การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์


ชื่อบทความ : แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่

แหล่งที่มา :   ประชาชาติธุรกิจ   วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3870 (3070)

                       คอลัมน์ HR Conner โดย ดร.ปรัชญานันท์  นิลสุข   ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี

         คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 

สาระสำคัญ

การบริหารจัดการทุนมนุษย์  คือ การบริหารจัดการเพื่อสร้างคุณภาพและผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งเป็นการรวมกิจกรรมอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่การกำหนดและสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถดีที่สุด (talent) การรักษาบุคลากร การพัฒนาและจูงใจให้บุคลากรแสดงศักยภาพสูงสุดของตนเองได้  แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์เริ่มให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นปัจเจกบุคคล (individual) แทนการบริหารจัดการแบบกลุ่ม  ทำให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนการปฏิบัติหลายประการได้แก่

  1. การสรรหาและคัดเลือก

การสรรหาและคัดเลือกจะมุ่งเน้นการคัดเลือกบุคลากรที่มีศักยภาพสูง หรือมีความสามารถที่จะพัฒนาตนเองได้ตามทิศทางที่องค์การต้องการ คุณสมบัติของพนักงานจะถูกกำหนดพร้อมกับแหล่งการสรรหาที่เฉพาะเจาะจง เช่น สถาบันการศึกษาที่มีสาขาวิชาที่ได้รับการยอมรับ นอกจากนี้คุณสมบัติที่มีความหลากหลายทั้งในเรื่องความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จะได้รับความสนใจมากขึ้น

  1. การพัฒนาศักยภาพ

การพัฒนาจะมุ่งเน้นการพัฒนาจากบุคลากรที่มีความชำนาญและความสามารถเฉพาะด้าน เป็นการพัฒนาเพื่อสร้างทักษะหลากหลาย (multi-skilled) โดยผ่านการวิเคราะห์ความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะอย่างเป็นระบบ วิธีการพัฒนาจะใช้เทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งการจัดกิจกรรมบริหารความรู้ (knowledge management) ผู้บริหาร หัวหน้างาน และพนักงาน จะมีบทบาทร่วมกันมากขึ้นในการกำหนดเนื้อหาและวิธีการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคน ผู้บริหารและหัวหน้างานมีบทบาทในการเป็นผู้สอนแนะ (coaching) พร้อมกับการส่งเสริมให้ พนักงานเรียนรู้ด้วยตนเอง

  1. การจัดสวัสดิการและผลตอบแทน

ผลประโยชน์ตอบแทนจะถูกออกแบบเพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการจูงใจเฉพาะบุคคล ซึ่งมีความต้องการและคุณลักษณะพื้นฐานแตกต่างกัน การจัดสวัสดิการแบบคาเฟ่ ทีเรีย (cafeteria) ที่กำหนดงบประมาณของแต่ละบุคคล และให้พนักงานเลือกประเภทสวัสดิการที่ต้องการด้วยตนเอง เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น นอกจากนี้การบริหารผลตอบแทนจะเชื่อมโยงกับการบริหารผลการปฏิบัติมากขึ้น

 

 

 

  1. การจูงใจ

การจัดสวัสดิการด้านการศึกษาต่อในระดับสูง การฝึกอบรม และผลตอบแทนที่จูงใจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่บุคลากรให้ความสนใจ รวมทั้งการบริหารจัดการที่ให้พนักงานมีอำนาจในการตัดสินใจด้วยตนเองมากขึ้น

 

สรุป   การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคใหม่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้เกี่ยวข้องทั้งพนักงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร และนักทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งต้องมีภารกิจร่วมกันมากขึ้นแทนการแบ่งแยกหน้าที่ชัดเจน และการบริหารจะให้ความสำคัญต่อบุคลากรที่มีศักยภาพมากขึ้น ซึ่งทำให้การจัดการด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ถูกออกแบบเพื่อให้มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ง่าย   แนวคิดนี้จึงไม่ต่างจากแนวคิดการบริหารธุรกิจ  ที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว  และไม่ยึดติดกับการบริหารแบบมุ่งเน้นวิธีการหรือกระบวนการมากกว่าการมุ่งเน้นผลลัพธ์

 

ความคิดเห็น

จากการศึกษาบทความนี้  มีความเห็นว่า  เห็นด้วยกับบทความซึ่งเป็นแนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่  มีความสำคัญและเป็นวิธีที่จะพัฒนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  ซึ่งเป็นบทบาทของทุกคนในองค์กรได้มีส่วนร่วมคิด  ร่วมทำ  มีการแบ่งหน้าที่กันทำงานที่ชัดเจน  และการบริหารให้ความสำคัญต่อบุคลากรที่มีศักยภาพมากขึ้นในการเพิ่มขีดความสามารถของแต่ละบุคคล  ส่งผลให้องค์กรเกิดความเข้มแข็ง

 

การนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน

                จากการศึกษาบทความ  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร  โดยนำแนวคิดเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่  ซึ่งประกอบด้วย  การสรรหาและคัดเลือก  การพัฒนาศักยภาพบุคลากร  การจัดสวัสดิการและผลตอบแทน  และการจูงใจ  ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องมีการร่วมกันกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในองค์กร  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้

 

 

หมายเลขบันทึก: 382494เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2010 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท