ครูบารูดีน
อาจารย์ บารูดีน ครูบารูดีน เส็นสมมาตร

ส่งแบบสรุปงานวิจัย


ส่งสรุปรายงานการวิจัยครับ
เรื่องที่ 1
สรุปรายงานการวิจัย
ชื่อผลงานวิจัย            เรื่องความต้องการในการพัฒนางานประชาสัมพันธ์
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
ชื่อผู้วิจัย                     นางอรศิริ  กรองสุดยอด  นักประชาสัมพันธ์ 7 ว
                                    [email protected]
                                    โทร 053266242 , 0819511819
หน่วยงานเจ้าของ    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 2
                                    http://www.cmi2.obec.go.th
                                    0-5346 - 5370 
 
        การวิจัยเรื่อง  ความต้องการในการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่   การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ตามกรอบภารกิจสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2  ทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านการสร้างเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ ด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารองค์กรต่อสาธารณชน และด้าน      การบริการข้อมูลข่าวสาร ประชากรที่ใช้ ประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และหัวหน้ากลุ่มในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 จำนวน 15 คน และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสอบถามปลายเปิด นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอแนะการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ใช้วิธีบรรยายวิเคราะห์
                    ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้
                      ด้านการสร้างเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ ความต้องการ   ในการสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  สำหรับความต้องการในการสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ภายนอกองค์กรของ   ผู้บริหารโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด แต่ของผู้ปฏิบัตินั้นโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ด้านงานเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานต่อสาธารณชน ความต้องการใน          การพัฒนางานด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์กรต่อสาธารณชนของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  และความต้องการในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชนพบว่า ของผู้บริหารและของผู้ปฏิบัติโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เช่นกัน
                   ด้านการบริการข้อมูลข่าวสาร ความต้องการในการพัฒนางานบริการข้อมูลข่าวสาร   ของผู้บริหารโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด แต่ของผู้ปฏิบัติโดยภาพรวมค่าเฉลี่ย         อยู่ในระดับมาก            จากการศึกษาความต้องการในการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ดังกล่าว ทำให้ทราบความคิดเห็นและความต้องการในการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ตามความต้องการของผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มงานและบุคลากร  ผู้ปฏิบัติงานภายในสำนักงานในด้านการสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ ในด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์กรต่อสาธารณชนและในด้านการบริการข้อมูล ซึ่งจะนำเสนอประเด็นที่สำคัญต่อการพัฒนา 
                1. ด้านการสร้างเครือข่ายการประชาสัมพันธ์
                    งานประชาสัมพันธ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 จึงควรมีการจัดการทำแผนกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกและดำเนินกิจกรรมเครือข่ายประชาสัมพันธ์ให้การเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่อง
                2. ด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน
                    การดำเนินงานเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารองค์กรต่อสาธารณชนมีความต้องการในการพัฒนาด้านสื่อประชาสัมพันธ์ทางด้านวารสาร สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เนต และสื่อบุคคลทั้งภายในสำนักงาน และภายนอกสำนักงานที่เน้นคุณภาพของข่าวสารความถูกต้อง รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และทั่วถึงทุกลุ่มเป้าหมาย
                3. ด้านงานบริการข้อมูลข่าวสาร
                    งานบริการข้อมูลข่าวสาร บุคลากรมีความต้องการการบริการข้อมูลข่าวสารผ่านเสียงตามสายอย่างสม่ำเสมอ และการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์งานเพิ่มขึ้น ให้มีการจัดทำระบบข้อมูลทางการศึกษาเป็นปัจจุบันอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ให้มีพัฒนาระบบข้อมูลแฟ้มงานตามภารกิจขององค์กรใช้ในศูนย์บริการประชาสัมพันธ์ โดยในการดำเนินงานดังกล่าวให้มีการพัฒนาบุคลากรนักประชาสัมพันธ์ที่มีองค์ความรู้ ทันสมัย ทันเหตุการณ์ เพื่อส่งมอบบริการที่ดีต่อสาธารณชน
ข้อเสนอแนะ
                ข้อค้นพบจากการศึกษาความต้องการในการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ครั้งนี้ ผู้บริหารองค์กรและผู้ปฏิบัติงานมีความต้องการในการพัฒนางานประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารและบุคลากรให้ความสำคัญในการพัฒนาอยู่ในระดับสูง  ดังนั้น ในการปฏิบัติจริง ผู้บริหารควรมีการกำหนดนโยบายในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจน และควรให้โอกาสความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในสำนักงานและสถานศึกษาอย่างจริงใจ มีการจัดตั้งเครือข่ายประชาสัมพันธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังต้องพิจารณาสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือ สื่อการประชาสัมพันธ์ให้มีการเผยแพร่ข่าวสารผ่านช่องทางที่หลากหลาย และควรมีการจัดตั้งหน่วยประชาสัมพันธ์เพื่อเอื้อต่อการบริการข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นเอกเทศ

เรื่องที่ 2

ความจริง 3 จังหวัดชายแดนใต้ . . ! !

  • คัดลอกจาก  สำนักข่าว INN ประจำวันที่ 15 /1 /47
                     เสียงสะท้อน'ชาวบ้าน'3พื้นที่'ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส'จังหวัดชายแดนใต้ เชิงลึกชำแหละ 'รากเหง้าปัญหา'  ประเด็นด่วน 'การบริหารเจ้าหน้าที่-การศึกษา-ผลผลิตเกษตรต่ำยากจน'  ตีแผ่ความจริงสู่ 'ใจรัฐ' ปลดล๊อกสัมพันธ์เสื่อมเจ้าหน้าที่ รัฐ-ประชาชน ฐานราก!!
                         สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (ส ก ว.) มีรายงานล่าสุดเกี่ยวกับความไม่สงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้น ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น รายงานฉบับดังกล่าวมาจาก ส ก ว.ระบุว่ามาจากหลายเสียงที่เห็นว่าควรมีการรับฟังเสียงสะท้อนจากภาคประชาชนในพื้นที่ให้มากขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก และยังเป็นการสร้างมวลชนสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง "เจ้าหน้าที่รัฐ" กับ"ประชาชน"  ซึ่งในแนวทางดังกล่าว "ส ก ว." มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาเรื่อง “ข้อค้นพบจากการศึกษา เพื่อทำความเข้าใจปัญหาพื้นฐานของจังหวัดปัตตานี ยะลา  นราธิวาส” โดยการเปิดเวทีชาวบ้านรวม 13 ครั้ง มีตัวแทนประชาชนเข้าร่วม 589 คน ผลสรุปได้ว่า   ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่านโยบายรัฐบาลบางเรื่องยังไม่ประสบผลสำเร็จและต้องการการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ"3 ประเด็นหลัก"ที่ยังคงเป็นปัญหาของพื้นที่และควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ
                                1) การบริหารเจ้าหน้าที่รัฐ
                                2) การศึกษา
                                3) ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ความยากจน
                         งานวิจัย”ข้อค้นพบจากการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจปัญหาพื้นฐานของจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส” ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2545 โดยมี นายปริญญา อุดมทรัพย์  (ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าโครงการ ได้จัดเวทีชาวบ้านและได้รวบรวมผลการอภิปรายและข้อคิดเห็นของประชาชนต่อพัฒนาการนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับ 3 จังหวัด ใน 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านอื่นๆ  สรุปได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่านโยบายรัฐบาลบางเรื่องยังไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น
                                - ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ การว่างงาน การศึกษาและจริยธรรมของเด็กและเยาวชนเสื่อม
                                - การจัดการศึกษาของรัฐบาลไม่สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นและขาดมาตรฐาน ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                                -การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ และนโยบายรัฐไม่ตรงกับสภาพท้องถิ่น และ
                                - เรื่องหลัก ๆ ที่รัฐบาลควรพิจารณาแก้ไขเร่งด่วน ได้แก่ ปัญหาเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีประสิทธิภาพ  นโยบาย       
                         รัฐไม่ตรงกับสภาพท้องถิ่น ปัญหาการศึกษา ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
        จากข้อมูลที่ได้สะท้อนให้เห็นสิ่งที่เป็นปัญหาพื้นฐานของพื้นที่และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา  เมื่อปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขและสั่งสมเรื่อยมากจนกลายเป็นจุดอ่อนที่ถูกนำไปใช้ในการกระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์  ความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ขึ้นได้   ดังนั้น "ข้อมูล"จากการับฟังปัญหาและทางออกในมุมมอง ของคนในพื้นที่จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างถูกทิศทางในอนาคต   ซึ่งจากงานวิจัยนี้มีข้อเสนอจากเวทีชาวบ้านและผลการศึกษาที่น่าสนใจและสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนี้ โดยเป็นข้อเสนอเกี่ยวกับปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคมและอื่น ๆ ได้แก่
                         1)  ปัญหาราคาผลผลิตเกษตร ตกต่ำ เสนอให้มีการเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
                         2) การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีประสิทธิภาพ การเลือกปฏิบัติและการกระทำไม่ดีต่อประชาชน ชาวบ้านต้องการให้เจ้าหน้าที่สำนึกในหน้าที่ในการให้บริการประชาชน วางตัวเป็นกลาง และให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐได้
                         3) ปัญหาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ได้มาตรฐาน และขาดโอกาสการศึกษาระดับปริญญาตรี ชาวบ้านต้องการให้คนใน 3 จังหวัดภาคใต้ได้รับการศึกษาให้ทั่วถึงกันและมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
                         4) ปัญหานโยบายรัฐไม่ตรงกับสภาพท้องถิ่นนั้น ก็ต้องการให้มีการจัดเวทีประชาชนเพื่อรับฟังปัญหาของชาวบ้านให้มากขึ้น
                         5) ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การแก้ไขปัญหาโดยดูที่อาการและปรากฏการณ์ของปัญหา แต่ไม่ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ค้นหาสาเหตุที่เกิดปัญหา ทำให้การแก้ปัญหา ไม่ ประสบผลสำเร็จจริงจังยั่งยืน  ดังที่ปรากฏมาตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา จนนำมาสู่ การเกิดการสั่งสมปัญหา บางครั้งมีปฏิกิริยาโต้กลับและสร้างผลกระทบทั้งทางตรง ทางอ้อม ทำให้ปัญหาพื้นฐาน ถูกละเลย และเกิดการสร้างปัญหาใหม่เพิ่มปัญหาเก่า ยากต่อการแก้ไข ซึ่งชาวบ้านเสนอว่า ให้ สื่อ เสนอข้อมูลที่ถูกต้อง   เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีความเข้าใจพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความจริงใจในการแก้ปัญหา สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และลดอิทธิพลในระดับท้องถิ่นที่มีความเกี่ยวข้องกับอำนาจรัฐและการเมืองท้อง ถิ่น
                         สำหรับข้อเสนอแนะในมุมมองชาวบ้านเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น ชาวบ้านมองว่า สภาพปัญหาที่นี่อยู่ใต้มาตรฐานปกติ (จึงต้องเป็นพื้นที่พิเศษ) เพราะชายแดนใต้มีโครงสร้างทางสังคมที่แตกต่างจากที่อื่น ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช่เป็นปัญหาเดียวแต่มันเป็นปัญหาซ้อนหลาย ๆ ปัญหาเชื่อมโยงกัน ในมุมมองนโยบายตัวปลดล๊อกคือความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ กับประชาชนฐานราก และเจ้าหน้าที่ควรเดินแบบไหน จึงจะปลดล๊อกนี้ได้  ส่วนความสัมพันธ์ประชาชนกับรัฐ นโยบายรัฐควรให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาประชาชนทุกระดับ
                         นอกจากนี้ยังจัดทำสรุป ข้อเสนอแนะในมุมมองชาวบ้านต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง อาทิ ข้อเสนอต่อผู้บริหารนโยบายรัฐบาล  และข้อเสนอต่อองค์กรพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งทั้งหมดเป็นความพยายามทำความเข้าใจกับสภาพความเป็นจริงของพื้นที่โดยใช้ข้อมูลในพื้นที่จริงเป็นฐาน ซึ่งนับเป็นขั้นตอนสำคัญ  เป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การคลี่คลายปัญหาได้อย่างถูกจุด
                         จากกระบวนการวิจัยดังกล่าวข้อมูลเสียงสะท้อนจากชาวบ้านที่ได้จึงมีลักษณะเป็น โจทย์หรือคำถามที่ประชาชนเป็นผู้ตั้งโจทย์ ให้รัฐบาลหรือผู้ร่วมสังคมไทยเป็นผู้ตอบ มากกว่าเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาซึ่งความคิดเห็นของประชาชนดังกล่าว นับว่ามีคุณค่าควรแก่การที่รัฐบาล นักวิชาการตลอดจนผู้สนใจ
                         ปัญหาชายแดนภาคใต้ จะนำไปศึกษาวิจัยต่อเนื่อง เพื่อช่วยกันกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางแก้ไข
                         ปัญหาชายแดนภาคใต้ให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า

 เรื่องที่ 3 ครับ
เรื่อง  ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาปราจีนบุรี
ผู้วิจัย  ไพฑูรย์  ทิพยสุข
ปีที่วิจัย  2551
วัตถุประสงค์การวิจัย
  1. เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี
  2. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  จำแนกตามสถานภาพทางเพศ  และประเภทของโรงเรียน
วิธีการวิจัย
  1.  การวิจัยเชิงสำรวจ
  2. กลุ่มตัวอย่าง
-          ประชาการได้แก่  ครูผู้สอนโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  ปีการศึกษา  2551  จำนวนทั้งสิ้น  3,237  คน
-           กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  ปีการศึกษา  2551  ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง  โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของงเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie&Morgan,1970pp 607-608)  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 344 คน  โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling)
-          ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น  ได้แก่  สถานภาพทางเพศ 
  1.  ชาย
  2. หญิง
ประเภทโรงเรียน
  1.  โรงเรียนช่วงชั้นที่ 1 -2
  2. โรงเรียนช่วงชั้นที่ 1- 3
  3. โรงเรียนช่วงชั้นที่ 3_- 4
ตัวแปรตาม  ได้แก่  ปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  สรุปเป็น  6 ด้านดังนี้
  1.  ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร
  2. ด้านการวิจัยในชั้นเรียน
  3. ด้านการจัดการเรียนการสอน
  4. ด้านการนิเทศภายใน
  5. ด้านการวัดผลประเมินผลการศึกษา
  6. ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
  1.  แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทางเพศและประเภทโรงเรียนเป็นแบบตรวจสอบรายการ(Check List) จำนวน 2 ข้อ
  2. เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  แบ่งเป็น 6 ด้าน
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
  1.  ขอหนังสือจากภาควิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อขอความร่วมมือและความอนุเคราะห์จากผู้อำนวยการสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี
  2. ผู้วิจัยนำแบบสอบถามแนบหนังสือขอความร่วมมือการกรอกแบบสอบถามจากผำนวย การสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  จัดส่งแบบสอบถาม  จำนวน  344  ฉบับ ไปยังผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน
  3. ในกรณีที่ยังไม่ได้รับแบบสอบถามคืนตามเวลาที่ผู้วิจัยกำหนดไว้  ผู้วิจัยได้ติดตามเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเองจนครบทุกฉบับ
การวิเคราะห์ข้อมูล
  1.  นำแบบสอบถามมาลงรหัส  ให้คะแนนตามน้ำหนักคะแนนแต่ละข้อ  และบันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์  เพื่อวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS For  Windows
  2. นำผลการคำนวณ  มาวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
  3. การให้คะแนน  กำหนดการให้คะแนนตามเกณฑ์น้ำหนักความหมายดังนี้ คือ
มากที่สุด                                มีค่าท่ากับ              4              คะแนน
มาก                                       มีค่าเท่ากับ            3              คะแนน
น้อย                                       มีค่าเท่ากับ            2              คะแนน
น้อยที่สุด                                มีค่าเท่ากับ            1              คะแนน
                หลังจากนั้นจะนำมาหาค่าเฉลี่ย  โดยใช้เกณฑ์พิจารณาขอบเขตคะแนนเฉลี่ยเพื่อใช้ในการแปลความหมายตามความคิด เห็นในปัญหาการบริหารงานวิชาการ  โดยกำหนดการแปลความหมายของคะแนนพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ย  ซึ่งกำหนดเกณฑ์โดยอาศัยแนวทางของบุญชม  ศรีสะอาดและบุญส่ง  นิลแก้ว ดังนี้
                                3.51 -  4.00           หมายถึง                 ปัญหาการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด
                                2.51 – 3.50           หมายถึง                 ปัญหาการบริหารงานิชาการอยู่ในระดับมาก
                                1.51 – 2.50           หมายถึง                 ปัญหางานวิชาการอยู่ในระดับน้อย
                                1.00 – 1.50           หมายถึง                 ปัญหาการบริหารงานวิชาการน้อยที่สุด
                สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
                                ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้วิจัยได้ใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS  for  Windows  ซึ่งใช้ค่าสถิติดังนี้
  1.  ศึกษาปัญหางานวิชาการเป็นรายข้อ  รายด้านและภาพรวม  วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน คะแนนเฉลี่ย (X) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
  2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  จำแนกสถานภาพทางเพศ  โดยใช้สถิติการทดสอบค่าที ( t – test)
  3. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสงกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาปราจีนบุรี จำแนกตามประเภทของโรงเรียนโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างได้ทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Least Significance Difference (LSD)
 



หมายเลขบันทึก: 382344เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2010 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

อาจารย์ครับ เยี่ยมเลยครับอาจารย์ รอบแรกอาจจะไม่ค่อยสวยเลยครับ แต่จะพัฒนาให้เป็นบล็อกที่ให้ความรู้ด้านการวิจัยให้ได้มากที่สุดเลยครับ ขอบคุณครับ ผมว่ายังขาดที่มา หรือ แหล่งอ้างอิงอีกนิดนึงน่ะครับ อาจารย์

สวัสดีครับ  นาน ๆ จะมีงานประเภทนี้ให้อ่านกันสักครั้ง  ก็ต้องอ่านกันใช้เวลามากกว่างานอื่น ๆ   ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

เรื่องที่ 2 มันแปลกๆ อยู่นะบัง

สวัสดีครับ

มาเยี่ยม มาอ่าน มาเรียนรู้ ครับ

ผมก็ยืมเค้ามาน่ะครับท่าน เป็นบทสรุปรายงานการวิจัยน่ะครับ

เดี๋ยวจะเปลี่ยนเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องอื่นดีมั้ยท่าน สายลับ 007 คือว่าเรื่องมันน่าสนใจน่ะผมว่า ถ้าแก้ไขตรงจุดบางครั้งจะสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงน่ะครับ แต่ความจริงบางอย่างมันเจ็บปวดน่้ะครับท่าน

อาจารย์บอกว่างานวิจัยที่ดีให้วิจัยหรือหาหัวข้อที่เราสนใจ บังสนใจเ้รื่องความเป็นอยู่ของพี่น้องมุสลิม 3 จังหวัด บังว่าหัวข้อวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้น่าสนใจ น่ะ บังว่าเอาเรื่องนี้แหละดีแล้วครับ ท่านสายลับ 007

บังว่าไงก็ว่ากันครับ

อย่าลืมแวะไปของผมบ้างนะบัง

ผมว่ามันเหมาะกับเป็นที่เข้าไปนั่งทำสมาธิ ทำใจให้สงบ

เพราะมันเงียบมาก 555555555

เงียบซะจนเจ้าของอย่างผมยังไม่กล้าอยู่เลย

บังว่าไงก็ว่ากันครับ

อย่าลืมแวะไปของผมบ้างนะบัง

ผมว่ามันเหมาะกับเป็นที่เข้าไปนั่งทำสมาธิ ทำใจให้สงบ

เพราะมันเงียบมาก 555555555

เงียบซะจนเจ้าของอย่างผมยังไม่กล้าอยู่เลย

ของผมอาจารย์ไปตรวจแล้ว

ผ่านหมด

ดีใจๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท