อธิบายมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522


                   การเข้าเมืองกรณีพิเศษเฉพาะรายโดยได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

 

บุคคลที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ หมายถึง

                        คนต่างด้าวที่เข้าเมืองมาโดยได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง

 

                        เงื่อนไข

                        กรณีนี้เป็นไปตามมาตรา 17[1] แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งเป็นสิทธิที่มีเงื่อนไข ดังนี้

                        (1) คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ที่มีอำนาจในการอนุมัติให้คนต่างด้าวคนหนึ่งคนใดเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง

การเข้าเมืองของคนต่างด้าวตามมาตรา 17 นี้เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้เป็นอำนาจดุลยพินิจของรัฐมนตรี[2]ที่จะนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในการอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้หนึ่งผู้ใดมีสิทธิเข้าเมืองมาในราชอาณาจักรได้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง ซึ่งเป็นการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย และนอกจากจะให้สิทธิเข้าเมืองแล้ว ยังให้สิทธิอาศัยแก่คนต่างด้าวด้วย เพราะว่าในมาตรา 17 ได้ใช้คำว่า "เข้ามาอยู่" เนื่องจากว่าจะต้องแยกสิทธิเข้าเมืองและสิทธิอาศัยหรือการอาศัยอยู่ออกจากกัน แต่ทว่าการเข้ามาอยู่ตามมาตรา 17 นั้น หมายถึงการเข้ามาและอาศัยอยู่รวมกันเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้นำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว ถ้าหากว่าคณะรัฐมนตรีอนุมัติก็ทำเป็นมติคณะรัฐมนตรี และหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็จะดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป

                        (2) คนต่างด้าวผู้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในมติคณะรัฐมนตรี

            สำหรับการกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การเข้าเมืองตามมาตรานี้นั้น คณะรัฐมนตรีจะมีมติกำหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณสมบัติของคนเข้าเมืองใด ๆ ก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร หรือจะยกเว้นให้คนต่างด้าวผู้นั้นไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการเข้าเมืองแบบกรณีคนต่างด้าวทั่วไปที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ได้ แม้ไม่มีหนังสือเดินทาง จะเป็นภัยต่อรัฐก็เข้ามาได้ เป็นไปตามดุลพินิจของฝ่ายปกครองไม่สนใจเลยว่าจะเข้าหรือผ่าน ม.12 ,13 ,15 หรือไม่ เพราะถ้าเป็นกรณีนี้จะเข้ามาโดยอาศัย ม.17 เลย

            (3) รัฐมนตรีจะต้องมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าเมือง

            เมื่อคนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เข้าเมืองมาแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็จะดำเนินการอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้นั้นเข้าเมืองและอาศัยอยู่ในประเทศไทย อาจจะโดยการออกกฎกระทรวงมหาดไทย หรือทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย

 

 


            [1] มาตรา 17 ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใดหรือจำพวกใดเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใดๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีใดๆ ก็ได้

              [2] รัฐมนตรีตามมาตรานี้นั้น ในมาตรา 4 หมายความถึง รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งในมาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนั้น รัฐมนตรีผู้ที่จะทำหน้าที่ในการอนุมัติให้คนต่างด้าวเข้าเมืองมาเป็นกรณีพิเศษเฉพาะเรื่องนั้นจะต้องเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

หมายเลขบันทึก: 382465เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2010 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โดยตัวบท มาตรา ๑๗ เป็นเรื่องของสิทธิเข้าเมืองเท่านั้น เพราะอยู่ในหมวดที่ว่าด้วยการเข้ามาในประเทศไทย

แต่โดยปกติประเพณี มาตรา ๑๗ เป็นเรื่องของการให้สิทธิอาศัยอีกด้วย และอาจเป็นสิทธิอาศัยเพียงชั่วคราว หรือถาวร

ดังนั้น การอธิบายมาตรา ๑๗ ในแง่มุมที่เป็นกฎหมายบ้านเมืองที่เป็นอยู่ จึงอธิบายได้ว่า มาตรานี้เป็นบ่อเกิดของสิทธิ ๒ ลักษณะของคนต่างด้าวค่ะ

การวิเคราะห์กฎหมายมักจะทำทุกมิติ กล่าวคือ (๑) มิติด้านบุคคลหรือผู้ทรงสิทธิ (๒) มิติด้านเวลาที่ใช้บังคับ (๓) มิติด้านพื้นที่ และ (๔) มิติด้านเนื้อหาแห่งกฎหมาย

ลองคิดทีละเรื่องซิคะ ลองตีตารางความคิดซิคะ เริ่มต้นเลย

ผมยื่นขอสถานเมื่อปี2556ตอนนี่ยังไม่ได้เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท