วิจัยเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง (CAR 1-4)


ภาณุพงศ์ แสงดี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น
วิจัยเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง (CAR 1-4)
CAR  เป็นคำย่อมาจากคำว่า
 “ Classroom Action Research ”
หัวข้อ “ CAR เพื่อนำการเปลี่ยนแปลง ”ได้ให้คำถามเชิงพัฒนาแก่เพื่อนครูที่น่าสนใจว่า ...“ ใน 1  เทอมครูควรทำวิจัยกี่เรื่อง อะไรบ้าง ” เมื่อมีเวลาทบทวนจะเห็นว่า... “CAR  เพื่อนำการเปลี่ยนแปลง ” มีขั้นตอนการปฏิบัติที่น่าสนใจและเราๆ ท่านๆ ก็ทำกันอยู่มาโดยตลอด เพียงแต่ไม่ได้จัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล อาจเป็นเพราะ   ไม่รู้ ไม่เข้าใจหรือไม่มีเวลา แต่ไม่ใช่ไม่อยากทำ เพื่อนครูลองมาทำความเข้าในในแต่ละขั้นของ  CAR  ว่าเราจะทำอย่างไรกันต่อไป
      ขั้นที่1 CAR 1   เริ่มจากรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล หรือวิเคราะห์ผู้เรียน วิครูควรใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ (เมื่อเปิดภาคเรียน ) ทำความรู้จักผู้เรียนอาจนำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและระบบการเรียนรู้มาประยุกต์หรือบูรณาการซึ่งครูผู้สอนในแต่ละรายวิชา หรือครูที่ปรึกษาควรมีข้อมูลที่ชัดเจนเรียกว่า ข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในภาคเรียน หรือปีการศึกษาที่ผ่านมาพฤติกรรมหรือความสามารถที่เป็นจุดเด่น ตลอดจนพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและสิ่งที่ผู้เรียนควรได้รับความช่วยเหลือครูมีอิสระที่จะใช้เทคนิควิธีการ และเครื่องมือที่น่าเชื่อถือเพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าว หากเพื่อนๆยังไม่ได้ลงมือทำก็ทำได้แล้วดีกว่าอยู่เปล่าๆ ทำไปเรื่อยๆเพลินๆแล้วจะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าขึ้น 

          ขั้นที่  2 CAR 2 เข้าสู่การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งเริ่มตั้งแต่การจัดทำหลักสูตรอิงมาตรฐาน การทำหน่วยการเรียนรู้ตลอดจนการออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐานเป็นการทบทวนบทบาทภาระหน้าที่ของครู ตาม พ.ร.บ การศึกษา หมวด 4การจัดการศึกษา มาตรา 22 –30 ในขั้นตอนนี้ครูจะได้แสดงความเป็นมืออาชีพในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย... เชื่อเถอะว่า... ไม่มีวิธีการสอนใดดีที่สุดไม่มีสื่อชนิดใดที่ล้าสมัย หรือทันสมัยครูเพียงเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของวิธีการสอน และสื่ออย่างชัดเจนก็จะทำให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาตามที่ต้องการครูจึงต้องตอบคำถามให้ได้ว่า
       1.ความสำเร็จของการสอนมีอะไรบ้าง มีสาเหตุ และปัจจัยมาจากอะไร
       2. ปัญหาของการสอนมีอะไรบ้าง มีสาเหตุและปัจจัยมาจากอะไร                                            
       3. จะปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อประกอบการสอนอย่างไร
          ดังที่...ซุนวู บอกในตำราพิชัยยุทธ์ว่า “ รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง ”

       ขั้นที่ 3 CAR 3  เรียกว่ากรณีศึกษานักเรียน เป็นผลพวงมาจากขั้นที่ 1 คือรู้จักนักเรียนจากนั้นก็มาออกแบบการเรียนรู้ ซึ่งจะพบว่านักเรียนหรือผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างหลากหลายและมีรูปแบบวิธีการเรียนที่ต่างกัน บางคนชอบพูด  ถาม และโต้ตอบในขณะที่บางคนชอบอ่านหนังสือ หรือชอบฟังมากกว่าบางคนต้องลงมือทำจึงจะเกิดการเรียนรู้และบางคนเป็นประเภทชีวิตนี้...ใครอย่ามายุ่งกับฉัน ...กลุ่มนี้แหละที่น่าทำวิจัยที่สุดเพราะนอกจากครูจะต้องแม่นยำในเนื้อหาสาระที่สอนแล้ว ยังต้องรู้จักใช้จิตวิทยาและการบริหารจัดการ ชั้นเรียน ตลอดจนมีความเมตตาเข้าใจและช่วยเหลือผู้เรียนในเรื่องของความแตกต่างนั้นๆในเวลาเดียวกันก็บันทึกผลของการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาไว้เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับเพื่อนครู เรียกว่า KM : KnowledgeManagement (การจัดการเรียนรู้ )เป้าหมายสำคัญของขั้นนี้คือการแก้ปัญหานักเรียนไม่ใช่สร้างปัญหาให้นักเรียน คิดเสียว่า ... “ที่ใดไม่มีปัญหา..ที่นั่นไม่มีการพัฒนา”

           ขั้นที่ 4 CAR 4 เป็นขั้นการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ความจริงการวิจัยครูผู้สอนสามารถทำได้ตั้งแต่ CAR 1 ถึง CAR 4เพียงแต่ขั้นนี้เป็นขั้นที่ใช้สำหรับเรียกความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในตัวครูผู้สอนว่าวิธีการสอน สื่อนวัตกรรมที่ใช้มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่สามารถนำไปประยุกต์ในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดครูผู้สอนอาจเขียนเป็นรายงานวิจัยแผ่นเดียว หรือ 5บทแล้วแต่ปัจจัยที่เอื้ออำนวย  บางครั้งวิจัยแผ่นเดียวเขียนยากกว่า วิจัย 5 บทด้วยซ้ำสำหรับครู


แหล่งที่มา
http://gotoknow.org/blog/laddasp/190635?class=yuimenuitemlabel สืบค้นเมื่อ  23 ก.ค. 2553
คำสำคัญ (Tags): #car 1-4
หมายเลขบันทึก: 381578เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2010 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มกราคม 2021 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีคะ

ได้รับความรู้มากขึ้น จะได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและลูกศิษย์คะ

ขอบคุณมากคะ

รู้งูๆปลาๆ ทำแบบงงๆๆไปงงๆมาค่ะทั้งๆที่อบรมแล้วอบรมอีก work shop แล้วก็รู้เพิ่มอีกนิดๆหน่อยๆ

ได้รับความรู้เป็นอย่างดี Thanks

ธนวรรณ สุลักขณานุรักษ์

 ได้รับความรู้ความเข้าใจดีมากขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท