แนวข้อสอบนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ


แนวข้อสอบปลายภาคป.บัณฑิต

* คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ได้

เทคโนโลยี (technology) หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือความรู้ด้านอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้งานด้านใดด้านหนึ่งเพื่อใหงานนั้นมีความสามารถและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

* สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวม และเรียบเรียง ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้

 * เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology : IT )  หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้เป็นสารสนเทศ  เป็นเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศ ให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีส่วนประกอบดังนี้

          1.  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น

          2.   ซอฟต์แวร์ (Software) บางครั้งเรียกว่าโปรแกรม หรือชุดคำสั่งวัตถุประสงค์หลักของซอฟต์แวร์ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน คือการประมวลผลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information)

  1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการติดต่อสื่อสาร (Computer network and communication)

4.  ข้อมูลและฐานข้อมูล (Data and database) ในการประมวลผลข้อมูล คอมพิวเตอร์จะประมวลผลตามข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่หน่วยรับข้อมูล ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ

วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์

          ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะมีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน

                   1. รับข้อมูล (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ แป้นพิมพ์ (Keyboard) และเมาส์ (Mouse) เป็นต้น

                   2. ประมวลผล (Process) เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด เช่น การคำนวณภาษี การคำนวณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น

                   3. แสดงผล (Output) คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากดการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล อุปกรณ์ทำหน้าที่แสดงที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ จอภาพ (Monitor)และเครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น

                   4. จัดเก็บข้อมูล (Storage) คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)แผ่นฟลอบปีดิสก์ (Floppy Disk)เป็นต้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์

          1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด สามาถประมวลผลคำสั่งได้ 100 ล้านคำสั่งต่อนาที เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความละเอียด มีการคำนวณซับซ้อน และต้องการความถูกต้องแม่นยำ เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ  งานสื่อสารดาวเทียม งานวิจัยพลังงานนิวเคลียร์ งานวิจัยขีปนาวุธ  งานวิจัยวิทยาศาสตร์  เป็นต้น

2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์  สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำขนาดใหญ่ การจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากใช้กับองค์การขนาดใหญ่ เช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษา  งานสำมะโนประชากรของรัฐบาล  ประกันชีวิตเป็นต้น

          3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าเมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานที่มีข้อมูลจำนวนมาก สามารถรับรองการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์เจริญอย่างรวดเร็ว การจองห้องโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น

4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมาก ที่สุด มีขนาดเล็กและราคาถูก เคลื่อนย้ายได้สะดวก สามารถใช้งานโดยผู้ใช้คนเดียว (Stand alone)  เหมาะกับงาน Word Precessing, Speead sheet, Accorting จัดทำสิ่งพิมพ์   แบ่งได้ดังนี้

  1. แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer) 
  2. คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป (Notebook)  พกพาสะดวก
  3. คอมพิวเตอร์ แทปเลท (Tablet Computer) มีลักษณะคล้ายโน๊ตบุ๊ค แต่มีความแตกต่าง คือ สามารถป้อนข้อมูลทางจอภาพได้ (ใช้ปากกาชนิดพิเศษ)
  4. คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา(Handheld Computer) มีขนาดเท่าฝ่ามือ เช่น  Palmtop, PDA (Personal Digital  Assistant)

โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)

บิต (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น

ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z  และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น

ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์   เช่น เลขประจำตัว ชื่อพนักงาน เป็นต้น

เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด

ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน
เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมดเป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น

ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกันเป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น

ในการพิจารณาว่าข้อมูลใดมีขนาดมากน้อยเพียงไร เรามีหน่วยในการวัดขนาดของข้อมูล

ดังต่อไปนี้

8 Bit

=

1 Byte

1,024 Byte

=

1 KB (กิโลไบต์)

1,024 KB

=

1 MB (เมกกะไบต์)

1,024 MB

=

1 GB (กิกะไบต์)

1,024 GB

=

1TB (เทระไบต์)

 * โปรแกรมเมอร์(Programmer)บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก  คือ เอดา  ออกุสตา

*ชนชาติใดคิดค้นเครื่องคำนวณ เป็นชนชาติแรกคือ คนจีน โดยสามารถคิดเครื่องช่วยคำนวณคือลูกคิด

* ยุคแรกของการศึกษาไทย  มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  โดยพ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทย

* แบบเรียนเล่มแรกของไทย คือหนังสือ  “จินดามณี” พระโหราธิบดี เป็นผู้แต่ง

*ผู้นิพนธ์  “ไตรภูมิพระร่วง” คือพระมหาธรรมราชาลิไท

* ความหมายของ  เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา  คือ การนำเทคโนโลยี ด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมมาเชื่อมต่อกันนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาทุกระบบ

*  ข้อมูล (Data) ที่ผ่านการประมวลผลแล้ว จะได้เป็นข้อมูลแบบสารสนเทศ (Information)

*เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information  Technology:  IT)  หมายถึงการรวมของเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ต่อการนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ

*  ซอฟท์แวร์ที่เขียนขึ้นมาเพื่อทำงานเฉพาะด้านความต้องการ เช่น  โปรแกรมด้านการบัญชี  เป็นโปรแกรมประเภท ซอฟท์แวร์ประยุกต์( Application Software  )

*องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์  ประกอบด้วย ผู้ส่งสาร-à ข้อมูลข่าวสาร/สื่อกลาง---àผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล

*ความหมายของระบบเครือข่าย (Network)คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกัน เพื่อให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กร

*ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System:  TPS) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในระดับปฏิบัติการระบบจะใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกรายการประจำวันในการทำธุรกิจ

*2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System:  MIS)ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ระบบ MIS คือ ระบบที่ผลิตสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการเพื่อใช้ในการบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System:  DSS)     ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปได้อย่างสะดวก   ระบบจะสามารถสรุปหรือเปรียบเทียบข้อมูลจากทุกแหล่งไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือข้อมูลภายนอกองค์กร 

* ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) 

 ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนคล้ายคลึงกับระบบอื่น ๆ  คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น   อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก  เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับ  การจัดการความรู้ (Knowledge management) มากกว่าสารสนเทศ   และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence)         

*ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System:  MIS  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ระบบ MIS คือ ระบบที่ผลิตสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการเพื่อใช้ในการบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  

*ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System:  DSS)       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปได้อย่างสะดวก   ระบบจะสามารถสรุปหรือเปรียบเทียบข้อมูลจากทุกแหล่งไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือข้อมูลภายนอกองค์กร 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #แนวข้อสอบ
หมายเลขบันทึก: 384367เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2010 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

      สวัสดีครับ  เป็นสาระที่ดีมาก ๆ โดนเฉพาะคนที่ต้องสอบถ้าเข้ามาอ่านหมดสิทธิตก  ผมก็ได้เพิ่มเยอะ  ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

ช่วยแจ้งเพื่อนๆ ด้วยนะคะว่าสอบ วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 53 ค่ะ (ห้ามขาดสอบโดยเด็ดขาด ไม่มีการสอบย้อนหลังนะคะ)แนวข้อสอบช่วยบอกเพื่อนๆ ด้วย

- งานที่ต้องส่งคือ 1. รายงานสถานศึกษาของผู้เรียน การจัดการศึกษา ผังองค์กร (20 คะแนน)

2. สมุดย่อ เอกสารประกอบการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (10คะแนน)

3. รายงานอาจารย์ปราโมทย์ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ (10 คะแนน)

ข้อสอบ 100 ข้อ

ข้อสอบอัตนัย อาจารย์ปราโมทย์ 2 ข้อ 20 คะแนน

รวมคะแนนสอบ 120 ข้อ 60 คะแนน ค่ะ

ขอให้นักศึกษาโชคดีค่ะ พบกันวันสอบค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากเลยค่ะ  ได้แนวความรู้ในการเตรียมตัวสอบ วันที่ 22 มากๆเลยค่ะ

กิจจา สถิตวงศ์วาน(ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม)

อ้าว เข้ามาช้าไป สอบไปซะแล้ว แต่ก็เก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้ครับ

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาที่มีให้ค้นคว้าเพิ่มเติมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท