ค่าของคนอยู่ที่ตัวเรา


ตนเอง

ค่าของคน  อยู่ที่ตัวเราเอง
               

 

คนเรานั้นเกิดมาเท่าเทียมกันทุกคน คือมาตัวเปล่ามีเพียงน้ำเมือกห่อหุ้มกายออกมามีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง  น่ารักเหมือนกัน  การปรุงแต่ง  เปลี่ยนแปลงต่างๆ  มาเกิดขึ้นในช่วงทั้งนั้น  ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและพันธกรรมสิ่งที่ทำให้มนุษย์เราแตกต่างกันมากที่สุดคือ  กิเลส  มีอวิชชา  เป็นจอมทัพ  มี  3  กำลังพลคอยจู่โจมยึดครองใจมนุษย์ใครเป็นทาสของมันมากก็น่าสงสารมาก 3 กองกำลังนั้นคือ โลภะ ทำใจให้มืดบอด ขาดเหตุผล เอาแต่ใจตนเองโลภะ  เกิดง่ายแต่หายช้า  โทสะเกิดง่ายหายก็ง่าย  โมหะเกิดช้าหายก็ช้า  โมหะเหมือนความมืดเป็นปฎิปักษ์ต่อปัญญา  ใช้ความรู้ในทางที่ผิด  ใจรวนเร  หูเบา  เห็นผิด  เป็นส่วนประกอบของโลภะและโทสะอีกด้วย  ทั้งโลภะ  โทสะ  และโมหะ  ใครขจัดได้ก็ย่อมทำให้ตัวเองมีความสุข เข้าถึงสัจธรรม  เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ชีวิตที่มีค่า  ใช้สติและปัญญา  เป็นตัวกำจัด  ในวันนี้ขอฝากเบญจธรรมและอริยทรัพย์  ช่วยขัดเกลากันก่อน

 

               เบญจธรรมหรือเบจกัลยาณธรรม  คือ  ธรรมอันดีงาม  5  ประการ  คู่กับเบญจศีล

เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่การรักษาศีลมี

1เมตตาและกรุณา  ความรักใคร่ปรารถนาดี  ให้มีความสุข  ความเจริญ  และความสงสาร  คิดช่วยให้คนอื่นพ้นทุกข์  คู่กับศีลข้อ  1  และช่วยขจัดโทสะได้                                                                                                                        สัมมาอาชีวะ  การประกอบอาชีพในทางสุจริต  คู่กับศีลข้อ  2

  1. กามสังวร  ความสังวรในกาม  ความสำรวมระวัง  รู้จักยับยั้ง  ควบคุมตนเองใน



ทางกามารมณ์  มิให้หลงใหลในรูป  เสียง  กลิ่น  รส  และสัมผัส  คือพอใจในกริยาของตน

 

  1. สัจจะ  ความสัตย์  ความชื่อตรง  คู่กับศีลข้อ 4
  2. สติสัมปชัญญะ  ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ  คือ  ฝึกฝนให้เป็นคนรู้จัก  ยั้งคิดว่าสิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ  ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท  คู่กับศีลข้อ  5

 

              ข้อ 2  บางแห่งเป็นทาน  การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ข้อ  3  บางแห่งเป็นสทารสันโดษ

 

คือความพอใจในภริยาของตน  ข้อ  5  บางแงเป็นอัปมาท  คือไม่ประมาท

 

              อริยทรัพย์  7  ทรัพย์อันประเสริฐ  ทรัพย์คือคุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐ  ซึ่งมี  7  ประการคือ

 

  1. ศรัทธา  คือความเชื่อที่มีเหตุผล  มั่นใจในหลักที่ถือและในความดีที่ทำ
  2. ศีล         การรักษา  กาย  วาจา  ให้เรียบร้อย  ประพฤติถูกต้องดีงาม
  3. หิริ         ความละอายใจต่อการทำความชั่ว
  4. โอตตัปปะ   ความเกรงกลัวต่อการทำความชั่ว
  5. พาหุสัจจะ   ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก
  6. จาคะ      ความเสียสละ  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ช่วยขจัดโลภะได้
  7. ปัญญา    ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผลดีชั่ว  ถูกผิด  คุณโทษ  ประโยชน์มิใช่ประโยชน์  รู้คิด  รู้พิจารณา  และรู้ที่จะทำ  ช่วยขจัดความหลงและโมหะ  ได้ดี

 

              อริยทรัพย์  เป็นทรัพย์อันประเสริฐอยู่ในจิตใจ  ดีกว่าทรัพย์ภายนอก  เพราะไม่มีใครแย่งปล้น  เอาไปได้  ไม่สูญเสียไปด้วยภัยอันตรายต่าง ๆ  ทำใจให้ไม่อ้างว้างยากจนเป็นทุนทรัพย์ภายนอกได้ด้วย.

 

              ธรรมทั้ง  7  นี้   ช่วยส่งเสริมในการบำเพ็ญคุณธรรมต่าง ๆ  ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น  คงพอขจัดกิเลสได้บ้าง  อยู่ที่ตัวเรากันทั้งนั้น.....

 

              

หมายเลขบันทึก: 380636เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2010 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จริงอย่างที่เขียนไว้คะ เพราะคนเราไม่ว่าจะทำอะไร มันก็ขึ้นอยู่กับใจเราทั้งนั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท