รู้ว่ามาตรการ..ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองเป็นอย่างไร


เรื่องนี้..ไม่ต้องแบ่งสี..แบ่งฝ่ายนะคะ ช่วยกันกระจายข่าวบอกเพื่อนร่วมชาติที่เดือดร้อนกันดีกว่า

เตือนใจ เจริญพงษ์

 

ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อประเทศหลายมิติ ซึ่งประชาชนชาวไทยและนานาชาติเฝ้าติดตาม การช่วยเหลือเยียวยาผู้รับผลกระทบการชุมนุมทางการเมืองของรัฐบาลมาโดยตลอด สำหรับมาตรการที่รัฐบาลให้หน่วยงานต่างๆดำเนินการ ซึ่งคณะรัฐมนตรี 

   ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ...............

    เป็นผู้นำฝ่ายบริหารได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ๒ ชุด ได้แก่

.....คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ..

     มี..นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

         เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

 และ ...คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

    มี..นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย

       รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน 

.............................................................................................................

           ค.ร.ม.ชุดนี้ได้เห็นชอบมาตรการเร่งด่วนต่างๆเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ...

มีความน่าสนใจหลายประการเนื่องจาก...

  เป็นการบริหารจัดการอย่างประสานสิบทิศ

.. มีการ ปรับ แก้ เพิ่มเติม

   ทั้งกฎเกณฑ์ และงบประมาณ

  ทำให้มาตรการต่างๆ สามารถช่วยเหลือเยียวยาได้จริงจัง

  มิใช่แค่...มีนโยบายว่าจะช่วย

           ...คิดว่าจะช่วย

          ...ช่วยไม่ได้เพราะผิดระเบียบ

   เหมือนบางเรื่องที่ฝ่ายบริหารเคยทำและก็ผ่านเลยตามเลยมาแล้วบางเรื่อง

............................................................................................................

๑.มาตรการให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น

.............................................................................................................

   สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี   ได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย กรณีร้านค้าหรือทรัพย์สินถูกเพลิงไหม้  ถูกโจรกรรม  ถูกทำลาย เป็นต้น เป็นจำนวนเงินรายละ  ๕๐,๐๐๐ บาท เป็นกรณีพิเศษนอกเหนือไปจากการให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ของกรุงเทพมหานคร จำนวน ๙๖๑ ราย            

กรุงเทพมหานคร ได้จ่ายเงินทุนประกอบอาชีพครอบครัวละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท แก่ผู้ประสบสาธารณภัย จำนวน ๑,๖๒๕ ครอบครัว ๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท

.............................................................................................................

 ๒.สนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ

..............................................................................................................

       -ค.ร.ม. เห็นชอบให้แก้ไขหลักการมาตรการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs  ที่ได้รับผลกระทบ โดยให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ยึดหลักเกณฑ์ว่า เป็นการให้กู้ที่ไม่ต้องใช้หลักประกันและการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง และ ให้ ธพว. ดำเนินการปล่อยสินเชื่อโดยเร็ว  ให้แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน  นับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน

..............................................................................................................-ค.ร.ม.เห็นชอบตามที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ในการขยายวงเงินสินเชื่อของโครงการ จากเดิม ๕,๐๐๐ ล้านบาท  เป็น ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท  โดย ธพว.  เป็นผู้ให้สินเชื่อทั้งหมด  และให้กำหนดวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมสำหรับการกู้ยืมแบบมีหลักประกันรายละไม่เกิน  ๓ ล้านบาท  รวมเป็นผู้กู้รายหนึ่งสามารถกู้ได้ทั้งแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน  โดยวงเงินสินเชื่อต่อรายรวมทั้งสิ้นต้องไม่เกิน  ๔ ล้านบาท

..............................................................................................................

๓.เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อรักษาสภาพการจ้างงาน

...............................................................................................................

     ค.ร.ม.อนุมัติงบเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ (ย่านราชประสงค์) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายพนักงาน (เงินเดือน) จำนวน ๑ เดือน ตามข้อมูลฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเดือนเมษายน ๒๕๕๓ ซึ่งจะครอบคลุมลูกจ้างที่ผู้ประกอบการรักษาสภาพการจ้างงานไว้ จำนวน ๓๐,๖๖๑ ราย  แบ่งเป็นกลุ่มผู้ค้าปลีกรายย่อย  ๑๔,๔๐๕ ราย  ผู้ค้าปลีกขนาดกลาง ๒,๒๑๘ ราย  พนักงานห้างสรรพสินค้า ๓,๗๔๖ ราย  พนักงานซัพพลายเออร์ (บริษัทผู้ผลิตสินค้า) ๕,๙๑๙ คน กลุ่มพนักงานโรงแรม  ๔,๓๗๓ ราย จำนวนผู้ประกอบการ รวม ๒,๑๑๓ ราย  ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานขอรับการจัดสรรงบ และให้สำนักงานประกันสังคมเป็นหน่วยเบิกจ่าย

..............................................................................................................

      -ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายพนักงาน (เงินเดือน) จำนวนหนึ่งเดือน เช่นเดียวกับผู้ประกอบการย่านราชประสงค์ ซึ่งครอบคลุมลูกจ้างในระบบประกันสังคม เพิ่มเติม จำนวน ๒,๒๔๒ คนและให้ความช่วยเหลือลูกจ้างนอกระบบประกันสังคม รายละ ๗,๕๐๐ บาท  เป็นเวลาหนึ่งเดือน จำนวน ๑,๓๒๕ ราย

.................................................................................................................

       นอกจากนี้มีการปรับปรุงกฎเกณฑ์บางข้อเพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างเป็นธรรม ดังนี้

 -การปรับปรุงข้อมูลลูกจ้างตามมติค.ร.ม. เรื่อง มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม  กรณีค่าจ้าง ในวงเงิน ๓๔,๔๔๐,๔๓๕.- บาท  โดยเป็นลูกจ้างในระบบจำนวน ๒,๔๕๘ คน ท  ลูกจ้างนอกระบบ  จำนวน ๑,๐๙๐ คน 

..............................................................................................................

-หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติตามมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม กรณีค่าจ้าง ตามที่สำนักงานประกันสังคมเสนอ

...............................................................................................................

 -ค.ร.ม.อนุมัติงบ ให้สำนักงานประกันสังคม ช่วยเหลือผู้ประกอบการซึ่งรักษาสภาพการจ้างไว้ตามหนังสือสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ จำนวนผู้ประกอบการ ๓๘ ราย จำนวนพนักงาน ๔๐๒ คน โดยให้สำนักงานประกันสังคม  กระทรวงแรงงานขอรับการจัดสรรงบประมาณและเป็นหน่วยงานเบิกจ่ายงบประมาณต่อไป

.............................................................................................................

 ๔. มาตรการด้านภาษี 

.............................................................................................................

       กรมสรรพากร มีมาตรการเร่งด่วนชะลอกระแสเงินสดจ่ายออกของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง  ดังนี้

  ๑) ภาษีเงินได้นิติบุคคล  (ภ.ง.ด. ๕๐) ได้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีไปจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓

   ๒) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.๓๐) ได้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี  ออกไปอีก ๒ เดือน นับแต่วันสิ้นสุดการชุมนุม

   ๓) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. ๑ , ภ.ง.ด.๓, ภ.ง.ด.๕๓)  ได้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบยื่นรายการและนำส่งภาษีไปอีก  ๒  เดือน  นับแต่วันสิ้นสุดการชุมนุม

...............................................................................................................

    สำนักงานประกันสังคม ได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้างที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ และผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ ที่มีภูมิลำเนาหรือทำงานในพื้นที่เขตปทุมวัน เขตสาทร เขตราชเทวี เขตดินแดง เขตบางรัก เขตคลองเตย และเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยได้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาการนำส่งเงินสมทบ สำหรับเงินสมทบประจำเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓  โดยให้นำส่งเงินสมทบได้ภายในวันที่  ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓       

    กรุงเทพมหานคร  ผ่อนผันขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน สำหรับปีภาษี ๒๕๕๒  ไปจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน  ๒๕๕๓ โดยปลอดดอกเบี้ยสามเดือน  สำหรับดอกเบี้ยในเดือนต่อๆ ไปขอให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยในกรุงเทพมหานครต่อไป

............................................................................................................

๕.มาตรการช่วยเหลือเรื่องค่าเช่า

.............................................................................................................

     ค.ร.ม.ได้พิจารณาช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเรื่องค่าเช่าและค่าบริการแก่ร้านค้าย่อย เนื่องจากสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ได้มีหนังสือยืนยันขอรับความช่วยเหลือเรื่องค่าเช่าและค่าบริการแก่ร้านค้าย่อยในสัดส่วนร้อยละ ๗๐ ของวงเงิน โดยให้กระทรวงแรงงานขอรับการจัดสรรงบประมาณและเป็นหน่วยงานเบิกจ่ายงบประมาณต่อไป

...............................................................................................................

 ๖.จัดหาสถานที่/พื้นที่สำหรับทำการค้า

.............................................................................................................

           ค.ร.ม.อนุมัติงบให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปรับปรุงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ทั้งนี้ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิจารณางดเก็บค่าเช่าจากผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ เป็นระยะเวลา ๑ ปี ไปพิจารณาด้วย เห็นชอบให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมและประสบวินาศภัยเป็น   ๒ ส่วน  ดังนี้

 ส่วนที่ ๑ ยกเว้นไม่เรียกเก็บค่าเช่าจากผู้ประกอบการเป็นเวลา ๑ เดือน  และผ่อนผันให้ยืดระยะเวลาชำระค่าเช่าของเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน  ๒๕๕๓  ออกไป โดยไม่มีดอกเบี้ย

 ส่วนที่ ๒ ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบวินาศภัย โดยการไม่เรียกเก็บค่าเช่าเป็นระยะเวลา ๖ เดือน ในอาคารกึ่งถาวรซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างขึ้นใหม่

............................................................................................................

๗.ผ่อนปรนค่าสาธารณูปโภค

..............................................................................................................

       ค.ร.ม. เห็นชอบให้การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวงแลบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) พิจารณาผ่อนผันค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งกรณีการชำระค่าบริการและชะลอการงดให้บริการน้ำประปา ไฟฟ้า และโทรศัพท์ ส่วนกรณีมีการค้างชำระค่าบริการให้งดเว้นดอกเบี้ยในระหว่างผ่อนผันด้วย

    -ให้การไฟฟ้านครหลวงได้มีหนังสือแจ้งการผ่อนปรนค่าไฟฟ้าที่มีการค้างชำระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง  กรณีมีการค้างชำระค่าไฟฟ้า  ให้แก่ผู้ประกอบการขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่และกิจการเฉพาะอย่าง  ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราชประสงค์  ผ่านฟ้า  บริเวณสีลมบางส่วน และโรงแรมยูโร แกรนด์ โฮเต็ล สามารถผ่อนชำระค่าไฟฟ้าที่ค้างชำระ ณ วันที่แจ้งความจำนงได้ไม่เกิน ๖ เดือน  โดยงดเว้นดอกเบี้ยและชะลอการงดจ่ายไฟฟ้า

 -ให้การประปานครหลวง ประกาศ เรื่องมาตรการผ่อนปรนและช่วยเหลือผู้ใช้น้ำที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง  ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม  ๒๕๕๓ ได้ขยายกำหนดเวลาการชำระหนี้ค่าน้ำประปาถึงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ และยกเว้นการคิดค่าน้ำขั้นต่ำ  มาตรวัดน้ำขนาด ๑ นิ้วครึ่งขึ้นไปเป็นเวลา ๖ เดือน

............................................................................................................

๘. มาตรการช่วยเหลือลูกจ้างในระบบประกันสังคมและนอกระบบประกันสังคม 

................................................................................................................ 

      - ค.ร.ม.มีมติ ในกรณีเป็นลูกจ้างในระบบประกันสังคมที่จะได้รับความช่วยเหลือตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม กรณีว่างงานจากกองทุนประกันสังคมร้อยละ ๕๐ ของค่าจ้าง แต่ไม่เกินเดือนละ ๗,๕๐๐ บาท เป็นเวลาไม่เกิน ๖ เดือนนั้น ให้ภาครัฐจ่ายสมทบ อีกหนึ่งเท่าตามสิทธิที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ ให้จ่ายได้สูงสุดไม่เกินเดือนละ๗,๕๐๐ บาท ส่วนกรณีเป็นลูกจ้างที่ยังไม่เข้าระบบประกันสังคม อนุมัติในหลักการให้ภาครัฐจ่ายเงินช่วยเหลือรายละ ๗,๕๐๐ บาท ซึ่งเมื่อได้ข้อยุติเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะต้องช่วยเหลือในส่วนนี้แล้ว ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง

 -ค.ร.ม.มีมติอนุมัติงบให้สำนักงานประกันสังคมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรการช่วยเหลือลูกจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง สำหรับ

          ๑. ผู้ถูกเลิกจ้างในระบบประกันสังคม จำนวน ๒๙๑ ราย รัฐบาลจ่ายสมทบร้อยละ ๕๐ ของค่าจ้างเป็นเวลา  ๖ เดือน

          ๒. ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนแต่ยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ ๖ เดือน จำนวน ๔๒ ราย ให้ความช่วยเหลือ รายละ ๑๕,๐๐๐ บาท (ครั้งเดียว)

             ๓.ลูกจ้างนอกระบบประกันสังคมที่ถูกเลิกจ้าง  ซึ่งมีจำนวน ๓๙ ราย ให้ความช่วยเหลือ รายละ ๗,๕๐๐ บาท (ครั้งเดียว)

..............................................................................................................

 ๙.  มาตรการช่วยเหลือพิเศษให้แก่ผู้ประกอบการที่ถูกเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากการชุมนุมโดยตรง  และผู้ประกอบการที่ไม่ได้ถูกเพลิงไหม้โดยตรง  แต่ได้รับความเสียหายเกี่ยวเนื่องจากเพลิงไหม้ เช่น น้ำดับเพลิง  สารเคมี  และควันไฟ

.............................................................................................................

 - ค.ร.ม. เห็นชอบและอนุมัติตามข้อเสนอของคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม  ดังนี้

อนุมัติให้ผู้ประกอบการที่ทรัพย์สินถูกเพลิงไหม้โดยตรง และผู้ประกอบการที่ทรัพย์สินไม่ได้ถูกเพลิงไหม้โดยตรง แต่ได้รับความเสียหายเกี่ยวเนื่องจากเพลิงไหม้ เช่น น้ำดับเพลิง สารเคมี และควันไฟ ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมโดยตรงในเขตกรุงเทพมหานคร

ได้รับความช่วยเหลือทั้งมาตรการเงินสด (มาตรการเงินช่วยเหลือพิเศษแบบให้เปล่า) และมาตรการภาษี (เพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายจากเหตุเพลิงไหม้)  ทั้งผู้ที่มีประกันภัยและไม่มีประกันภัย ตามมาตรการช่วยเหลือพิเศษให้แก่ผู้ประกอบการที่ทรัพย์สินถูกเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากการชุมนุมโดยตรง และผู้ประกอบการที่ทรัพย์สินไม่ได้ถูกเพลิงไหม้โดยตรง แต่ได้รับความเสียหายเกี่ยวเนื่องจากเพลิงไหม้ เช่น น้ำดับเพลิง สารเคมี และควันไฟ  ดังนี้

..........................................................................................................

 - มาตรการเงินสด (มาตรการเงินช่วยเหลือพิเศษแบบให้เปล่า)

................................................................................................................

    (๑) ผู้ประกอบการที่ทรัพย์สินถูกเพลิงไหม้โดยตรง ให้ความช่วยเหลือคิดจากตารางเมตรที่ใช้ทำธุรกิจต่อบุคคล/นิติบุคคล ในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาทต่อตารางเมตร โดยสูงสุดไม่เกิน ๕๐ ตารางเมตร  เป็นเงินไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ทรัพย์สิน  ถูกเพลิงไหม้ทุกราย จะได้รับเงินช่วยเหลือขั้นต่ำตามตารางเมตรที่ใช้ทำธุรกิจไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท

 (๒) ผู้ประกอบการที่ทรัพย์สินไม่ได้ถูกเพลิงไหม้โดยตรง แต่ได้รับความเสียหายที่เกี่ยวเนื่องจากเพลิงไหม้ เช่น น้ำดับเพลิง สารเคมี และควันไฟ จะได้รับเงินช่วยเหลือครึ่งหนึ่งของผู้ประกอบการที่ทรัพย์สินถูกเพลิงไหม้ ในอัตรา ๕,๐๐๐ บาทต่อตารางเมตร โดยสูงสุดไม่เกิน ๕๐ ตารางเมตร เป็นเงินไม่เกิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ทรัพย์สินไม่ได้ถูกเพลิงไหม้โดยตรง แต่ได้รับความเสียหายที่เกี่ยวเนื่องจากเพลิงไหม้ทุกรายจะได้รับเงินช่วยเหลือขั้นต่ำตามตารางเมตรที่ใช้ทำธุรกิจไม่น้อยกว่า ๒๕,๐๐๐ บาท

............................................................................................................

 -มาตรการภาษี (เพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายจากเหตุเพลิงไหม้)

................................................................................................................

            (๑) สำหรับทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์สำนักงาน ฯลฯ ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ จะได้รับค่าใช้จ่ายทางภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๑๐๐ ของมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินส่วนที่เหลืออยู่หลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนั้น (Book value) โดยจะได้รับในปีภาษีที่เริ่มดำเนินการใหม่ 

              (๒) สำหรับทรัพย์สินประเภทอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์จะได้รับค่าใช้จ่ายทางภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๑๐๐ ของมูลค่าต้นทุนของสินทรัพย์ส่วนที่เหลืออยู่หลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนั้น หรือจำนวน

ร้อยละ ๕๐ ของมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่มีอยู่ในวันที่เริ่มต้นหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนั้น (original value before write-off) แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า โดยจะได้รับในปีภาษีที่เริ่มดำเนินการใหม่

             (๓) สำหรับสินค้าที่ตัดออกจากบัญชีจากเหตุการณ์ จะได้รับเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีเพิ่มอีกร้อยละ ๑๐๐ ของมูลค่าของสินค้าที่เสียหายที่ตัดออกจากบัญชี

.............................................................................................................

-มาตรการช่วยเหลือด้านภาษีเพิ่มเติม  ดังนี้

..............................................................................................................

  ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายการดังต่อไปนี้

     ๑) เงินช่วยเหลือเป็นเงินทุนประกอบอาชีพ ครอบครัวละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ของกรุงเทพมหานคร

    ๒) เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชนที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมือง    ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ถึง ๒๐ พฤษภาคม  ๒๕๕๓ กรณีร้านค้าหรือทรัพย์สินถูกเพลิงไหม้   ถูกโจรกรรม ถูกทำลาย เป็นต้น จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาทต่อราย

    ๓) เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ถูกเพลิงไหม้โดยตรง และผู้ประกอบการที่ไม่ได้ถูกเพลิงไหม้โดยตรง แต่ได้รับความเสียหายที่เกี่ยวเนื่องจากน้ำดับเพลิง สารเคมี และควันไฟ

    ๔) เงินช่วยเหลือจากบริษัทประกันภัย

    ๕) เงินช่วยเหลือค่าจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง

     ๖) เงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายพนักงานสำหรับผู้ประกอบการที่รักษาสภาพการจ้างงานไว้

     ๗) เงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายค่าเช่าสำหรับผู้ให้เช่าซึ่งไม่คิดค่าเช่ากับผู้เช่า

     ๘) เงินสินไหมส่วนที่เกินจากส่วนที่เสียหายที่ตัดจำหน่ายออกจากบัญชี

.............................................................................................................

 เพิ่มค่าใช้จ่ายทางภาษีสำหรับเงินช่วยเหลือที่บริษัทประกันภัยจ่ายให้แก่ผู้เอาประกัน    

- ให้กระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร)เสนอค.ร.ม.พิจารณาในส่วนของมาตรการด้านภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ ตามมาตรการช่วยเหลือพิเศษให้แก่ผู้ประกอบการที่ทรัพย์สินถูกเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากการชุมนุมโดยตรงและผู้ประกอบการที่ทรัพย์สินไม่ได้ถูกเพลิงไหม้โดยตรงแต่ได้รับความเสียหายเกี่ยวเนื่องจากเพลิงไหม้ เช่น น้ำดับเพลิง สารเคมี และควันไฟ และในส่วนของมาตรการช่วยเหลือด้านภาษีเพิ่มเติม ตามมติคณะกรรมการช่วยเหลือฯ ต่อไป

...........................................................................................................

 ๑๐.มาตรการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยด้านการฟ้องคดี

..............................................................................................................

-ค.ร.ม.มีมติ ให้กระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) ช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายในด้านการฟ้องคดีแก่ผู้เอาประกันจากเงินกองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำ และให้บริการเรื่องการฟ้องคดีด้วย รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยโดยยึดตามหลักความเป็นธรรม หากมีกรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้รับเงินช่วยเหลือจากบริษัทประกันภัย เพื่อมิให้ผู้เอาประกันภัยต้องเสียสิทธิในการฟ้องคดี

................................................................................................................

 ๑๑.กรณีการฟื้นฟูชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง

..............................................................................................................

-กรณีการช่วยเหลือฟื้นฟูชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา เช่น ชุมชนบ่อนไก่ ชุมชนดินแดง เป็นต้น มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับไปพิจารณาดำเนินการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

...............................................................................................................

๑๒. มาตรการอื่น ๆ 

.............................................................................................................

- ค.ร.ม.มีความเห็นเพิ่มเติม กรณีห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์มีความประสงค์ที่จะย้ายผู้ประกอบการร้านค้าและพนักงานทั้งหมดไปประกอบการที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว เนื่องจากห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ถูกเพลิงไหม้จนไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ และขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเลื่อนเวลาปิดปรับปรุงห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าวออกไปก่อน รวมทั้งขอขยายเวลาเช่าพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจากเดิมออกไปอีก ๑ ปีด้วย

............................................................................................................

...... และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม

....รับไปพิจารณาดำเนินการร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย

   และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยด่วนต่อไป

   รวมทั้งมีการเปิดบัญชี ไทยสามัคคี เพื่อเป็นช่องทางในการบริจาคเงินของประชาชนเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ต่อไป

..........................................................................................................

....มีคนจำนวนมากขอรับความช่วยเหลือแล้ว  เชื่อว่ายังมีจำนวนหนึ่งเช่นกันที่เข้าไม่ถึงข้อมูลดังกล่าวและรอการช่วยเหลืออยู่

 งานนี้..เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ  

          เป็นคนสำคัญขับเคลื่อนเรื่องนี้

...........................................................................................................

      ติดต่อขอความช่วยเหลือที่.........คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม

       สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร 022884000 ต่อ 4405

      โทรสาร 022884447

...............................................................................................................                         

 

 

  

 

หมายเลขบันทึก: 382256เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2010 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท