ภาษามือ : ภาษาแรกของคนหูหนวก


ภาษามือ : ภาษาแรกของคนหูหนวก

ภาษามือ : ภาษาแรกของคนหูหนวก

ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาและช่วงสัปดาห์นี้ ผมต้องเข้าไปเยี่ยมเยือนกับโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา และได้ศึกษากับภาษามือ เบื้องต้น เพื่อที่จะคุย(สื่อภาษา)กับน้องๆ ในโรงเรียน 
ก็ได้มาหลายคำที่คิดว่าใช้กันตามปกติ จากช่วงแรกๆ ต้องเขียนใส่สมุด ใส่มือให้น้องเค้าอ่าน 

สนุกดีครับ การที่ได้คุยกับเด็กเหล่านี้ และพึ่งทราบว่า เด็กเหล่านี้ มีความสนใจที่จะสอนภาษามือให้คนอื่นมากๆ (ผมคงคิดว่า เค้าคงอยากมีคนที่จะคุยด้วย) 

ยิ่งคนที่เข้าไปพอจะทำภาษามือเป็น เค้าดูเหมือนจะ อยากคุยมาก แต่คนไหนที่ทำภาษามือไม่เป็นก็จะ พาไปหาคุณครูทันที (ไม่ใช่ว่าไม่อยากคุย แต่เค้าพูดไม่ได้) 

การที่ ว่าภาษามือ คือภาษาแรก ของคนหูหนวก เพราะ คนหูหนวก สื่อสารกันภาษามือก่อนภาษาไทย ดังนั้น เวลา สื่อภาษามือ เมื่อ แปลตรงตัวเป็นภาษาไทยแล้ว จะสลับกัน (คล้ายกับภาษาอังกฤษ) จึงทำให้บางครั้ง ภาษาไทยเวลา เค้าเขียนมาก็จะสลับด้วยเช่นเดียวกัน 

หาก ภาษาไทย(ของคนปกติ) "แมวชอบเล่นหนู"  

ภาษาไทย(ของคนหูหนวก) "หนูชอบแมวเล่น"

ทำเอาสับสนไปตามๆ กัน 

พจนาณุกรม ภาษามือไทย http://pirun.ku.ac.th/~fhumalt/THSL/THSL/html/nav_th/THSL_intro_th.htm 

สนุกดีนะครับ  ลองดูซักครั้งใช่เสียหายไม่ 

หมายเลขบันทึก: 385306เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2010 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ก็เคยได้เรียนมาบ้างเหมือนกันกับภาษามือ

ซึ่งจะใช้คำที่กลับกัน แต่ก็เข้าใจกัน ซึ่งน่าสนใจมากเลยถ้าเราพูดเป็นภาษามือได้คล่อง เราจะสนุกกับการทำมือ ซึ่งสามารถคุยได้กับเพื่อนที่อยู่คนละตึกกัน โดยไม่ต้องใช้โทรศัพท์เลย ซึ่งข่าวแพร่กระจายไวมากถ้าเป็นข่าวฉาวอะไรประมาณนี้หรือประมาณว่า วันนี้อาจารย์ท่านนี้ไม่ว่างสอน ไม่ถึงสามนาทีทุกคนพร้อมใจกันกลับบ้าน โดยที่ไม่ต้องใช้ปากพูด

ขอบคุณกับภาษามือที่เป็นสิ่งดีดีที่เติมเต็มให้ชีวิตคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท