การจัดการความรู้ จากทฤษฏีสู่การปฏิบัติ


สรุป องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาการจัดการเรียนรู้ขององค์การนำร่องทั้ง  ๔  องค์กร ดั้งนี้

 

๑. โรงพยาบาลศิริราช  ประสบความสำเร็จจากการทำ  KM  คือ

                ๑.๑   มีระบบเครือข่ายของการถ่ายโอนความรู้  (ด้าน  CQI  ทางคลินิก)

                ๑.๒  การดำเนินการวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรการเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมการจัดการเรียนรู้

                ๑.๓  การสื่อสารให้ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การสร้าง  Web site ของโครงการ KM , การจัดอบรมทักษะพื้นฐานด้านการใช้คอมพิวเตอร์และการเข้า Internet  และ Intranet , จัดตั้ง KM Call Center

                ๑.๔  การสร้างชุมชนแห่งการปฏิบัติ

 

๒.  บริษัท สแปนชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ประสบความสำเร็จจากการทำ  KM  คือ

         ๒.๑  มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับพนักงานภายใต้แนวคิดในการบริหารจัดการที่ว่า “บุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดขององค์กร”

             ๒.๒  การสร้างเสริมบรรยากาศในการทำงานให้พนักงานทุกคนมีความรู้สึกอบอุ่นเสมือว่าบริษัทเป็นบ้านหลังที่สองของพนักงาน

              ๒.๓  การผสมผสานระหว่างรูปแบบการทำงานตามสายบังคับบัญชาปกติและรูปแบบของกลุ่มหรือคณะทำงาน

                ๒.๔  การจัดตั้ง  Spansion  University  โดยวางแผนและจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็รไว้ที่  อาคารศูนย์พัฒนาบุคลากร (Employee  Development  Center หรือ EDC )

                ๒.๕  มุ่งเน้นที่การจัดการกับความรู้ที่เป็นความรู้หลักสำคัญขององค์กร               

 

๓  บริษัท  ทรู  คอร์ปอเรชั่น  จำกัด  (มหาชน)  ประสบความสำเร็จจากการทำ  KM  คือ

                ๓.๑  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในองค์กร  เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดทำ KM  

                ๓.๒  การจัดทำโครงการการจัดการความรู้ในส่วนของสายงาน  Customer  Management

                ๓.๓  การวางแผนและจัดเตรียมระบบ  เช่น 

  • จัดประชุมเพื่อจี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ในองค์กร
  • จัดทำโครงสร้างความรู้
  • จัดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องของความรู้  เพื่อให้ข้อมูลและคำปรึกษา
  • จัดทำ  Web  site

 

 

๔  สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ   ประสบความสำเร็จจากการทำ  KM  คือ

                ๔.๑  การที่ปรับเปลี่ยนและจัดการพฤติกรรม   จะแสดงให้เห็นถึงความผูกพัน  และมีส่วนร่วมในโครงการ  อีกทั้งยังมีการจัดบรรยายเกี่ยวกับ KM   เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้  

                ๔.๒  การบูรณาการการจัดการความรู้เข้ากับการปฏิบัติงานประจำวัน

                ๔.๓  การมีทีมงานที่มีแรงจูงใจและความรู้ทักษะ

                ๔.๔  การสร้างกลไกลการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

 

                จากองค์กรนำร่องทั้ง  4  องค์กร   สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกค์ใช้กับโรงเรียนได้ ดังนี้   คือ    กำหนดเป้าหมายในการดำเนินโครงการการจัดการความรู้ที่ชัดเจน   และวิเคราะห์พฤติกรรมของคนในองค์กร  เพื่อให้คนในองค์กรรับทราบเป้าหมายและแนวทางการปฏิบัติที่ตรงกัน ให้ความรู้คนในองค์โดยผ่านช่องทางต่างๆ  เช่น  ใช้ วารสาร  โปสเตอร์ บอร์ดนิทรรศการ  web site  เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 379742เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 05:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท