ดูงานKM ที่ NOKPCT


องค์กรสร้างคน คนสร้างองค์กร

  วันนี้ได้มีโอกาสได้เข้าร่วม   KM Tour  กับสำนักงานสนับสนุนการจัดการความรู้  กรมอนามัย Trip นี้ เริ่มด้วยการดูงานที่ บ.เอ็น โอ เค พริซิซั่น (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา (เขียนภาษาไทย ดูจะไม่ค่อยคุ้น  แต่พอเห็นชื่อภาษาอังกฤษแล้ว  อ๋อ บริษัทเราเอง NOKPCT ) 

 

      คุณสราวุฒิ พันธุชงศ์  CKO  ของบริษัทให้เกียรติเป็นผู้บรรยาย  เริ่มด้วยวิดีโอแนะนำองค์กร  จึงรู้ว่าเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น  ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิก  ที่เป็นส่วนประกอบของ Hard disk  มีพนักงาน 1872 คน  เป็นหญิง ร้อยละ 89  ชาย ร้อยละ 11  พอนำเสนอเรื่อง คน เห็นชัดเลยว่า  บริษัทนำ  IT  มาจัดการด้านบุคลากร  ที่เรียกว่า  HR Manpower  มองไปถึงแม้กระทั่งพนักงานส่วนใหญ่เป็นคนเหนือและอิสาน (ประมาณร้อยละ 60) หากร้านขายอาหารใน Pantene  ทำอาหารใต้คงขายไม่ออก (มุขของวิทยากร) วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ  การก้าวไปสู่  บริษัทชั้นนำระดับโลก  ในธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์  ที่มีความเที่ยงตรงสูง  เรื่องของ  KM  บรรจุเป็นหนึ่งในนโยบาย คือ สร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  NOK ก็เป็นเหมือนบริษัทอื่น ๆ ทั่วไป  ที่นำเอา  Tools  ต่าง ๆ ในการพัฒนาคุณภาพหลาย ๆ ตัว  มาใช้  ไม่ว่าจำเป็น 5 ส  QCC  Safety  Kaizen  TQM  ตลอดจน  KM ที่คงไม่ทำไม่ได้ (ก็มาดูเรื่อง KM นี่นา)  ไม่ทำไม่ได้  Concepts  ของบริษัทที่จะนำองค์กรสู่การเป็น  LO  ด้วยแนวคิด  “องค์กรสร้างคน  คนสร้างองค์กร”  โดยมองว่า  การสร้างและค้นหาอัจฉริยภาพในตัวคน  พัฒนาคนให้มีคุณภาพ  โดยใช้ KM ทำให้เกิดองค์กรอัจฉริยะ  สร้างความเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน  บทบาทของทีม Fa  คือ สร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ผ่านการสื่อสารหลายรูปแบบ  ทั้ง Website  จดหมายข่าว  ศูนย์การเรียนรู้  (Knowledge  center)  Internet  corner  รวบรวม Knowledge  Sharing 

 

ที่เก๋ไก๋และประทับใจ คือ One Point Lesson  (OPL)  เป็นการสร้างบทเรียนจากการทำงาน  โดยมีการสอบทานความรู้  และสรุปเป็นเรื่องเล่า  One page A4  สิ่งที่ได้เรียนรู้อีกอย่างที่มองว่าทำไม  NOK  ถึงทำงาน  KM  ได้ประสบความสำเร็จ   สิ่งนั้นคือ  เขาทำ KM  เป็นงานประจำ  หรือกลมกลืนกับงานประจำ   กำหนดเป็น Job Description ของพนักงานทุกคน  มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน  ไม่ใช่งานฝาก หรือทำ Part time เหมือนกรมอนามัย  อยากทำก็ทำ  ไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำ  KM  ถึงกระท่อนกระแท่นอย่างที่เรารู้ ๆ กัน นั่นแหล่ะ  อีกเรื่องที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ  ให้ฮึดทำงาน  KM ต่อก็คือ การสร้าง  SGA  หรือ Small Group Activity  โดยการรวมตัวรวมเป็นกลุ่มตาม  Area Based  มีโครงสร้างของประธานกลุ่ม  ที่ปรึกษา  และสมาชิก  มีแผนงานประจำปีของกลุ่ม  และกำหนดเป้าหมายของกลุ่มด้าน 5 ส ด้วยความปลอดภัย  Kaizen  และ  Energy saving  มองว่า  SGA  น่าจะทำได้ในกลุ่มที่ทำงานแบบเดียวกัน  วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาร่วมกัน  นำไปปฏิบัติติดตามประเมินผลและสรุปเป็นบทเรียน  หรือ OPL นั่นเอง  สิ่งที่ควรผลักดันในกรมอนามัย คือ  นโยบายการทำ  KM   ให้เป็นงานหนึ่งใน  Job Description  เป็นตัวชี้วัดของทุกคนและนำผลงานของกลุ่มมาประเมินรายบุคคลด้วย  ดูท่าจะ  work  แน่

 

หมายเลขบันทึก: 383300เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2010 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท