ชักจากไข้สูง..........ลินิน


ชักจากไข้สูง :

      พบร้อยละ 2-5 ในเด็กอายุ 3 เดือน ถึง 6 ขวบ ที่มีไข้สูง (ส่วนใหญ่ไข้ 
> 39  องศาเซลเซียส)  ชักครั้งแรกมักจะพบขณะอายุ 6 เดือน ถึง 3 ขวบ อาการชักเป็นแบบเฉียบพลัน เกร็งกระตุกทั้งตัว เป็นระยะสั้นๆ หยุดภายใน 15 นาที มีเพียงร้อยละ 7.6 ที่ชักนานเกิน 15 นาที ร้อยละ 4.3 ชักนานเกิน 30 นาทีหลังชักอาการจะเป็นปกติเหมือนก่อนชัก มักมีประวัติ "ชักจากไข้สูงในครอบครัว" ซึ่งการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นลักษณะเด่นรวมหลายยีน เพศชายพบมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย (1:4:1) 
 สาเหตุของไข้
    มักจะเกิดจากการอักเสบของทางเดินหายใจ, หูชั้นกลางอักเสบ, ปอดบวม, ไข้ส่า, ทางเดินปัสสาวะอักเสบ, โรคท้องร่วง และไข้เลือดออก เกือบทุกรายจะชักในไข้วันแรก ถ้าชักในวันหลังของไข้ มักจะเกิดจากสาเหตุอื่น
  ถ้าเด็กชักนานเกิน 30 นาที ซึมหลังชัก มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น กระหม่อมโปร่ง, คอแข็ง, แขนขาอ่อนแรง เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน, เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 18 เดือน ที่อาการไม่ชัดเจน ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมคือเจาะน้ำไขสันหลัง นอกเหนือจากการตรวจเลือด และปัสสาวะ
  เด็กที่ชักจากไข้สูง ร้อยละ 16 จะชักอีกภายใน 24 ชั่วโมงต่อมา แต่ไม่มีวิธีที่จะรู้ว่า ผู้ป่วยรายใดจะชักอีกต้องคอยระวัง
  การรักษาเบื้องต้น
1.จับเด็กนอนตะแคง เอาเศษอาหารออกจากปาก ดูดเสมหะ
2.เช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำก็อก ผ้าเปียกปิดคลุมตัว เปลี่ยนผ้าทุก 2-3 นาทีจน
ไข้ลด
3.ให้ยาระงับชัก (ไดอะซีแพม) สอดทวาร
4.รีบนำเด็กส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
  การรักษาของแพทย์
1.ป้องกันไม่ให้ชักซ้ำ
2.หาสาเหตุของไข้ และให้การรักษา
3.หาสาเหตุอื่นของการชัก เช่น โรคติดเชื้อของระบบประสาท, โรคลมชัก
พิษจากยาหรือสารตะกั่ว เป็นต้น
4.ควบคุมอุณหภูมิไม่ให้ไข้สูง ด้วยยาลดไข้ และเช็ดตัว
  การป้องกันการชักซ้ำ
  เด็กที่ชักจากไข้สูงร้อยละ 70 จะชักครั้งเดียว 1 ใน 3 (ร้อยละ 30-35)
จะชักซ้ำอีก ถ้าชัก 2 ครั้ง ครั้งหนึ่ง จะชักครั้งที่ 3 ได้ มีเพียง 9% ที่ชักเกิน
3 ครั้ง ร้อยละ 50 ของการชักครั้งต่อไปจะเกิดภายใน 6 เดือน และร้อยละ 85 จะชักอีกภายใน 1 ปี การชักซ้ำไม่ได้เพิ่มอัตราเกิดโรคลมชักในภาย
หลัง
  ถ้าเด็กชักครั้งแรกอายุน้อยกว่า 1 ปี โอกาสชักซ้ำพบร้อยละ 50 แต่ถ้า ชักครั้งแรกอายุมากกว่า 1 ปี โอกาสชักซ้ำพบร้อยละ 28 การให้ยาป้องกัน
ชักมี 2 แบบ คือ
  1.ให้ยาป้องกันชักขณะมีไข้
  ในยุโรปและอเมริกานิยมใช้วิธีนี้ พ่อแม่จะต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
และเช็ดตัว ให้ยาลดไข้ทันทีที่มีไข้ รวมทั้งให้ยาไดอะซีแพมชนิดรับประ
ทานทุก 8 ชั่วโมง หรือสอดยาทางทวารทุก 8 ชั่วโมง จนไข้ลด (2-3 วัน)
จะลดโอกาสชักจาก 48 เหลือร้อยละ 4-8
  2. ให้ยาป้องกันชักแบบต่อเนื่อง (รับประทานทุกวัน)
  2.1 ฟีโนบาร์บ ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะลดโอกาสชักจากร้อยละ 20-30
เหลือร้อยละ 4-13 แต่ผลข้างเคียงสูง เช่น ดื้อ ซุกซน ก้าวร้าว และอาจจะ
มีผลต่อสติปัญญารวมทั้งความจำ ทำให้ไม่เป็นที่นิยม
  2.2 เดพาคิน ไม่มีผลต่อพฤติกรรมและสติปัญญาแต่ถ้าให้ขนาดสูง อาจมี
ผลต่อตับในเด็กเล็กได้ ผลการป้องกันชักก็ได้ผลดี
  พยากรณ์โรค
  ชักจากไข้สูง ไม่มีผลต่อสมอง และสติปัญญา เมือเทียบกับพี่น้องที่ไม่เคย
ชัก ยกเว้นชักบ่อย, ชักนาน
 
ปัจจัยเสี่ยงของโรคลมชัก ได้แก่
1. มีประวัติโรคลมชักในครอบครัว
2. อาการชักครั้งแรกที่ชักนาน ชักหลายครั้ง และกระตุกเฉพาะที่
3. มีความผิดปกติของสมอง และพัฒนาการอยู่ก่อนแล้ว
  ในปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาที่ทั้งปลอดภัย และได้ผลเต็มที่ แต่เด็กส่วน
ใหญ่ไม่มีปัญหาทางสมอง ถ้าพ่อแม่เข้าใจการดูแล
   
คำสำคัญ (Tags): #board
หมายเลขบันทึก: 38415เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2006 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท