ปฏิวัติทัศนะ


"ความต้องการเทียม"

“โลกอยู่ในมือของสถาปนิกและนักกฎหมาย ” ผมจำไม่ได้แล้วว่าวลีนี้ผมอ่านพบจากที่ไหน แต่มันมีความจริงอยู่หลายส่วน หรือคุณเห็นว่าอย่างไร มนุษย์นั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ กล่าวคือ มีความสัมพันธ์กันเองระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ โดยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์มีกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ คือ ระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคมเป็นฐานรองรับ โดยพฤติกรรมมนุษย์ในการอยู่ร่วมกันจะอยู่ภายใต้กติกาเดียวกันคือกฎหมาย ส่วนมนุษย์กับธรรมชาติมีกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ คือ จารีตประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาแห่งท้องถิ่น
ด้วยคุณค่าและทัศนะที่มนุษย์เห็น ธรรมชาตินั้นไร้ซึ่งชีวิตจิตใจ เราจึงครอบงำเบียดบังธรรมชาติเพื่อปรนเปรอตัณหาและสนองความยิ่งใหญ่ใน ทรัพย์สินที่เราเข้าใจว่ามีอยู่ในตัวเรา โดยไม่คำนึงถึงความพินาศย่อยยับของระบบนิเวศน์ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งโลก เป็นเพราะเราเข้าใจอย่างฉาบฉวยว่า ธรรมชาติเป็นดังเครื่องจักรที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่แยกจากกันดังฟันเฟือง

ดัง นั้นนักกฎหมายจึงได้แยกความจริงทุกสิ่งทุกอย่างออกเป็นส่วน ๆ แยกสิทธิออกจากตัวมนุษย์ แยกวิถีชีวิตชุมชนออกจากบ้านที่กลางป่า และพยายามแยกมนุษย์ออกจากธรรมชาติ จนแม้กระทั่งกายและใจก็ถูกแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ จนต่อกันแทบไม่ติด แล้วเราก็ปรนเปรอตัวเองด้วยวัตถุที่ตักตวงจากธรรมชาติอย่างมโหฬาร จนเกิดวิกฤตการณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และในระบบนิเวศน์ทั้งระบบ สิทธิชุมชนที่นักกฎหมายควรให้ความสนใจมากกว่านิติศาสตร์ในกระแสหลักนั้น ควรให้ความใส่ใจกับข้อเท็จจริงที่มันจะเป็นจริงนิรันดร์

ที่ผมกล่าว เช่นนี้เพราะมนุษย์ต้องการ เพียงเพื่อสนอง "ความต้องการเทียม" ของคนกลุ่มน้อยที่มีกำลังซื้อ ดังนั้นการปฏิวัติที่แท้จริงนั้น มิได้อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมหรือการเนรมิตเทคโนโลยีอัน มหัศจรรย์ สิ่ง หนึ่งที่ไม่ควรข้ามก็คือการปฏิวัติทางทัศนคติ ถึงรากฐาน ซึ่งวิกฤตการณ์ในสถานนะการปัจจุบันนั้น โดยเนื้อแท้แล้ว เป็นวิกฤตการณ์ทางด้านแนวคิดและ ทัศนคติขั้นปฐมฐาน

หลัง จากพบเพื่อน พี่ น้องฺหลงมายาสมมุติ เลยขอตั้งขอสังเกตอย่างหนึ่งว่า สังคมสมัยใหม่มนุษย์พาการรีไซเคิลความสัมพันธ์ทางสังคมให้แคบลง เลยสัมพัสกันน้อยลงจึงสร้างวิธีการบำบัดแบบใหม่ขึ้นมา เป็น BB ,MSN ,Cell phone อันเป็นภาพเสมือนจริง ดังนั้นเรากำลังจะสูญเสียความสามารถในการรับรู้รสชาดและการถ่ายทอดรสชาด ทั้งภาษาและกายภาพ จริงหรือ

คนเรามักจะชาชินกับสิ่งที่ต้องทำซ้ำๆ และตอบสนองด้วยความเป็นปกติซะจนสิ่งเหล่านั้นมันกลายเป็นทักษะและแบบแผน ชีวิตที่ตามตัว . . . ติดคุกชัดๆ


ทฤษฎีสัมพัทธภาพของอัล เบิร์ต ไอน์สไตน์ โดยผมเป็นจุดตั้งต้นที่คงที่ แล้วก็เป็นจุดสมมุติอีกทีหนึ่งครับ ไม่มีระยะทางเท่ากับ 0 ฉะนั้นสัมพันธภาพที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ค้นพบ กบัจุดที่กำหนดจะเท่ากับ "รู้จักตัวเองก่อน" . . . จะเป็นคุณนิรันดร์

หมายเลขบันทึก: 384295เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2010 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท