เมื่อใช้ “แม่พิมพ์” กับ “นายอำเภอ” ความหมายในโครงสร้างครอบครัว ตอนที่ ๑


เมื่อเป็น “แม่” (พิมพ์) จึงต้อง มาคู่กับ “นาย” (อำเภอ)

ในช่วงเดือนนี้สังคมกำลังให้ความสำคัญกับความเป็นแม่ตามกำหนดให้วันที่ ๑๒ สิงหาคมของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติ แม้แต่คณะรัฐมนตรีที่มีมติให้วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นวันหยุดพิเศษ ผู้เขียนจึงได้พิจารณาสิ่งที่ช่วยในการสร้างสำนึกรักแม่ โดยเลือกหยิบยกบทเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแม่ขึ้นมา โดยที่นี้ผู้เขียนจะเรียกว่า “ชุดเพลงแม่” ประกอบด้วยเพลงอิ่มอุ่น เพลงลาวครวญ เพลงอุ้ยคำ เพลงแม่  เพลงเรียงความเรื่องแม่ เพลงดาวลูกไก่ โดยที่เพลงเหล่านี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับแม่ทั้งหมด

                ผู้เขียนได้สร้างความสงสัยขึ้นในใจว่า บทเพลงชุดเพลงแม่นี้มันมีบทบาทอย่างไรในสังคม เป็นประเด็นที่จะศึกษาวิเคราะห์ โดยใช้แนวความคิดด้านของวัฒนธรรม ที่มองว่ามีการนำเรื่องราวของแม่มาเรียบเรียงเป็นบทเพลง ซึ่งแตกต่างจากพ่อที่มุ่งนำเสนอในความเป็นพ่อของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นพ่อของแผ่นดิน ในส่วนของแม่มีความแตกต่างอยู่บ้าง เช่น เพลงอุ้ยคำ ผู้หญิงสามัญชนที่เป็นแม่ได้ถูกนำมาขับขานเป็นเพลง มันเกิดอะไรขึ้นกับความสำคัญของฐานะแม่

                ในงานของอาจารย์นพพร  ประชากุล ได้กล่าวถึงเรื่องจากนายอำเภอสู่นางอำเภอ งานเขียนชิ้นนี้ได้จุดประกายแนวคิดของผู้เขียนว่าในสังคมของเรามีคำที่ใช้ที่น่าสนใจในการอธิบายข้อสงสัยนี้อยู่สองคำ คือคำว่า “แม่พิมพ์” ที่ส่วนมากแล้วใช้กับบุคคลที่เป็นครู และคำว่า “นายอำเภอ” ซึ่งอาจารย์นพพรมองว่าคำว่านายอำเภอคงไม่ใช้คำบอกเพศอย่าง ชายหรือหญิงที่เรารับรู้ หากเป็นเพียงตำแหน่งหน้าที่ในสังคมเท่านั้น

                ใช่ ! ผู้เขียนเองก็เห็นว่า คำว่า “แม่” กับคำว่า “นาย” ในตรงนี้คงไม่ใช่เพียงแค่คำที่ทำหน้าที่บอกเพศว่าเป็น ชายหรือหญิง แต่ต้องเป็นคำที่ใช้บอกบทบาทหน้าที่มากกว่า

                โครงสร้างทางสังคมที่วิเคราะห์จากชุดเพลงแม่นี้ ผู้เขียนได้แบ่งสังคมออกเป็นสามโครงสร้างโดยเอาคำว่าครอบครัวที่แกน ซึ่งในโครงสร้างดังกล่าวมีสามเสาอันประกอบด้วย เสาแรกคือเสาหาเลี้ยงหรือเสาของความเป็นพ่อ เสาที่สองคือเสาอบรมสั่งสอนหรือเสาของความเป็นแม่ และเสาที่สามคือเสาของผู้อาศัยหรือเสาของความเป็นลูก ซึ่งเสาแต่ละเสาก็มีบทบาทหน้าที่ที่จะต้องกระทำ รับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไป

 

เมื่อเป็น “แม่” (พิมพ์) จึงต้อง มาคู่กับ “นาย” (อำเภอ)

                ที่ผู้เขียนกล่าวอย่างนี้เพราะผู้เขียนเชื่อว่าเสาของครอบครัวทั้งสามมีหน้าที่แตกต่างกัน และความคิดนี้ก็ไปประจวบเหมาะพอดีกับความนิยมในสังคมที่มีการใช้คำว่า “แม่พิมพ์” หรือ “นายอำเภอ” การแบ่งโครงสร้างทางสังคมนี้จึงแสดงให้เห็นว่าในสังคมมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันอย่างชัดเจนในโครงสร้างของความเป็นครอบครัว มีอยู่สามเสาหลัก ประกอบด้วย เสาหาเลี้ยง เสาอบรมสั่งสอน และเสาผู้อาศัย หรือพ่อแม่ลูก ในที่นี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอบทบาทหน้าที่ของแต่ละเสา ดังต่อไปนี้

                ๑. เสาแรกคือเสาหาเลี้ยงหรือเสาของความเป็นพ่อ ในสังคมไทยคนที่ทำหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของคนในสังคมระดับอำเภอ มีการใช้คำเรียกว่า “นายอำเภอ” ซึ่งหน้าที่โดยส่วนมากของนายอำเภอคือการปกครอง มุ่งเน้นในเรื่องความเป็นอยู่ของผู้คน นั่นย่อมหมายถึงความอยู่ดีกินดี เรื่อปากเรื่องท้อง เช่น เมื่อฝนไม่ต้องตามฤดูกาล นายอำเภอก็มีหน้าที่ที่จะต้องหาวิธีการบรรเทาทุกข์ ซึ่งก็มีหลายวิธีการแตกต่างกันไป แต่ที่ผู้เขียนยกเรื่องนี้มากล่าวเพื่อที่จะอธิบายว่าในครอบครัวของเรา คนที่มีหน้าที่ดูแลปกป้องและดูแลในเรื่องของความเป็นอยู่ หรือเอาให้เข้าใจง่ายๆ คือ ผู้ที่มีหาที่หลักในการหาปัจจัยจุนเจือครอบครัวก็คือ “พ่อ” ในสังคมคงไม่ใช้ “นายอำเภอ” เฉพาะผู้ชายเท่านั้น เมื่อผู้หญิงรับตำแหน่งดังกล่าวเราจะเรียก “นางอำเภอ” หรือไม่? คงจะเรียกว่านายอำเภอดังเดิม ซึ่งในสังคมส่วนมากผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวตามโครงสร้างทางครอบครัวก็คือ สามีหรือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นพ่อ เหตุผลนี้เองจึงอาจจะเป็นที่มาของคำว่า “นาย” ใน “นายอำเภอ” ด้วย ซึ่งนับว่าเป็นเสาที่มีความสำคัญมาก ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในเสาที่สองว่าสำคัญอย่างไร

๒. เสาที่สองคือเสาอบรมสั่งสอนหรือเสาของความเป็นแม่ ในสังคมเราใช้คำว่า “แม่พิมพ์” กับผู้ที่ทำหน้าที่ในการขัดเกลานิสัยของผู้อื่น หรือครู แม้ว่าผู้ที่ทำหน้าที่ครูหรืออบรมสั่งสอนจะมีทั้งที่เป็น “ชายและหญิง” และโดยส่วนมากเป็นผู้ชายร่มไปถึงในอดีตกาลที่มีการเรียนการสอนคนที่ทำหน้าที่ครูก็เป็นพระสงฆ์ นั่นก็คือผู้ชาย แต่หากมองไปถึงยุคก่อนที่จะมีการเรียนการสอนหรือในปัจจุบันก่อนจะเข้าสู่ระบบโรงเรียนทุกคนจะต้องผ่านการอบรมสั่งสอนในเบื้อต้น โดยที่ผู้ทำหน้าที่ดังกล่าวคือ “แม่” ด้วยเหตุนี้เองที่อาจจะเป็นที่มาของการใช้คำว่า “แม่พิมพ์” แต่ในที่นี้สนใจในเรื่องของบทบาทหน้าที่มากกว่า แม่จึงเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการขัดเกลานิสัยของลูก ดังเช่นในเพลงอิ่มอุ่นที่ว่า “แม่พร่ำเตือน พร่ำสอน สอนสั่ง ให้เจ้าเป็นเด็กดี ให้เจ้ามีพลัง ให้เจ้าเป็นความหวังของแม่ต่อไป” ในเพลงนี้จึงสามารถที่จะสะท้อนให้เห็นว่าแม่เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในโครงสร้างที่สองนี้ เมื่อไหร่ก็ตามที่เสาที่สองขาดความแข็งแรกผลเสียงก็จะต้องตกไปถึงเสาที่สามด้วย ดังเช่นในเพลงอุ้ยคำ “อุ้ยคำแกบอก เล่าความเป็นมา ลูกผัวก่อนหน้านั้นอยู่ตวยกัน แล้วมาวันหนึ่ง ผัวแกก็พลัน มาต๋ายละกั๋น เหลือเพียงลูกสาว” ในเพลงนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อเสาใดเสาหนึ่งในโครงสร้างของครอบครัวต้องรับภาระที่หนักเกินกำลังผลที่ออกมาจะต้องกระทบไปถึงเสาที่สามด้วย อุ้ยคำเดิมตอนที่มีสามีนั้น มีความรับผิดชอบในเสาที่สองอย่างเต็มกำลัง ในการที่จะอบรมสั่งสอนลูกของตนให้อยู่ในจารีตประเพณีที่ดีงามของสังคมได้ หลังจากที่สามีของอุ้ยคำจากไป อุ้ยคำจึงต้องรับเอาภาระของเสาที่หนึ่งไว้ด้วย เมื่อเสาที่หนึ่งมาเพิ่มเป็นภาระให้มันหนักเกิดที่คนเดียวจะรับไว้ได้เพียงผู้เดียว ทำให้ลูกของตนต้องเป็นไปในทางที่ขัดกับกรอบของสังคม และเสาที่หนึ่งนี้เองที่มีความสำคัญต่อเสาอื่นๆ ในโครงสร้างของครอบครัว

เสาที่สามคือเสาของผู้อาศัยหรือเสาของความเป็นลูก

                เมื่อ “แม่” เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูมากกว่าพ่อที่ทำหน้าที่จุนเจือครอบครัว ต้องออกไปทำงานนอกบ้านทำให้ไม่มีเวลาได้ใกล้ชิดกับพ่อ ลูกจึงรู้สึกผูกพันกับแม่ เหตุที่กล่าวว่าความผูกพันของลูกที่มีต่อแม่นั้นเกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิดกลับแม่ แม่ไหร่ที่แม่ในฐานะเสาที่สองของครอบครัวไม่ได้ทำหน้าที่หรือทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ก็จะส่งผลไปยังเสาที่สามคือลูกดังเช่นในเพลงอุ้ยคำ หรือ เพลงเรียงความเรื่องแม่

หมายเลขบันทึก: 381935เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2010 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 00:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ท่านนักวิชาการน้อย ท่านควรอธิบายเพิ่มเติมคำ เสาที่ 3 ให้กระจ่างชัด เพื่อชี้แนะและชี้นำให้เสาที่ 3 จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อเสาที่ 1 หักไป หรือหากเสาทั้ง 3 เสายังอยู่พร้อมหน้ากัน เสาที่ 3 ก็คงเป็นเสาที่สำคัญไม่แพ้เสาอื่นๆ เปรียบเหมือนดัง "ก้อนเส้า" เวลาก่อไฟหุงหาอาหารในสมัยก่อน หากก้อนใดก้อนหนึ่งหักไปหม้อข้าวคงตั้งไม่ตรงและอาจจะคว่ำได้แน่ แต่มันมีวิธีที่จะทำให้ข้าวสุกได้โดยการหันก้อนเส้ามาขยับให้ชิด หรือ ช่วยกันพยุงให้หม้อข้าวได้สุก หอมกรุ่นน่าอร่อย..ฉันใดก็ฉันนั้น ..คำว่าแม่...นั้นยิ่งใหญ่เหลือเกิน เป็นผู้ให้ลมหายใจ..บางครั้งเปรียบเหมือนลมหายใจของลูก..วันใดที่เราไม่มีแม่..วันนั้นจะเป็นวันที่เราหว้าเหว่ที่สุด ..ไม่มีอีกแล้วผู้หญิงที่รักเราเท่าชีวิต ไม่มีอีกแล้วผู้หญิงที่รักเราเท่าชีวิตของท่าน...ในฐานนะเราเป็นคนหนึ่งที่เพิ่งสูญเสียแม่ไป..เราอยากบอกว่าวันแม่นี้ ..เราไม่มีที่ไป........................................................ไม่รู้จะไปหาใคร ไม่รู้เลย....................

อยากให้ลงบทบาทของเพลงให้อ่านหน่อยค่ะ จะขอบคุณมาก(เกี่ยวกับแม่)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท