ผลงานอาสาสมัครเกษตร ปี 2552/2553


งานพัฒนาศักยภาพอาสาเกษตร

ผลงานอาสาสมัครเกษตร ปี 2552/2553

สรุปผลการดำเนินงานอาสาสมัครเกษตรร่วมกับองค์กรท้องถิ่น  ปี 2552/2553

ที่

เสนอโครงการ

หน่วยงาน

สนับสนุน

งบประมาณ

(บาท)

กระจายผลผลิต

 

 

 

 

ถ่ายทอด

ผลผลิต

จำนวน(กก)

มูลค่า

(บาท)

ผู้รับผิดชอบ

1

เรียนรู้

สู่การปฏิบัติ

อบจ.พย.

72,000

สัมมนา

-ข้าวโพดฝักอ่อน

-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

-ลิ้นจี่สด

-ลำไยอบแห้ง

167,500

124,000

42,000

55,000

418,750

682,000

966,000

1,677,500

ประสิทธิ์

นิทัศน์

ชวน

ประสิทธิ์

 

 

 

 

 

รวม

388,500

3,744,250

 

2

เรียนรู้

สู่การปฏิบัติ

อบต.พย

12,700

สัมมนา

-เพาะเห็ด

-เลี้ยงจิ้งหรีด

- ผลิตไตรโคเดอร์ม่า

1,070

720

2,000

42,800

108,000

8,000

สมนึก

สรศักดิ์

 

 

 

 

 

 

รวม

3,790

158,800

 

 

ผลการปฏิบัติงานประสานงานสร้างกลุ่มผู้ผลิตและการกระจายผลผลิตใน ปี 2552/2553

ที่ 

โครงการ

เกษตรกร

(ราย)

พื้นที่

( ไร่ )

กระจ่ายผล

ผลิต(กก.)

มูลค่า

(บาท)

ผู้รับผิดชอบ

1

โครงการครบวงจร

1.ข้าวโพดฝักอ่อน

2.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แล้ง

3.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฝน

4.ลำไยสด

5.ลำไยอบแห้ง

6.ลิ้นจี่สด

7.แอลกอฮอร์จากข้าวโพด

 

150

300

400

100

80

60

40

 

350

1,500

3,000

-

-

-

5,000 ลิตร

 

875,000

1,350,000

2,400,000

50,000

80,000

60,000

17,500

 

 

ประสิทธิ์

คำมูล/นิทัศน์

สรศักดิ์

เชวง

นิคม

ชวน

ประสิทธิ์

 

รวม

1,130

 

4,832,500

 

 

2

อบรมถ่ายทอด/ฝึกปฏิบัติ

1)พัฒนาศักยภาพอาสาฯ

2)ปรับปรุงดิน

3)เพาะเห็ด

4)เลี้ยงจิ้งหรีด

 

330

130

100

100

 

สมาชิก660ราย

 

กิจกรรมสร้างงานสร้างอาชีพลดรายจ่าย

 

เหลือสร้างเครือข่ายและรายได้

 

ประธานอาสา

สมัครเกษตร

จังหวัดพะเยา

สรุปผลการดำเนินงานจัดการความรู้ในการพัฒนาองค์ความรู้สู่การปฏิบัติอาสาสมัครเกษตรร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยาในการบริหารจัดการ  การบูรณาการโครงการหลัก   3  โครงการ

     * โครงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

     * โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน

     * โครงการศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง

ผลการจัดเวทีเรียนรุ้ของอาสาสมัครเกษตร ปี 2552/2553

6.  กระบวนการเรียนรู้ 

        6.1  กำหนดเป้าหมาย 

                     “ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง” เพื่อให้อาสาสมัครเกษตรมีความเข้าใจ    สามารถกำหนดแผนงานประมาณ แผนปฎิบัติงานแบบบูรณาการ  จัดทีมคณะทำงาน    แผนปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วม

ให้อาสาสมัครเกษตรในระดับพื้นที่

   -  เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ 3 โครงการ

    - การคัดเลือกพื้นที่ตรงกับวัตถุประสงค์ 

    - การคัดเลือกเกษตรกรได้ตามวัตถุประสงค์     

    - กำหนดหลักสูตรได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของเกษตรกรและชุมชน

   ให้อาสาสมัครเกษตรทุกระดับในพื้นที่สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เกิดเวทีถ่ายทอดฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้   ได้องค์ความรู้ใหม่ปรับใช้ในไร่นา    เกิดการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจัดการสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยฯได้แบบครบวงจร 

 

       6.2   กำหนดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้    

                       สร้างความเข้าใจให้กับคณะกรรมการอาสาสมัครเกษตรระดับจังหวัดในเวที   ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ด้านการผลิต    การจัดการสินค้าเกษตร  การสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  พัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย

       6.3  กำหนดคลังความรู้ 

             จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่และประชาสัมพันธ์แก่ผู้สนใจนำไปปรับใช้ในพื้นที่

         1.    องค์ความรู้ที่ได้จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวที เช่น ประเด็นองค์ความรู้ การวางแผนการผลิตสินค้า โดยการศึกษาข้อมูลจากสื่อ  การเสนอขายสินค้า รายการอาหารสามารถวิเคราะห์ กำหนดแผนและเป้าหมายการผลิตดังนี้

-          ปริมาณสินค้าที่จะผลิต

-          รูปแบบของสินค้า

-          คุณภาพสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด

-          การเชื่อมโยงเครือข่ายการตลาด

  1. การวางแผนการผลิตสินค้า

 

 

องค์ความรู้ได้จากเวทีเสวนาการวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานในศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลสันโค้ง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

      1.  การป้องกันปูกัดต้นข้าวระยะปลูกใหม่

                องค์ความรู้ได้จากเวทีตำบลลอ  อำเภอจุน   การป้องกันปูกัดต้นข้าวระยะปลูกใหม่โดย     ใช้ขี้ไก่เหลว (แอ่งแจ๊ะ) 30 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หมักไว้ 1 คืน นำไปผสมน้ำอัตราใช้ 1:40 นำเทบริเวณทางน้ำเข้าแปลงนา (ต๋างนา) ทำให้ปูไม่กัดต้นข้าวเป็นการลดต้นทุนการผลิต 

            2.  การนึ่งก้อนเชื้อเห็ด 

องค์ความรู้ได้จากเวทีตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาวจังหวัดพะเยา

ประเด็นองค์ความรู้การนึ่งก้อนเชื้อเห็ดโดยใช้ผ้าดิบเย็บเป็นถุงยาวขนาดเท่าถังคลุมปากถัง ขนาด 200 ลิตร   ใช้เวลานึ่งประมาณ 1 - 1 ชั่วโมงครึ่ง   โดยเริ่มนับเวลาตั้งแต่ไอน้ำพ่น ผ้าคลุมให้โปร่งตั้งตรง  ซึ่งสามารถบรรจุปริมาณก้อนเชื้อเห็ดเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 และสามารถต้นทุนการผลิต

              3.  กำหนดการใช้ โลโก้บรรจุภัณฑ์สินค้าของอาสาสมัครเกษตร พิจารณาจากคำขวัจังหวัด

พะเยาที่ว่า“กว้านพะเยาแหล่งชีวิต       ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง         บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง    งามลือเรืองดอยบุษราคัม”

 

 

 

คัดเลือกอาสาสมัครเกษตรที่ผลการปฏิบัติงานในไร่นาประสบผลสำเร็จ เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอละ  1  ศูนย์  รวม  9  ศูนย์ ดังนี้

    อำเภอเมืองพะเยา

 อาสาฯ  สิงห์ชัย นันตาฤทธิ์ เลขที่145 หมู่ที่ 11  ต.จำป่าหวาย  อ.เมืองพะเยา    จ.พะเยา

 โทร   0867304559 

นำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้  า ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล   การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

กิจกรรมเด่น  การปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่นาตลอดปี  ขุดสระเพื่อใช้น้ำทำการเกษตร  เลี้ยงปลาเลี้ยงสุกรและไก่  บนบ่อปลา  เป็นรายได้เสริม ปลูกผัก  เพาะเห็ดเป็นรายได้ประจำรายวัน

อำเภอแม่ใจ 

 อาสาฯ กี  ไชยวงศ์  123  หมู่ที่ 7  ต. ศรีถ้อย  อ.แม่ใจ  จ. พะเยา โทรฯ  08-71774087

เกษตรกรที่สนใจศึกษาดูงานการจัดระบบพื้นที่เป็นไร่นาสวนผสม

นำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้   การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรม

ต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น  ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน

กิจกรรมเด่น    การเพาะปลาหมอพื้นเมือง ( ปลาสะเด็ด )  เลี้ยงกบ   ปลูกลิ้นจี่ปลอดภัย  การปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่นาตลอดปี  ขุดสระเพื่อใช้น้ำทำการเกษตร  เลี้ยงปลาเลี้ยงสุกรและไก่  บนบ่อปลา  เป็นรายได้เสริม ปลูกผัก  เพาะเห็ดเป็นรายได้ประจำรายวัน

  อำเภอดอกคำใต้  

 อาสาฯ เปลี่ยน  สีเสียดค้า   เลขที่ 233 หมู่ที่ 1 ต.สันโค้ง อำเภอ ดอกคำใต้

จ.พะเยา โทรฯ08-1023-0006   เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 

นำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้  คือ “การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม  สิ่งแวดล้อม  ความรู้และเทคโนโลยี”

กิจกรรมเด่น   ทำปุ๋ยหมัก เติมอากาศ   ทำไร่นาสวนผสม พื้นที่ 15  ไร่ ทำนาปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ 

 อำเภอจุน 

 อาสาฯ ดำรัส  สมถะกุล   เลขที่ 156 หมู่ที่ 8 ต.ห้วยข้าวก่ำ อำเภอ จุน  จ.พะเยา โทรฯ08-1387-5980

นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้  คือ “ความพอเพียงสำหรับทุกคน  ทุกครอบครัว  ไม่ใช่เศรษฐกิจทอดทิ้งกัน เอื้ออาทรคนอื่น อนุรักษ์และเพิ่มพูนสิ่งแวดล้อม รวมตัวกันเป็นชุมชนเข้มแข็ง   มีการเรียนรู้ร่วมกัน  บนพื้นฐาน  วัฒนธรรม  วิถีชีวิตของชุมชน  มีความมั่นคงพอเพียง”

กิจกรรมเด่น   ปลูกกระท้อนในพื้นที่ดินเสื่อมโทรม  โดยการปรับปรุงดิน   ใช้พันธ์พืชที่เหมาะสม

 

 

 อำเภอเชียงคำ 

 อาสาฯ อรุณ  ชัยธิ   บ้านเลขที่ 76 หมู่ 1    บ้านทุ่งเย็น ต.แม่ลาว   อ.เชียงคำ  จ.พะเยา

โทรฯ 054-451-979

นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ “มีความพอเพียงด้านเศรษฐกิจ   ความพอเพียงด้านสังคม   ความพอเพียงด้านจิตใจ”

กิจกรรมเด่น  ไร่นาสวนผสม พื้นที่  8 ไร่   ปลูกผักชี   ทำนา  การเลี้ยงปลา  กบ การทำปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ในฟาร์มและเป็นศูนย์เรียนรู้ฝึกปฏิบัติให้กับเกษตรกรผู้สนใจ   นักเรียน

 อำเภอ ปง 

 อาสาฯ สมคิด  ปัญญา  หมู่ 8  ต.ควร อ.ปง จ.พะเยาโทรฯ08-6190-1955

นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ “ลดรายจ่าย   สร้างรายได้  ใช้ชีวิตอย่างพอควร  คิดและวางแผนอย่างรอบครอบ  ไม่เสี่ยง  มีทางเลือก   พึ่งตนเอง   จัดทำบัญชีครัวเรือน” 

กิจกรรมเด่น  ไร่นาสวนผสม พื้นที่  8  ไร่  เลี้ยงโค  ทำนา ปลูกผัก ปลูกลำไย  เลี้ยงจิ้งหรีด เพาะเห็ด

 

 อำเภอเชียงม่วน 

 อาสาฯ บัญฑิต  บ้านสระ   บ้านเลขที่  9 หมู่ที่ 5  บ้านสระ ต. สระ อ.เชียงม่วน   จ.พะเยา

โทรฯ 08-1006-8661

นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ “.ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน   รู้รักสามัคคี   สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว  ชุมชน.”

กิจกรรมเด่น  ไร่นาสวนผสม พื้นที่  20  ไร่  นำครอบครัว ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นรายได้หลัก  การปลูกพืชผักเสริมรายได้การเลี้ยงสัตว์เสริมรายได้

อำเภอภูซาง 

อาสาฯ สมพล  เวียรอบ  บ้านปัว  19  หมู่ที่ 8  ต.สบบง อ.ภูซาง  จ.พะเยา โทร.08-9556-9725

นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ  มีจิตสำนึกที่ดี  เอื้ออาทร  ประนีประนอม  นึกถึงส่วนรวมเป็นหลัก   ซื่อสัตย์  สุจริต  อดทน  ความเพียร...”

กิจกรรมเด่น ไร่นาสวนผสม พื้นที่  26 ไร่  ปลูกข้าว ถั่งลิสง  เลี้ยงปลา ปลูกผัก เลี้ยงสุกร

 

 

 อำเภอภูกามยาว

 อาสาฯ ประเสริฐ  วงศ์ไชย   บ้านเลขที่ 132 หมู่ 4 บ้านกว้าน   ต. ดงเจน   อ.ภูกามยาว   จ.พะเยา

โทรฯ054-422870

นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ  “ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงเป็นจุดนัดพบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตร ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้และสามารถนำไปปฏิบัติในด้านการผลิตพืช สัตว์ ประมง ฯลฯ ให้มีอาหารบริโภคพอเพียงในครัวเรือน เหลือรวมขาย”

กิจกรรมเด่น  “ไร่นาสวนผสม พื้นที่  7  ไร่ ผังฟาร์ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ GAP ลำไย การปลูกผักสวนครัว  บ่อปลา  เลี้ยงสัตว์การทำแปลงข้าวปลอดภัย   การทำปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ในฟาร์ม”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 อาสาสมัครเกษตรเข้าร่วมคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนและเป็นศูนย์เรียนรู้นำร่องระดับอำเภอและเป็นวิทยากร ปี 2553

1. เมืองพะเยา  วิสาหกิจชุมชนผักตบชวา  บ้านสันบัวบก 114 ม.8 ต.บ้านสาง อ. เมืองพะเยา  กิจกรรม  จักสานผักตบชวา เลขที่   หมู่ที่  114   หมู่ที่ 8   ต. บ้านสาง

2. อำเภอแม่ใจ  วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตเกษตร เลขที่ 53     หมู่ที่ 6  ต. แม่ใจ

3. อำเภอดอกคำใต้ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวกล้องปลอดสาร เลขที่ 176 หมู่ที่ 1

ต.สันโค้ง

4. อำเภอจุน   วิสาหกิจชุมชนกลุ่มบ้านชาวนาข้าวก่ำพะเยา   59 ม.8  ต. หงส์หิน  

 5. อำเภอเชียงคำ     วิสาหกิจชุมชนข้าวชุมชน ที่อยู่ 1ม.2 ต.ฝายกวาง อ. เชียงคำ

6. อำเภอปง            วิสาหกิจชุมชนผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลปง  เลขที่ 117 ม.8  ต.ปง อ.ปง

7. อำเภอภูซาง        วิสาหกิจชุมชน   กลุ่มผลิตภัณฑ์หญ้าแฝก  146 หมู่  6  ต. ป่าสัก  อ. ภูซาง

8. อำเภอภูกามยาว  วิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้ประดิษฐ์  133  หมู่ 1 ต. ดงเจน  อ. ภูกามยาว

 

ผลการเสนอโครงการพัฒนาการเกษตรของจังหวัดพะเยา ปี 2552-2553

       ด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาให้ความสำคัญคณะกรรมการอาสาสมัครเกษตรเสนอโครงการพัฒนาการเกษตรจากความต้องการของชุมชนในพื้นที่ของตนเองและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนถึงปัจจุบันนี้ ในเวทีเสนา  วันที่  26  มีนาคม  2552   มีอาสาสมัครเกษตรกรเข้าร่วมเสวนา  141  คน  เสนอโครงให้ผู้ว่าราชการพิจารณาและเสนอท้องถิ่นให้การสนับสนุน  5  แผนงาน   56  แผนงาน  งบประมาณ 98,029,000  บาท   ได้รับการสนับสนุน  51  แผนงาน  งบประมาณ  22,897,500  บาทดังนี้

             1.  แผนงาน  การจัดกระบวนการเรียนรู้ในระดับพื้นที่สู่การปฏิบัติจริงเพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ จำนวน  13  แผนงาน  งบประมาณ  3,924,000  บาท   ได้รับการสนับสนุนทั้ง  13 แผนงาน  งบประมาณ  3,924,000  บาท

           2.  แผนงานโครงการลดต้นทุนการผลิต  จำนวน  9  แผนงาน งบประมาณ   4,733,500  บาทได้รับการสนับสนุนทั้ง  9   แผนงาน  งบประมาณ  4,733,500  บาท

           3.  แผนงานโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 11 แผนงาน  งบประมาณ    1,560,000   บาทได้รับการสนับสนุนทั้ง  11   แผนงาน  งบประมาณ    1,560,000    บาท

            4.  แผนงานโครงการแปรรูปผลผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า  7    แผนงาน  งบประมาณ   4,038,500 บาท ได้รับการสนับสนุนทั้ง 7  แผนงานงบประมาณ   4,038,500 บาท

            5.  แผนงานโครงการ   พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและบริโภคอุปโภค จำนวน  16  แผนงาน  งบประมาณ   85,071,500  บาท  ได้รับการสนับสนุนทั้ง 11   แผนงานงบประมาณ   8,641,500  บาท

 

คำสำคัญ (Tags): #ผลงานอาสาสมัคร
หมายเลขบันทึก: 383968เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2010 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท