การวิจัยทางสังคมศาสตร์


การวิจัยในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ

วันนี้ขอคุยถึงเรื่องการเข้าอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ ในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ซึ่งภาคเช้าจะเป็นเรื่องการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ มี รศ.ดร.ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ซึ่งทำให้เข้าใจหลักการและเทคนิคการทำวิจัยพอสมควร โดยเฉพาะการวางแผนกำหนดระยะเวลาในการทำวิจัย และหลักการตั้งหัวข้อในการวิจัยที่ใช้วิธีการเปรียบเทียบ ทำให้พอเข้าใจว่าการตั้งหัวข้อนั้นมีหลักการอย่างไร แต่หัวข้อที่ว่านี้เป็นหัวข้องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีตัวแปรที่กำหนดได้ในขอบเขตที่ผู้วิจัยต้องการ ซึ่งแตกต่างจากภาคบ่ายที่เป็นหัวข้อการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ทางสังคมศาสตร์ ที่ ผศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ คณบดี คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้เกียรติเป็นวิทยากร ซึ่งถือว่าตรงกับหัวข้องานวิจัยที่นักศึกษาบูรณาการศาสตร์ทุกคนสนใจ โดยท่านพยายามทำความเข้าใจแก่นักศึกษาในประเด็นการทำวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งโดยหลักการแล้วหัวข้องานวิจัยที่นักศึกษาบูรณาการศาสตร์สนใจนั้นจะสอดคล้องกับการทำวิจัยในเชิงคุณภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการทำวิจัยเชิงปริมาณเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะจริงแล้วคงต้องใช้ทั้งสองอย่าง ทั้งนี้เพราะท่านอาจารย์สุชาดาท่านพยายามเน้นว่า การวิจัยในทางสังคมศาสตร์นั้นเป็นการวิจัยที่ทำในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีบริบทหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง นักวิจัยต้องลงสัมผัสพื้นที่ และสัมผัสชีวิตของคนที่ถูกศึกษาโดยตรง และใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพราะเป็นการมองที่การเปลี่ยนแปลงไม่สามารถกำหนดเวลาชัดเจนได้เหมือนกับการทำวิจัยเชิงปริมาณ และต้องใช้เทคนิคและเครื่องมือในการเก็บข้อมูลหลายวิธี และที่สำคัญที่สุดคือ นักวิจัยจะต้องให้ความสำคัญกับแนวคิดและวัฒนธรรมของคนในชุมชน หรือที่อาจารย์ใช้คำว่า ชาติพันธ์วิธีวิทยา หรือคำว่า ชาติพันธุ์วรรณา บ่อย ๆ ซึ่งวันต่อไปจะไปทำความเข้าใจกับสองคำนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในบรรยากาศวันที่เข้าอบรมนั้นดีมาก สังเกตได้จากนักศึกษาบูรณาการศาสตร์สนใจมาก จะถามและตอบมากกว่ากลุ่มอื่นเป็นพิเศษ ไม่ใช่รู้มาก ... แต่จริง ๆ ยังรู้ไม่พอจึงต้องถามบ่อย ตอบบ่อย อยากให้มีการอบรมสัมมนาแบบนี้อีกจะได้เพิ่มพูนความรู้ให้กับตัวเอง ขอขอบคุณงานบัณฑิตศึกษา กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่จัดให้มีการอบรมในครั้งนี้ ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 38487เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2006 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
กนิษฐกา ลิ้มประเสริฐ

งานวิจัยทางสังคมศาสคร์ด้านประชากร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท