อ่านแล้ว รู้สึกดี เราน่าจะเอาไปใช้ได้ ทั้งในบ้านและที่ทำงาน

ขอบคุณนะคะ ที่มีเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปันกัน ขอให้มีความสุขกับทุกวันค่ะ

ดีจังเลยค่ะ  เคยทำคล้าย ๆ กันค่ะ แต่ไม่ได้ทำอย่างเป็นทางการมากนักฮ่าๆๆ  นัดรวมตัวกันครบไม่ค่อยได้ พอได้ก็มักจะมีบางคนไม่ให้ความร่วมมือ (มีกันแค่ 3 คน)  แต่ยังขาดข้อ 3 กับข้อ 4 นะคะ  ขอบคุณมาก ๆ นะคะ ที่แบ่งปัน และขอแบ่งปันไปกระจายต่อนะคะ  เรื่องดี ๆ แบบนี้ต้องส่งต่อเนอะ ขอบคุณอีกครั้งค่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท