วิเคราะห์ไตรภาคีฯ: Review


ชาวบ้านล้วนมีปัญญาอยู่แล้วในการดูแลและพัฒนาสุขภาพของตนเอง

       ดิฉันร่วมกับทีมวิจัยในพื้นที่ภายใต้โครงการไตรภาคีฯ พบว่าชาวบ้านมีกระบวนการทางปัญญาที่เกิดจากการสร้างความรู้ขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง (กลุ่ม) เพื่อพัฒนาสุขภาพของตน และเมื่อได้ตามไปสัมภาษณ์เจาะลึกกับนักวิจัยผู้รับผิดชอบโครงการฯก็ได้รับการยืนยันว่าผู้วิจัย เจ้าหน้าที่ หรือวิทยากรชุมชน ไม่ได้มีส่วนในการนำทางความคิด หากแต่ได้ให้อิสระแก่ชาวบ้านในการสร้างความรู้ขึ้นมาได้ด้วยตัวเขาเอง แต่ก็มีบ้างเช่นกันที่เมื่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ระหว่างกันไม่เหมาะสม เขาก็ไม่สามารถสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นได้ แต่โดยสรุปว่าชาวบ้านล้วนมีปัญญาอยู่แล้วในการดูแลและพัฒนาสุขภาพของตนเอง แต่ตัวกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยังอาศัยช่วงจังหวะตามธรรมชาติ หากได้มีความรู้ว่าจะจัดให้เกิดเพื่อเป็นตัวเร่งกระบวนการได้อย่างไรแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ชาวบ้านมีกระบวนการทางปัญญาที่เกิดจากการสร้างความรู้ขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง (กลุ่ม) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องรอคอยความเหมาะสมตามธรรมชาติที่คาดหวังยากมาก

       การดำเนินการในลักษณะที่จะศึกษาเพื่อหารูปแบบที่มุ่งส่งเสริมให้ชาวบ้านเกิดกระบวนการทางปัญญาที่เกิดจากการสร้างความรู้ขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะมีความชัดเจนและคาดหวังได้ทุกครั้ง ในการพัฒนาสุขภาพชุมชนสู่การพึ่งตนเอง แต่ทีมวิจัยในพื้นที่ยังขาดความเข้าใจและพื้นฐานทางด้านนี้อยู่อีกมาก หากจะมีการศึกษาในประเด็นนี้เพิ่มเติม ก็จะเป็นส่วนที่เติมเต็มความสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นในการดำเนินงานได้ อีกทั้งจะเกิดประโยชน์มากสำหรับการขยายผลและสร้างความต่อเนื่องจนเป็นไปได้จริงตามแนวคิดหลักคือ “ชุมชนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างรู้เท่าทันและสามารถพึ่งตนเองได้ในอย่างยั่งยืนในเรื่องการดูแลสุขภาพ”

หมายเลขบันทึก: 38074เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2006 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท