โครงการสานฝันยุวเกษตรกรในโรงเรียน ปี 2553


การจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกร ปี 2553

โครงการสานฝันยุวเกษตรกรในโรงเรียน

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (สพฐ.) 

 ในเขตปฏิรูปที่ดิน  จังหวัดพะเยา  ประจำปี  2553

1.  หน่วยงานที่รับผิดชอบ                                               

          1.  สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา

          2.  สำนักงานปฏิรูปที่ดินพะเ

          3.  โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสานฝันยุวเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน  ปี  2553 

 

2.  หลักการและเหตุผล

               ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรจัดทำข้อตกลงร่วมกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรม(ส.ป.ก.) ภายใต้นโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนโยบายของรัฐบาลคือ  การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มาเป็นกรอบแนวคิดและแนวทางในการดำเนินงานปฏิรูปที่ดิน  โดยการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และนิคมเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามวิถีพอเพียง สามารถพึ่งพาตนเอง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน

                สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยาจึงได้จัดทำข้อตกลงกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพะเยาจัดทำโครงการสานฝันยุวเกษตรกรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)  ในเขตปฏิรูปที่ดิน  จังหวัดพะเยา  ประจำปี  2553  นอกจาก ส.ป.ก. จะให้ความสำคัญในการพัฒนาเกษตรกรแล้ว ยังเน้นการพัฒนาบุตรหลานเกษตรกรหรือยุวเกษตรกร  ซึ่งเป็นผู้ที่จะได้รับที่ดินตกทอดในอนาคตได้เรียนรู้และการพัฒนาการเกษตร  รวมทั้งพัฒนางานของ  ส.ป.ก.  ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยาและส.ป.ก.พะเยา จึงได้ร่วมกันจัดกระบวนการพัฒนายุวเกษตรกรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นบุตรหลานเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ในรูปแบบของการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการองค์   ด้านการผลิตสินค้าเกษตรแบบปลอดภัยและได้มาตรฐานเพื่อแปรรูปสินค้าเกษตรเพิ่มมูลค่า   สร้างเศรษฐกิจชุมชนที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

3.  วัตถุประสงค์

              1.  เพื่อสร้างและพัฒนายุวเกษตรกร  ตามแนวพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

              2.  เพื่อให้ยุวเกษตรกรผู้ที่จะได้รับที่ดินตกทอดตาม พ.ร.บ. ในอนาคต ได้รู้  “สิทธิ และหน้าที่”  ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน

              3.  เพื่อให้ยุวเกษตรกรได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในด้านการบริหารจัดการองค์กร  ด้านผลิตสินค้าเกษตร  การแปรรูปเพิ่มมูลค่าตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4.  ลักษณะโครงการและกิจกรรม

         เป็นการสร้างและพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีกิจกรรม  ดังนี้

              1.  จัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน

              2.  ครอบครัวผาสุกเศรษฐกิจพอเพียง  โดยการคัดเลือกยุวเกษตรกร  1  ราย ที่ครอบครัวอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน และพร้อมที่จะจัดทำแปลงเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร

              3.  โรงเรียนจัดกิจกรรมสอนเสริม/ฝึกอบรม “สิทธิและหน้าที่”  เพื่อเสริมสร้างวินัย

              4.  คัดเลือกโรงเรียนดีเด่นระดับจังหวัด เข้าร่วมการเสนอกิจกรรมยุวเกษตรกร ระดับประเทศ และเข้ารับการศึกษาดูงาน  ณ ศูนย์พัฒนาทักษะยุวเกษตรกรฯ 4  ภาค

              5.  คัดเลือกครอบครัวดีเด่นระดับจังหวัด นำเสนอกิจกรรมครอบครัวผาสุก เศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ  และรับการศึกษาดูงาน  เพื่อขยายผล/เรียนรู้

 

5.  กลุ่มเป้าหมาย

            โรงเรียนที่ดำเนินการโครงการสานฝันยุวเกษตรกรฯ  ในปี  2552   จำนวน  6 โรงเรียน  ดังนี้

ที่

ชื่อโรงเรียน

หมู่ที่

ตำบล

อำเภอ

1

โรงเรียนบ้านทุ่งติ้ว

6

ภูซาง

ภูซาง

2

โรงเรียนบ้านพวงพยอม

6

หงษ์หิน

จุน

3

โรงเรียนบ้านบ่อเบี้ย

6

บ้านมาง

เชียงม่วน

4

โรงเรียนชุมชนบ้านบอน

 

ปง

ปง

5

โรงเรียนขุนกำลัง

5

ขุนควร

ปง

6

โรงเรียนบ้านใหม่

4

งิม

ปง

 

6.  แนวทางการดำเนินงาน

        6.1.  สร้างและพัฒนายุวเกษตรกร โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตปฏิรูปที่ดิน  6โรงเรียน และยุวเกษตรกร ผู้ที่จะได้รับที่ดินตกทอดในอนาคต จำนวน 300  คน  ให้มีความรู้ความเข้าใจ  เรื่อง  “สิทธิและหน้าที่”   ของเกษตรกรที่จะใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ

        6.2.  สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงการจัดการระหว่างโรงเรียน ยุวเกษตรกร  ครอบครัวเกษตรกร  และชุมชน

        6.3  สร้างโรงเรียนต้นแบบและขยายผลองค์ความรู้สู่โรงเรียนเครือข่าย/ชุมชน

7.  ระยะเวลาดำเนินการ       มกราคม  2553 -  กันยายน  2553

8.  งบประมาณ  ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปฏิรูปที่ดิน จังหวัดพะเยา  

     จำนวน 81,000  บาท( แปดหมื่นหนึ่งพันบาท ) จำนวน  6 โรงเรียน  โดยมีรายละเอียด  ดังนี้

          8.1  งบบริหารจัดการกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน  โรงเรียนละ  1,500  บาท  6 โรงเรียน เป็นเงิน  9,000  บาท

          8.2 ค่าจัดตั้งกลุ่ม / จัดอบรมสิทธิ  หน้าที่โรงเรียนละ 7,000 บาท 6 โรงเรียน  เป็นเงิน  42,000  บาท

         8.3  ค่าจัดทำแปลงเรียนรู้ในโรงเรียนโรงเรียนละ  5,000  บาท  จำนวน  6 โรง เป็นเงิน 30,000  บาท    

9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

           1.  ยุวเกษตรกรได้รับความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

           2.  ยุวเกษตรกรได้รับความรู้  “สิทธิและหน้าที่”  มีวินัยในการดำเนินชีวิต พร้อมเป็นเกษตรกรอนาคตในเขตปฏิรูปที่ดิน

           3.  เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน  กลุ่มยุวเกษตรกร  ครอบครัว  เกษตรกร  และชุมชน  ทำให้ครอบครัวผาสุก  มั่นคง และยั่งยืน ต่อไป

 

                                     ลงชื่อ.............................ผู้เสนอโครงการ

                                                (  สงบ  ยศมูล  )

                                  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ระดับปฏิบัติการ

 

                                  ลงชื่อ...........................ผู้เห็นชอบโครงการ

                                   (  นายบุญนาค   ศรีเปาระยะ  )

                              หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร

 

                              ลงชื่อ.................................ผู้อนุมัติโครงการ

                                 (  นายราเชนทร์  สุวรรณหิตาทร  )

                                เกษตรจังหวัดพะเยา   ทำการแทน

                                       ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา

หมายเลขบันทึก: 382044เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2010 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท