kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map) เพื่อกำหนดทิศทางสู่ความสำเร็จในการพัฒนาสุขภาพประชาชน (1) :Balance score card และแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์


          วันที่ 16 สิงหาคม 2553   ได้มีโอกาสไปประชุมอบรมเรื่อง “การสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map)  เพื่อกำหนดทิศทางสู่ความสำเร็จในการพัฒนาสุขภาพประชาชน”  โดยอาจารย์สุทธิพงษ์  วสุโสภาพล  สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)  ที่โรงแรมพิมาน  จ.นครสวรรค์

          เริ่มจากอาจารย์เกริ่นถึงเรื่องเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร  ซึ่งอาจารย์ สรุปว่า

  • การใช้เครื่องมือ สำคัญมากกว่าการมีเครื่องมือ
  • ผลงานที่วัดได้ สำคัญมากกว่าการมีผลงานมาก ๆ
  • งานที่ทำควรมุ่งเน้นความแตกต่างจากเดิมที่มีอยู่ โดยดีกว่า หรือพึงพอใจกว่า

          จากนั้นอาจารย์ทบทวนเรื่อง Balance score card  (ลิขิตสมดุล) ให้ โดยอาจารย์กล่าวสรุปถึง BSC ว่า

  • เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการ 
  • เป็นการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ  เป็นการบอกเล่า และนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ โดยใช้ทรัพยากรขององค์กรให้สอดคล้อง และเป็นทิศทางเดียวกัน
  • ใช้การวัดและประเมิน  ซึ่งเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ และทำให้เกิดความชัดเจนกับกลยุทธ์มากยิ่งขึ้น
  • องค์กรต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
  • มุ่งเน้นสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

         

                   กล่าวโดยสรุปอาจารย์บอกว่า  BSC = Focus + Alignment

 

         BSC มี 4 มิติคือ Financial, Customer, Internal process และ Learning and growth องค์กรที่มีเป้าหมายต่างกันจะมีจุดเน้นที่แตกต่างกัน เช่นองค์กรภาคเอกชนจะเน้นเรื่อง Financial ส่วนองค์กรของรัฐจะเน้นในเรื่อง customer หรือ Streakholder มากกว่า เป็นต้น

        ต่อมาอาจารย์พูดถึงแผนที่ยุทธศาสตร์ (strategic Map) (ไม่ใช่แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์นะครับ) ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

  • เป็นการสร้างภาพที่ชัดเจน และเชื่อมโยงกัน
  • สามารถสร้างคุณค่า และเลือกข้อเสนอที่แตกต่าง
  • แปลงสินทรัพย์เป็นทุน หรือรูปธรรม
  • มีทิศทางชัดเจน
  • สื่อสารและเชื่อมโยงแบบเมตริกซ์
  • เชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และบุคลากรเข้าหากัน และไปในทิศทางเดียวกัน
  • วัดผลการปฏิบัติงานได้ เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง

          ส่วนแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic route map) อาจารย์สรุปวิธีการสร้างดังนี้

 1.  เริ่มจากเป้าประสงค์   (อาจารย์บอกว่าพูดง่าย ๆ ว่ายุทธศาสตร์คือการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นอยากเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็คิดสิ่งนั้นออกมาเป็นเป้าประสงค์  และต้องแยกให้ออกระหว่างเป้าประสงค์กับวัตถุประสงค์)

2.   จากนั้นกำหนดเป็นกลยุทธ์ ซึ่งคือวิธีการทำอย่างไรเพื่อบรรลุถึงเป้าประสงค์  (อาจารย์บอกไม่ควรเกิน 5 และน้อยกว่า 3 และมีกำหนดระยะเวลา 3-4 ปี)

3.  จากกลยุทธ์ จะทอนเป็นการกำหนดกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยมาตรการทางวิชาการ (จากผู้รู้) และมาตรการทางสังคม (จากประชาชนหรือชุมชน)   ซึ่งมีกำหนดระยะเวลา 1-2 ปี  ซึ่งเรียกว่าเป็นแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ฉบับปฏิบัติการ (Strategic linkage model) อาจารย์บอกว่า SLM นี้สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ และนำไปสู่แผนปฏิบัติการ (Plan of action)  

4.   จากนั้นจึงกำหนดตัวชี้วัด ซึ่งมีหลายระยะ มีทั้งวัดในหน่วยงาน และชุมชน  

    

อาจารย์ได้กำหนดการเชื่อมโยงกับทฤษฏี  3 ก. โดย

 

                                                 กรรมการ                                            

  2. กระบวนการบริหารจัดการ                               1. สมรรถนะขององค์กร

                            กองทุน                                  กำลังคน

                               3. บทบาทภาคีเครือข่าย (รัฐ และเอกชน)

 

         โดยทั้ง 1 + 2 + 3  จะต้องสอดคล้องกันด้วยแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นการสร้างบทบาทใหม่ของคนในสังคม จากองค์ประกอบของแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์

  

   ประชาชนมีบทบาท --- การสร้างบทบาทและโครงสร้างของชุมชน 

                            ---  ระบบการเฝ้าระวังและมาตรการทางสังคม 

     ภาคีแข็งแรง       ---  กลุ่มที่สนับสนุน ---- เงิน  การเมือง วิชาการ

 

การบริหารจัดการที่ดี  --- ระบบ,การใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ , การสร้างนวัตกรรม

 

 รากฐานที่แข็งแรง    --- ข้อมูล , บุคลากร , องค์กรมีมาตรฐาน , สมรรถนะ

 

       สรุป  SRM คือเครื่องมือในการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ (Focus+Align) ที่สามารถสื่อสารเข้าหากันและเป็นในทิศทางเดียวกัน   ร่วมกับการมีระบบวัดติดตามดูความสำเร็จที่สามารถวัดได้

        ความสำคัญอยู่ที่การเคลื่อนไหว ทำให้เกิดการลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง เป็นกระบวนการที่เข้ากับคนในพื้นที่ได้

เรื่องยังไม่จบมีต่อนะครับ

หมายเลขบันทึก: 385473เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2010 08:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีจังที่หมอก้องนำมาเล่าสู่กันฟัง จะได้รู้ด้วย...เพราะว่าไม่ได้ไปประชุมด้วย คนที่บ้านก็ไม่คุยกันเรื่องนี้

ดีแล้วที่ไม่คุย ไม่อย่างนั้นจะต้องเอา SRM ไปใช้ที่บ้าน แล้วจะยุ่งนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท