ศรีตรังเบิกบาน
สำนักงาน กศน.จังหวัดตรัง ศรีตรัง

การพัฒนาโครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัว จังหวัดตรัง


จังหวัดตรังเรามีกลุ่มเยาวชนที่ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มเพื่อทำสิ่งดีๆ ซึ่งถือเป็นจุดแข็ง

     

Dsc00112

             ภาคประชาสังคมทุกภาคส่วนในจังหวัด   ตรังเข้ามามีส่วนร่วม

 วันเสาร์ อาทิตย์ ที่ผ่านมา  (31  กรกฎาคม -1  สิงหาคม 2553 )ผู้เขียนมีโอกาสเข้าร่วมประชุม โครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัว จังหวัดตรัง ที่โรงแรมวัฒนาปาร์ค  โดยมีประเด็น มีผู้เข้าร่วมโครงการมัทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น  เอกชน และNGO  กลุ่มสภาเด็กจังหวัดตรัง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการโดยเป้าหมายเพื่อร่วมกันจัดทำข้อเสนอการวางแผน จัดทำโครงการ บูรณาการ นำผลลัพธ์ที่ได้มากำหนดแผนปฏิบัติการ พัฒนาโครงการบูรณาการคุณภาพ ชีวิตเด็ก /เยาวชน/ ครอบครัว โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนันสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) 

    Dsc00099

 มีการดำเนินการประชุมระดมพลังสมอง  ช่วยกันค้นหาอนาคตร่วมกัน  โดยใช้เทคนิค FSC (Future Search Inference ) เริ่มจากการรู้จักตัวเอง ด้วยประเด็นเล็ก ๆ ที่น่ารักคือ

         1. ฉันคือใคร

         2. ฉันคาดหวังอะไร

         3. ฉันมีบทบาทอย่างไร

         4. ฉันจะได้รับผลอะไร(ความสุข )จากการเข้าร่วมทำงานครั้งนี้

         5.กระบวนการบูรณาการที่ดีควารเป็นอย่างไร

  หลังจากนั้นมีการทบทวนอดีต วิเคราะห์ปัจจุบันและฝันถึงอนาคต โดยใช้การทำ SWOT ANALYSIS  โดยมี อ.ชัยพร   จันทร์หอม จากนาโยงทำหน้าที่เป็น Moderator หลัก  และมีการตั้งวงพูดคุยในลักษณะสุนทรียสนทนา และในที่สุดก็มีการจัดทำแผนงานโครงการกิจกรรม

Dsc00081Dsc00082Dsc00088Dsc00105

   ภาครัฐภาคประชาชนทุกเพศทุกวัยและเด็กออทิสติกพร้อมผู้ปกครองต่างก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำแผนบูรณาการครั้งนี้

    การจัดทำแผนกิจกรรมครั้งนี้เรามีการเริ่มต้นโดยการเอาปัญหาคนในพื้นที่เป็นตัวตั้ง สำหรับจังหวัดตรังเรามีปัญหาหลักของเด็กและเยาวชน อยู่ 7 ด้านคือด้านครอบครัว ด้านความรุนแรง ด้านความรู้สึก ด้านสิ่งเสพติด ด้านเพศสัมพันธ์ ด้านการใช้เวลาว่าง และพฤติกรรมทั่วไป โดยแยกรายละเอียดปัญหาของเด็กเช่นเด็กขาดผู้อุปการะ เด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม  เด็กยากจนไม่ได้รับการศึกษา ส่วนของเยาวชน นั้นมีปัญหาเยาวชนติดเหล้า บุหรี่  ไม่มีเงินทุนในการศึกษา การติดสารเสพติด

  แต่ขณะเดียวกัน ในจังหวัดตรังเราก็มีกลุ่มเยาวชนที่ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มเพื่อทำสิ่งดีๆ ซึ่งถือเป็นจุดแข็ง ของจังหวัดหลายโครงการ เช่น  โครงการ เสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา (มูลนิธิอันดามัน  มูลนิธิหยาดฝน ) มีการสนับสนุนให้กลุ่มเยาวชนร่วมกันทำงานด้านการจัดการวิสาหกิจชุมชน ภูมิปัญญา และทรัพยากรในพื้นที่ป่า เขา พื้นราบ แม่น้ำ ทะเลและแต่ละกลุ่มได้มาเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้  เช่น เครือข่ายเยาวชนอนุรักษ์ลุ่มน้ำตรัง กลุ่มตกปูม้าบ้านตะเสะ กลุ่มต้นกล้าอันดามัน กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์สัมพันธ์ตรัง   กลุ่ม อสม. น้อย กลุ่มหมากพร้าว  กลุ่มสุขภาพดีสมสิบ  กลุ่มสาคู สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง ศูนย์พัฒนาครอบครัวกันตังใต้ ซึ่งมีนายก อบต. กันตังใต้ให้การสนับสนุนและให้เกียรติเข้าประชุมในเวทีครั้งนี้ด้วย   ได้เห็นความรับผิดชอบ และเอาจริงเอาจังของเยาวชนจากทุกกลุ่มแล้ว หน่วยงานทุกภาคส่วนแล้ว  ก็มีความภาคภูมิใจที่ตัวแทนจากทุกภาคส่วนมีการร่วมแรงร่วมใจการจัดทำแผนแบบบูรณาการ ซึ่งคงจะส่งผลไปสู่การพัฒนาจังหวัดตรังที่ยั่งยืนต่อไป

    

หมายเลขบันทึก: 380704เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2010 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท