ผลกระทบจากการที่ประเทศทั้งหลายต่างช่วยเหลือคนในชาติ


เมื่อสินค้าเกษตรมีลักษณะพิเศษที่เกี่ยวข้องกับปากท้อง ความมั่นคงและสุขอนามัยดังกล่าว ประเทศทั้งหลายจึงมีมาตรการแทรกแซง ควบคุม จำกัดเสรีภาพในการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรสินค้าขั้นพื้นฐานกันทุกรูปแบบ ซึ่งการแทรกแซงนั้นถ้าภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับตลาดโลกเสรีทางการค้า แล้วย่อมไม่สามารถทำได้ เพราะต้องให้สามารถค้าขายกันได้อย่างเสรี แต่บรรดารัฐทั้งหลายก็ได้แทรกแซงกันทุกรูปแบบ

          เนื่องจากสินค้าเกษตรของทุกประเทศนั้นเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับปากท้องของประชาชน คือ ถ้าประชาชนหาซื้อสินค้าเกษตร สินค้าอาหาร มาบริโภคเลี้ยงปากท้องตัวเองในราคาถูกไม่ได้ ก็อดอยาก หรือถ้าผู้ผลิต เกษตรกร ชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา ผลิตสินค้าเกษตร สินค้าขั้นพื้นฐานเหล่านั้น ถ้าขายไม่ได้ หรือได้ราคาต่ำก็ยากจน ไม่สามารถอยู่รอดได้ ชาวสวนผลไม้ ชาวประมง ไม่สามรถขายสินค้าได้ราคาดีก็ขาดทุน สินค้าเกษตรและสินค้าขั้นพื้นฐานทั้งหลายจึงเป็นสินค้าเกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนที่รัฐจะปล่อยปละละเลยไม่ได้

          นอกจากนั้น ยังเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐด้วย เช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นเกาะมีพื้นที่ในการปลูกข้าวไม่มากนัก แต่ชาวญี่ปุ่นก็ชอบบริโภคข้าเหมือนกับชาวไทย

          ประเทศญี่ปุ่นนั้นก็ปกป้องเกษตรกรชาวนา ข้าวของเขาที่ผลิตเป็นข้าวญี่ปุ่นเมล็ดสั้น โดยประเทศญี่ปุ่นทำทุกวิถีทางที่จะให้ชาวนาของญี่ปุ่นนั้นอยู่รอดได้ อยู่รอดได้ท่ามกลางชาวญี่ปุ่นอื่น ๆ ที่เจริญร่ำรวยขึ้นจากการค้ารถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และการค้าอื่น ๆ เกษตรกรเหล่านั้นต้องมีรายได้อย่างเพียงพอ หาไม่แล้วก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ และประเทศญี่ปุ่นแม้จะมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างใด แต่ถ้าต้องพึ่งพาสินค้าบริโภค หรือข้าจากต่างประเทศแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่สามารถปลูกข้าวใช้บริโภคภายในประเทศได้เอง ก็อาจจะเกิดอันตรายต่อประเทศญี่ปุ่นอันกระทบถึงความมั่นคงของประเทศญี่ปุ่นได้

          นอกจากนี้สินค้าเกษตรยังมีเอกลักษณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ สินค้าเกษตรนั้นเกี่ยวข้องกับชีวิต สุขอนามันของคน สัตว์ พืช และ ป่าไม้ สินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่มนุษย์ใช้อุปโภคบริโภค ถ้าหากว่าปนเปื้อนสารพิษ หรือมีแมลง หรือมีเชื้อโรค สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ถ้าปล่อยให้ค้าขายได้โดยเสรี มีการนำเข้ากันโดยเสรี ผลิตอย่างเสรี ก็อาจจะทำเกิดการแพร่เชื้อโรค เกิดการเป็นพิษปนเปื้อน หรือการทำลายพืชพันธ์ สัตว์ต่าง ๆ จนสูญพันธ์ไป

          ดังนั้น สินค้าเกษตรจึงเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยที่ไม่สามารถปล่อยให้ค้าขายกันได้อย่างเสรีเหมือนอย่างสินค้าอุตสาหกรรม

          เมื่อสินค้าเกษตรมีลักษณะพิเศษที่เกี่ยวข้องกับปากท้อง ความมั่นคงและสุขอนามัยดังกล่าว ประเทศทั้งหลายจึงมีมาตรการแทรกแซง ควบคุม จำกัดเสรีภาพในการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรสินค้าขั้นพื้นฐานกันทุกรูปแบบ ซึ่งการแทรกแซงนั้นถ้าภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับตลาดโลกเสรีทางการค้า แล้วย่อมไม่สามารถทำได้ เพราะต้องให้สามารถค้าขายกันได้อย่างเสรี แต่บรรดารัฐทั้งหลายก็ได้แทรกแซงกันทุกรูปแบบ

          ในปัจจุบัน เรายอมรับกันว่าการแทรกแซงโดยภาษีเพื่อปกป้องคุ้มครองเกษตรกรของแต่ละประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ยอมให้ทำได้ ดังนั้น สินค้าเกษตรจึงยังไม่มีการยกเลิกภาษี เหมือนอย่างเช่นสินค้าอุตสาหกรรม ทุกรัฐยังมีการแทรกแซงโดยภาษีอยู่เพื่อปกป้องเกษตรกรของตนจากการแข่งขันของเกษตรกรในต่างประเทศ อย่างเช่น กรณีของประเทศไทย ประเทศไทยนั้นได้มีกำแพงภาษีเกี่ยวกับสินค้าเกษตรเพื่อปกป้องเกษตรกรของประเทศหลายอัตรา โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 30-40% ถ้าสินค้าใดต้องการปกป้องคุ้มครองเป็นพิเศษ อัตราภาษีที่เรียกเก็บเพื่อปกป้องนั้นจะสูงมากกว่า 200% เลยทีเดียว อาทิ ไหมดิบ จัดเก็บสูงกว่า 200% หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง คือ นมผงก็จัดเก็บมากกว่า 200% เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมภายในประเทศ ให้ประเทศสามารถผลิตนมเพื่อบริโภคภายในประเทศได้เองโดยไม่ต้องพึ่งนมและผลิตภัณฑ์นมจากต่างประเทศ

          การแทรกแซงของรัฐที่ต่างก็ต้องการช่วยเหลือคนในชาติของตนนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในโลกทำให้เกษตรกรจากประเทศอื่นไม่สามารถจำหน่ายสินค้าของตนได้ ทุกประเทศต่างมีความพยายามที่จะทำให้เกษตรกรของตนมีรายได้ดีขึ้น และต่างพยายามที่จะส่งออกสินค้าเกษตรของตนไปยังต่างประเทศ

          ด้งนั้น จึงเรียกร้องให้มีการเปิดเสรีสินค้าเกษตรในตลาดต่างประเทศ แต่สำหรับประเทศของตนเองแล้วกลับปกป้องกีดกันมิให้สินค้าเกษตรของต่างประเทศเข้ามาแข่งขันกับสินค้าตน การกระทำเช่นนี้มีลักษณะเป็น Double Standard (คือสองมาตรฐาน) กล่าวคือ ประเทศทั้งหลายอยากให้ประเทศอื่นเปิดเสรีให้กับสินค้าเกษตรของตนแต่ในขณะเดียวกันกลับอยากปกป้องสินค้าเกษตรของตนไม่ให้คนอื่นมาแข่งอย่างเสรี

          ในปัจจุบัน เราไม่ให้ผลิตภัณฑ์นม นมผง จากต่างประเทศเข้ามาแข่งกับนมและผลิตภัณฑ์นมภายในประเทศ นี่คือการปกป้องเกษตรกรของเรา แต่เราไม่อยากให้ต่างประเทศกีดกัน หรือปกป้องเกษตรกรของเขาโดยเรียกร้องให้เขาเปิดให้เราแข่งขันได้อย่างเสรี ในมุมหนึ่งต้องการเสรี แต่ในอีกมุมหนึ่งต้องการปกป้องในลักษณะ Double Standard เช่นนี้เป็นเรื่องที่ประเทศทั้งหลายต่างประพฤติปฏิบัติด้วยกันทั้งนั้น คงไม่มีประเทศใดปฏิเสธได้ว่าไม่ต้องการช่วยเหลือคนของตน

          เมื่อเป็นเช่นนี้ สินค้าเกษตรไทยจึงต้องต่อสู้กับการแข่งขันที่ไม่เสรี เพราะต่างประเทศนั้นเขาก็มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรของเขากีดกันสินค้าของเราเหมือนที่เราปฏิบัติอยู่ 

ที่มา :  กฎหมายการค้าโลกว่าด้วยสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องดื่มที่คนไทยควรรู้ โดย ดร. สุธาบดี สัตตบุศย์            

หมายเลขบันทึก: 38244เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2006 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มเติมดีค่ะ ขอบคุณนะคะ ว่างๆจะมาอ่านหัวข้ออื่นๆอีกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท